backup og meta

ถั่วงอก ผักพื้นบ้านต้านโรค ที่ทุกครัวเรือนควรมีติดบ้าน

ถั่วงอก ผักพื้นบ้านต้านโรค ที่ทุกครัวเรือนควรมีติดบ้าน

“ถั่วงอก’ ถือได้ว่าเป็นผักที่อยู่คู่กับอาหารในเมนูต่าง ๆ ของบ้านเรามาอย่างยาวนาน แต่คุณทราบกันหรือไม่ว่าผักที่คุณรับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ สามารถสร้างคุณประโยชน์ และโทษอย่างไรให้แก่สุขภาพของเราได้บ้าง มาร่วมหาคำตอบที่หลายคนสงสัยกันได้ ในบทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ที่นำมาฝากทุกคนกันค่ะ

รู้จัก ถั่วงอก กันให้มากขึ้น

ถั่วงอก (Bean Sprouts) คือ เมล็ดพืชของถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ รวมไปถึงถั่วอีกนา ๆ ชนิด ที่มีรากสีขาวงอกออกมาจากเมล็ด ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มักนิยมเพาะปลูกไว้เป็นผักพื้นบ้าน เพื่อนำรากสีขาวที่งอกออกมาตอนโตเต็มที่นั้น ไปประกอบอาหารในเมนูต่าง ๆ

สาเหตุที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมปลูกอาจเป็นเพราะถั่วงอกเป็นผักที่ค่อนข้างใช้เวลาเจริญเติบโต และใช้เวลาไม่นานมากนักในการเก็บเกี่ยว จึงอาจสร้างความสะดวกแก่ผู้ประกอบอาหารได้ไม่น้อย ที่สำคัญถั่วงอกยังเป็นผักที่มีแคลอรี่ต่ำ จึงอาจนำไปรับประทานควบคู่กับผักสลัดอื่น ๆ ในการส่งเสริมช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้ดีอีกด้วย

ประโยชน์ทางสุขภาพ ของถั่วงอก ที่คุณควรรู้

ถึงจะเป็นผักที่มีขนาดเล็ก แต่ภายในของถั่วงอกนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลายมากกว่าที่เราคิด ไม่ว่าจะเป็นวิตามินซี วิตามินเค โฟเลต และแมกนีเซียม เป็นต้น ซึ่งสารอาหารดังกล่าว อาจสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ร่างกายของเราได้นานัปการ ดังนี้

·  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ในการศึกษาหนึ่งเกี่ยวกับถั่วงอก ทีมวิจัยได้ทำการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อทำการทดสอบ กลุ่มแรกคือผู้ที่ประสบกับโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ได้รับการรับประทานถั่วงอกในปริมาณ 60 กรัม ต่อวันควบคู่กับมืออาหาร ส่วนอีกกลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับการทานอาหารแบบธรรมดาตามปกติ เมื่อสิ้นสุดการทดสอบในระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มที่รับประทานถั่วงอก พบว่าระดับฮีโมโกลบิน A1c ลดลงถึง 10% และยังมีความต้านทานต่ออินซูลินในเลือดอีกด้วย

·  ปรับปรุงระบบการย่อยอาหาร

เส้นใยอาหาร หรือไฟเบอร์ในถั่วงอก อาจมีส่วนช่วยอย่างมากในการย่อยอาหาร เนื่องจากมีเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำในปริมาณสูง จึงสามารถช่วยให้ลำไส้ กระเพาะอาหารของคุณ เกิดการย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการช่วยลดโอกาสที่จะเกิดอาการท้องผูกได้

·  ส่งเสริมสุขภาพหัวใจ

ถั่วงอกอาจสามารถช่วยให้สุขภาพหัวใจโดยรวมคุณดีขึ้น ด้วยการเข้าไปช่วยปรับสมดุลของคอเลสเตอรอล และลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีได้ นอกจากนี้ถั่วงอกยังอาจช่วยขจัดคราบจุลินทรีย์ที่อุดตันในเส้นเลือด และล้างไขมันในเส้นเลือดให้ออกไปก่อนเกิดความเสี่ยงของโรคหัวใจที่อาจตามมาได้ในอนาคต

·   บำรุงสายตา

สารต้านอนุมูลอิสระในถั่วงอกที่มีปริมาณค่อนข้างสูงนั้น อาจช่วยป้องกันคุณจากอาการจอประสาทตาเสื่อมตามกาลเวลา หรือช่วงอายุที่มากขึ้นได้ หากคุณไม่อยากมีปัญหาทางสายตาใด ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียด้านการมองเห็นละก็ อาจจำเป็นต้องมีการรับประทานถั่วงอกร่วมกับเมนูอาหารในทุกมื้อเสียแล้ว

ข้อควรระวังในการรับประทานถั่วงอก

เนื่องจากถั่วงอกมักเติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น อาจทำให้บางครั้งมีแบคทีเรียที่สามารถส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดการเจ็บป่วย หรือเสี่ยงต่ออาการอาหารเป็นพิษ อีกทั้งผู้มีอยู่ในภาวะแพ้ถั่วเหลือง และถั่วลิสงแต่เดิมควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วงอกด้วยเช่นเดียวกัน เพราะถั่วงอกคือผลิตผลจากเมล็ดพืชจากตระกูลถั่ว ที่อาจส่งปฏิกิริยารุนแรงได้

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Bean Sprouts Nutrition Information and Health Benefits https://www.verywellfit.com/carbs-in-sprouts-2241825 Accessed September 18, 2020

Raw Sprouts: Benefits and Potential Risks https://www.healthline.com/nutrition/raw-sprouts Accessed September 18, 2020

Bean Sprouts: Health Benefits, Nutrition Facts, and How to Prepare Them https://www.webmd.com/diet/health-benefits-bean-sprouts#1 Accessed September 18, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/09/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักกับ ผักสีแดง แหล่งรวมสารอาหารดีเยี่ยม ให้แก่ร่างกายคุณ

ร็อคเก็ต ผักสลัดใบเขียว ที่ทานคู่กับเมนูอะไรก็ได้ประโยชน์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา