backup og meta

นอนไม่หลับ วิตามินและแร่ธาตุ เหล่านี้อาจจะช่วยได้

นอนไม่หลับ วิตามินและแร่ธาตุ เหล่านี้อาจจะช่วยได้

อาการ นอนไม่หลับ เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ทำให้หลาย ๆ คนมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และปวดหัว ซึ่งอาการนอนไม่หลับอาจเริ่มจากการใช้เวลานานกว่าจะหลับ และตื่นกลางดึกจนทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ตื่นนอนเร็วเกินไป เหนื่อยล้า และง่วงนอนระหว่างวัน ดังนั้น การรับประทาน วิตามินและแร่ธาตุ อาจช่วยแก้ปัญหานอนไม่หลับได้

อาการนอนไม่หลับเป็นอย่างไร

โรคนอนไม่หลับมักจะทำให้มีอาการนอนไม่หลับ แต่ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยในอาการนอนไม่หลับ อาจมีดังนี้

  • นอนหลับยากในเวลากลางคืน
  • ตื่นขึ้นมาตอนกลางคืน หรือตื่นเร็วเกินไป
  • ไม่รู้สึกผ่อนคลายหลังจากนอนหลับ
  • เหนื่อยและง่วงนอนในเวลากลางวัน
  • รู้สึกหงุดหงิด ซึม หรือมีความวิตกกังวล
  • มีปัญหาในการใช้สมาธิ หรือการให้ความสนใจกับเรื่องงาน และการจดจำ
  • ปวดหัว
  • รู้สึกปั่นป่วนในกระเพาะอาหารและลำไส้
  • มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการนอนหลับ

วิตามินและแร่ธาตุ ที่ช่วยแก้ไขปัญหา นอนไม่หลับ

สำหรับวิตามินและแร่ธาตุที่อาจช่วยแก้ปัญหานอนไม่หลับ อาจมีดังนี้

แมกนีเซียม

แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อกระดูกและฟัน การทำงานของระบบกล้ามเนื้อ และระบบประสาท ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์จะมีปริมาณแคลเซียมที่สูงด้วย เช่น ธัญพืช พืชตระกูลถั่ว อัลมอนด์ ผัก ผลไม้ การขาดแมกนีเซียมอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโณคต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ นอกจากนี้ การรับประทานแมกนีเซียมยังอาจช่วยแก้ไขปัญหานอนไม่หลับ โดยอาจทำให้ประสิทธิภาพในการนอนหลับดีขึ้น รวมถึงยังอาจทำให้นอนหลับได้นานขึ้นอีกด้วย

แคลเซียม

นอกจากแมกนีเซียมแล้ว แคลเซียมก็เป็นแร่ธาตุอีกหนึ่งชนิดที่จำเป็นต่อกระดูกและฟัน ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม บร็อคโคลี่ ผักใบเขียว ผลไม้รสเปรี้ยว ถั่วเหลือง ซึ่งการขาดแคลเซียมอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน นอกจาก แคลเซียมจะมีประโยชน์ต่อกระดูกและฟันแล้ว ยังอาจมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการการเผาผลาญพลังงานของร่างกายและการแข็งตัวของเลือด รวมถึงยังอาจมีส่วนช่วยปรับปรุงปัญหาการนอนไม่หลับได้อีกด้วย

วิตามินบี 12

วิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น ช่วยในการชะลอวัย ช่วยโรคซึมเศร้า ช่วยโรคหัวใจ หากร่ายกายขาดวิตามินบี 12 อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจาง โรคความจำเสื่อม โดยวิตามินบี 12 อาจพบได้จากเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติจึงมีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามินบี 12 นอกจากนี้ วิตามินบี 12 ยังอาจมีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมองของร่างกาย รวมถึงยังอาจมีส่วนช่วยในการนอนหลับอีกด้วย

วิตามินซี

โดยปกติแล้ว วิตามินซีอาจมีความสำคัญมากต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่วิตามินซีก็อาจมีผลต่อการนอนหลับเช่นกัน โดยผู้ที่มีปริมาณวิตามินซีในเลือดต่ำอาจทำให้เกิดปัญหาการเกี่ยวกับนอนหลับมากขึ้น และอาจมีแนวโนมที่จะตื่นขึ้นมาตอนกลางดึกได้

ธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ เช่น ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยนำส่งออกซิเจนไปเลี้ยงยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยผู้ที่ขาดธาตุเหล็กอาจจะทำให้มีอาการอ่อนเพลีย และอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Leg Syndrome) โดยทำให้ต้องมีการสั่นขาอยู่ตลอด หรืออาจมีอาการกระตุกที่ขาเวลานอนหลับ ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่ทำให้นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิทได้

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Insomnia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/symptoms-causes/syc-20355167. Accessed June 8, 2018.

The effect of magnesium supplementation on primary insomnia in elderly: A double-blind placebo-controlled clinical trial. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23853635.  Accessed June 8, 2018.

CALCIUM. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-781/calcium.  Accessed June 8, 2018.

VITAMIN B12. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-926/vitamin-b12.  Accessed June 8, 2018.

Vitamin B12 treatment for sleep-wake rhythm disorders.

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/2305167.  Accessed June 8, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/08/2022

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

การนอนหลับผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างไร

นอนมากกว่าปกติ เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า และอีกสารพัดโรคร้าย!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 19/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา