backup og meta

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับ คอเลสเตอรอล เกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2023

    เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับ คอเลสเตอรอล เกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง

    เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับ คอเลสเตอรอล มีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้น จึงควรจำกัดปริมาณของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เหมาะสม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ

    เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์กับคอเลสเตอรอล

  • เบียร์กับคอเลสเตอรอล
  • ส่วนผสมหลักของเบียร์ ได้แก่ บาร์เลย์ ฮอปส์ ยีสต์ และมอลต์ ล้วนมีสารสเตอรอลจากพืช (Plant sterol) หรือที่เรียกว่า ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคอเลสเตอรอล และสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ แต่ถึงอย่างไรในเบียร์ก็มีสารสเตอรอลนี้อยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การดื่มเบียร์จึงไม่สามารถช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

    ถึงแม้เบียร์จะเป็นเครื่องดื่มไม่มีคอเลสเตอรอล แต่ก็มีคาร์โบไฮเดรตและแอลกอฮอล์ ที่สามารถเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ หากมีไตรกลีเซอไรด์สะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไป ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เช่นกัน

    หากร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลสูง ควรดื่มเบียร์ให้น้อยลง หรืองดดื่มเบียร์ไปเลย ที่สำคัญไม่ควรดื่มเบียร์ในปริมาณมาก เพื่อหวังผลให้สารสเตอรอลจากพืชในเบียร์มาช่วยลดคอเลสเตอรอลให้ เพราะอาจได้ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาแทน

    • เหล้ากับคอเลสเตอรอล

    เหล้าประเภทวิสกี้ วอดก้า และจิน ไม่มีคอเลสเตอรอล อย่างไรก็ตาม เครื่องดื่มหรือเหล้าที่มีการปรุงแต่งขึ้น อย่างวิสกี้รสหวาน ค็อกเทล หรือเหล้าผสม อาจมีการปรุงแต่งน้ำตาลเพิ่มลงไป และน้ำตาลเหล่านั้น สามารถส่งผลกระทบต่อระดับ คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ได้

    • ไวน์กับคอเลสเตอรอล

    ไวน์ถือเป็น 1 ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดีที่สุด เพราะมีสารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) ซึ่งเป็นสารสเตอรอลจากพืชชนิดหนึ่ง มีงานวิจัยระบุว่า เรสเวอราทรอลอาจช่วยลดการอักเสบ และป้องกันการแข็งตัวของเลือดในระยะสั้น ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี หรือเอชดีแอล (HDL) ในร่างกายได้

    อย่างไรก็ตาม สารเรสเวอราทรอลส่งผลดีต่อร่างกายได้เพียงไม่นาน และยังต้องศึกษาวิจัยกันต่อไปว่าสารเรสเวอราทรอลช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดได้จริงหรือไม่

    จำนวนและปริมาณในการดื่มแอลกอฮอล์สำคัญอย่างไร

    เวลาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเบียร์ เหล้า ไวน์ หรืออื่น ๆ ควรให้ความสำคัญกับปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และความถี่ในการดื่มให้มาก โดยควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่พอดี เพราะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ มากมาย เช่น ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น จนทำให้เป็นโรคอ้วน

    ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การดื่มแอลกอฮอล์ 1 แก้วต่อวันสำหรับผู้หญิง และ 2 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย มีประสิทธิภาพในการปกป้องหัวใจได้ มีการพิสูจน์แล้วว่า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์พอประมาณ มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจวายน้อยกว่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เลย อีกทั้งผู้ชายที่ดื่มแอลกกอฮอล์ทุกวัน จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ สัปดาห์ละครั้งหรือสองครั้ง

    นอกจากนี้ งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับพอประมาณ จะช่วยให้โปรตีนถูกส่งผ่านไปทั่วร่างกายได้เร็วขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้มีส่วนช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีเพิ่มขึ้นได้

    บทสรุปของเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์กับคอเลสเตอรอล

    การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะส่งผลให้ระดับของคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์เลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพได้มากมาย โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดอุดตัน หัวใจวาย โรคหลอดเลือดและหัวใจ ทั้งยังส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย

    การลดหรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เพียงแค่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพผิวและสุขภาพจิตอีกด้วย เมื่องดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผิวพรรณจะสดใส แถมยังอารมณ์ดี กระปรี้กระเปร่า และนอนหลับได้ดีขึ้นด้วย

    อย่างไรก็ตาม ควรขอคำแนะนำจากหมอว่า การดื่มแอลกอฮอล์ปลอดภัยหรือเปล่า และสำหรับบุคคลบางกลุ่ม เช่น ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่กินยาบางชนิดอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา