จากการทดสอบประสิทธิภาพของสเปรย์ฉีดพ่นช่องปาก นักวิจัยพบว่า สเปรย์ฉีดพ่นช่องปากทั้ง 6 สูตร มีประสิทธิภาพต้านแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี (Streptococcus Pneumoniae) และฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา (Haemophilus Influenzae) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคในระบบทางเดินทางหายใจต่าง ๆ ได้
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า สารพฤกษเคมีในผิวมะกรูด อาจมีประสิทธิภาพต้านเชื้อโรคต่าง ๆ ในช่องปากได้
-
อาจช่วยบรรเทาความเครียดหรือวิตกกังวล
น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูด มีคุณสมบัติเชิงสุคนธบำบัดหรือการรักษาโรคด้วยน้ำมันหอมระเหยจากพืช ดังนั้น การสูดดมน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูด จึงอาจเป็นตัวเลือกหนึ่งในการบำบัดร่างกาย เพื่อบรรเทาความเครียดหรืออาการวิตกกังวลได้
งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ว่าด้วยส่วนประกอบทางเคมีของน้ำมันมะกรูด และคุณสมบัติของน้ำมันมะกรูดต่อมนุษย์ เผยแพร่ในวารสาร Flavour and Fragrance Journal ปี พ.ศ. 2550 นักวิจัยแบ่งกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 20 ราย ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้สูดดมน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูด ส่วนอีกกลุ่มไม่ให้สูดดมสารใด ๆ เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างแรกให้คะแนนตนเองเกี่ยวกับอาการตื่นตัว ความสนใจสิ่งรอบข้าง ความรู้สึกสดใส และกระปรี้กระเปร่ามากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้สูดดมน้ำมันหอมระเหย นักวิจัยจึงสรุปว่า น้ำมันมะกรูดอาจสามารถใช้ในเชิงสุคนธบำบัด เพื่อบรรเทาความเครียดหรืออาการวิตกกังวลได้
-
อาจช่วยป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีคุณสมบัติขับไล่ยุง มักนิยมประยุกต์ใช้เป็นสเปรย์สำหรับฉีดป้องกันยุงในครัวเรือน จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ ที่มียุงเป็นพาหะ อย่างไข้เลือดออกหรือมาลาเรีย
งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยจากใบและผิวของมะกรูดในการขับไล่ยุงก้นปล่องและยุงลายบ้าน ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Medical Entomology ปี พ.ศ. 2560 นักวิจัยได้ศึกษาคุณสมบัติของน้ำมันจากใบและผิวของมะกรุด ในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ที่มีต่อยุงก้นปล่องและยุงลายบ้านซึ่งเป็นพาหะของโรคติดต่อจากยุงในครัวเรือน พบว่า น้ำมันหอมจากใบมะกรูด ความเข้มข้น 1 และ 2 เปอร์เซ็นต์ สามารถใช้ขับไล่ยุงก้นปล่องได้ดีที่สุด ในขณะที่ระดับความเข้มข้นของน้ำมันหอมจากผิวมะกรูดที่ให้ผลดีที่สุดในการไล่ยุงก้นปล่องอยู่ที่ 2.5 และ 5 เปอร์เซ็นต์
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย