ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglycerides)
คือไขมันชนิดหนึ่งที่มักได้รับมาจากอาหารที่รับประทาน ที่เก็บไว้ในเซลล์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณแขน ขา สะโพก หน้าท้อง โดยร่างกายจะนำมาใช้เป็นพลังงานต่อเมื่อเกิดการเผาผลาญ ซึ่งถ้าหากไม่มีการเผาผลาญก็อาจก่อให้เกิดการสะสมไตรกลีเซอไรด์จำนวนมาก ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ตับอ่อนอักเสบ และโรคหัวใจ ที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
เกณฑ์การวัดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ มีดังนี้
- ต่ำกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- 150-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อยู่ในเกณฑ์สูงเล็กน้อย
- 200-499 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อยู่ในเกณฑ์สูง
- มากกว่า 500 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อยู่ในเกณฑ์สูงมาก
คอเลสเตอรอลส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร
หากระดับคอเลสเตอรอลอยู่ในเกณฑ์ปกติก็อาจไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่หากร่างกายมีคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีสูงเกินกว่า 190 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้
- ภาวะคอเลสเตอรอลสูง เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และขาดการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายไม่อาจเผาผลาญคอเลสเตอรอลได้เพียงพอ จนสะสมในกระแสเลือดและทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ภาวะการทำงานของไทรอยด์บกพร่อง โรคไต โรคลูปัส โรคมะเร็ง โรคเอดส์ อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้ เนื่องจากยาบางชนิดที่ใช้รักษาอาจส่งผลให้ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลได้ยาก
- เจ็บหน้าอก อาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าหลอดเลือดแดงมีคอเลสเตอรอลสะสมมากเกินไป จนขัดขวางการไหลเวียนของเลือด เสี่ยงต่อหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ภาวะหัวใจวาย หากคอเลสเตอรอลสะสมในกระแสเลือดมากเกินไปจนก่อตัวเป็นคราบจุลินทรีย์ ทำให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน และขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือดและหัวใจวาย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย