backup og meta

ยำมะม่วงปลากรอบ กับประโยชน์ต่อสุขภาพ

ยำมะม่วงปลากรอบ กับประโยชน์ต่อสุขภาพ

ยำมะม่วงปลากรอบ หนึ่งในเมนูยอดฮิตที่มีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน ครบรส อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ไฟเบอร์ โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซึ แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และสารอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย ที่อาจช่วยบำรุงสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร ช่วยป้องกันอาการท้องอืด ดีต่อระบบขับถ่าย ช่วยป้องกันท้องผูก ช่วยบำรุงสายตา และอาจดีต่อสุขภาพของกระดูกและฟันอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เมนูนี้อาจมีโซเดียมสูงและน้ำตาลสูง จึงควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ

[embed-health-tool-bmi]

สูตรยำมะม่วงปลากรอบ

ส่วนผสม

  • มะม่วงเปรี้ยวสับเป็นเส้น        150 กรัม
  • ปลาจิ้งจั้งทอดกรอบ              ¼ ถ้วยตวง
  • ถั่วลิสงทอด                            2 ช้อนโต๊ะ
  • หอมแดงซอย                         2 ช้อนโต๊ะ
  • กุ้งแห้ง                                    2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะนาว                                1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา                                    1 ½ ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลปี๊บ                               1 ช้อนโต๊ะ
  • พริกป่น                                   2 ช้อนชา

วิธีทำ

  1. ทำน้ำยำ โดยผสมน้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ และพริกป่น คนให้เข้ากัน
  2. ใส่มะม่วงเปรี้ยว ปลาจิ้งจั้ง หอมแดง กุ้งแห้ง และน้ำยา คลุกเคล้าพอเข้ากัน
  3. ตักใส่จาน โรยถั่วลิสง จัดเสิร์ฟ

ยำมะม่วงปลากรอบ แค่เห็นก็น้ำลายสอแล้ว! ใครไม่กินเผ็ดจะลดปริมาณพริกป่นลงก็ได้ น้ำปลาควรเลือกแบบลดโซเดียมและน้ำตาล และอย่ากินเผ็ดหรือกินรสจัดจนเกินไป เพราะอาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร หรือจุกเสียดท้อง และหากใครเป็นภูมิแพ้ถั่วลิสง ก็สามารถเปลี่ยนเป็นถั่วอื่นๆ เช่น ถั่วเหลืองคั่วกรอบ ได้

ประโยชน์สุขภาพจาก ยำมะม่วงปลากรอบ

ประโยชน์ของมะม่วง

มะม่วงมีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินเค โฟเลต ไฟเบอร์ แคลเซียม สังกะสี กินแล้วช่วยป้องกันปัญหาในระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องผูก อาหารไม่ย่อย กรดเกิน แสบร้อนกลางอก อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ทั้งยังดีต่อสุขภาพหัวใจ เพราะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ด้วย

ไม่เพียงเท่านั้น มะม่วงดิบยังช่วยกระตุ้นการหลั่งกรดน้ำดี เพิ่มการดูดซึมไขมัน อีกทั้งยังช่วยบำรุงเหงือกและฟัน จึงลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาเลือดออกตามไรฟัน และฟันผุ รวมถึงช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงผิวและเส้นผม รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ด้วย

ประโยชน์ของปลาจิ้งจั้งกรอบ

ปลาฉิ้งฉ้าง หรือที่รู้จักกันในชื่อปลาจิ้งจั้ง ก็คือ ปลากระตัก หรือ ปลาไส้ตัน (Anchovy) ปลาจิ้งจั้งอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ทั้งยังเป็นแหล่งของโปรตีน แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี ซีลีเนียม วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 วิตามินอี วิตามินเค และอื่นๆ อีกมากมาย

การบริโภคปลาจิ้งจังอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดเลว(LDL) และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงภาวะหลอดเลือดแข็ง หัวใจวาย และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ นอกจากนี้ ยังอาจช่วยบำรุงสมอง บำรุงสายตา ช่วยลดปัญหาผิว อย่างสิวและริ้วรอยก่อนวัย รวมถึงช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูกได้ด้วย

เวลาเลือกซื้อปลาจิ้งจั้งทอดกรอบ แนะนำว่าให้เลือกแบบไม่ปรุงรสหวานมากจนเกินไป หรืออาจซื้อปลาจิ้งจั้ง แบบไม่ยังไม่ทอดมาทอดกรอบเองก็ได้ และอย่าลืมพักให้สะเด็ดน้ำมันด้วยนะ เพื่อทำให้ตัวปลามีความกรอบ และไม่อมน้ำมันเวลารับประทาน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Health Benefits of Anchovies. https://www.webmd.com/diet/health-benefits-anchovies. Accessed 27 June, 2022.

Health Benefits of Mangos. https://www.webmd.com/diet/health-benefits-mango. Accessed 27 June, 2022.

Calcium. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/calcium/#:~:text=Calcium%20is%20a%20mineral%20most,heart%20rhythms%20and%20nerve%20functions. Accessed 27 June, 2022.

Vitamin C. https://www.google.com/search?client=opera&q=vitamin+c&sourceid=opera&ie=UTF-8&oe=UTF-8. Accessed 27 June, 2022.

Vitamin A. https://www.nhs.uk/conditions/vitamins-and-minerals/vitamin-a/#:~:text=Vitamin%20A%2C%20also%20known%20as,such%20as%20the%20nose%2C%20healthy. Accessed 27 June, 2022.

The sweet danger of sugar. https://www.health.harvard.edu/heart-health/the-sweet-danger-of-sugar#:~:text=”The%20effects%20of%20added%20sugar,Hu. Accessed 27 June, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/06/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาหาร และการ ดูแลสุขภาพลำไส้

วิธีธรรมชาติแก้อาการอาหารไม่ย่อย ที่คุณสามารถทำเองได้ง่าย ๆ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 27/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา