3.ช่วยลดคอเลสเตอรอล
สถาบัน National Institute of Health and Nutrition ในประเทศญี่ปุ่นได้ให้ข้อมูลว่า โปรตีนในน้ำเต้าหู้สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ซึ่งการที่คอเลสเตอรอลในเลือดลดลงส่งผลให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ดังนั้นผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงอาจเปลี่ยนมากินดื่มน้ำเต้าหู้แทน
4.น้ำเต้าหู้กับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
การกินอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลืองและไฟเบอร์ถั่วเหลือง เช่น น้ำเต้าหู้ เต้าเจี้ยวหรือถั่วเหลืองหมัก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้ แต่ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรระวังปริมาณน้ำตาลในน้ำเต้าหู้ ควรกินดื่มน้ำเต้าหู้ชนิดแบบไม่ใส่น้ำตาลหรือน้ำตาลน้อย
5.เหมาะกับผู้ที่อาจช่วยลดความดันโลหิตสูง
การกินโปรตีนจากถั่วเหลืองช่วยลดค่าความดันโลหิต (Systolic blood pressure) โดยสามารถอาจลดความดันโลหิตสูงได้ประมาณ 4-8 มิลลิเมตรปรอท (mmHG) ส่วนค่าความดันโลหิตที่เป็นตัวเลขด้านล่าง (Diastolic blood pressure) อาจลดลงประมาณ 3-5 มิลลิเมตรปรอท (mmHG) ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเล็กน้อย ดังนั้นการกินดื่มน้ำเต้าหู้จึงอาจช่วยลดความดันโลหิตในผู้ที่มีอาการความดันโลหิตสูง
6.อาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
โปรตีนจากถั่วเหลือง หรือสารสกัดถั่วเหลืองช่วยเพิ่มความหนาแน่นมวลกระดูก (BMD, bone mineral density) หรือช่วยชะลอการสูญเสียความหนาแน่นมวลกระดูกในผู้หญิงที่ใกล้หมดประจำเดือน โดยควรกินอาหารที่ทำมาจากถั่วเหลืองเพื่อให้ได้รับไอโซฟลาโวนอย่างน้อย 75 มิลลิกรัมต่อวัน ส่งผลดีต่อกระดูกในร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม การกินดื่มน้ำเต้าหู้ หรือการกินผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองดูเหมือนว่าจะไม่ส่งผลต่อความหนาแน่นมวลกระดูกในผู้หญิงที่อายุน้อย
ข้อควรระวังเกี่ยวกับ น้ำเต้าหู้
การดื่มน้ำเต้าหู้มีข้อควรระวังเช่นเดียวกับการบริโภคอาหารชนิดอื่น และอาจมีกลุ่มบุคคลที่อาจต้องหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเต้าหู้เนื่องจากอาจส่งกระทบต่อปัญหาสุขภาพ
- ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม ผลจากการกินถั่วเหลืองในผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมยังไม่ชัดเจน หลายคนเชื่อว่าถั่วเหลืองอาจกระตุ้นอาการมะเร็งเต้านม เนื่องจากถั่วเหลืองมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) แต่อย่างไรก็ตามก็มีงานวิจัยที่พบว่าน้ำเต้าหู้อาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านมได้ ดังนั้น จึงยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากไม่มีข้อมูลมากพอที่จะระบุผลของการกินถั่วเหลืองกับโรคมะเร็งเต้านม จึงแนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เมื่อต้องการกินอาหารที่ทำมาจากถั่วเหลือง หรืออาหารเสริมจากถั่วเหลืองในกรณีที่เป็นมะเร็งเต้านม
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ถั่วเหลืองอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ในผู้ที่เป็นเบาหวานที่กำลังกินยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- ผู้ที่เคยเป็นนิ่วในไต ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลืองอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนิ่วในไต เนื่องจากมีสารออกซาเลต (oxalate) มาก ซึ่งสารออกซาเลตเป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในไต นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคไตไม่ควรกินถั่วเหลืองเพราะอาจเกิดอันตรายได้ หากคุณมีประวัติเป็นโรคนิ่วในไตควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ทำมาจากถั่วเหลือง
- ผู้ที่แพ้นม เด็กที่แพ้นมวัวอาจแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลือง
- ทารก น้ำเต้าหู้ไม่อาจใช้แทนนมแม่หรือนมผงได้ ไม่ควรให้ทารกดื่มน้ำเต้าหู้โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก เนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกยังไม่สามารถย่อยได้ดีนัก
- โดยปกติแล้วถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง จัดว่าเป็นอาหารที่มีคนแพ้มากที่สุดชนิดหนึ่ง ดังนั้น ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารจำพวกถั่วอาจต้องระมัดระวังและสังเกตตัวเองหากต้องการบริโภคน้ำเต้าหู้ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
- ในหญิงตั้งครรภ์อาจต้องระวังการบริโภคน้ำเต้าหู้ปริมาณสูงเพราะหากบริโภคมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ อาจจำกัดปริมาณการดื่มในแต่ละวัน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย