backup og meta

สูตรต้มจับฉ่าย เมนูผักทำง่าย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สูตรต้มจับฉ่าย เมนูผักทำง่าย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สูตรต้มจับฉ่าย เป็นเมนูจากผักที่ทำง่าย มีผักหลายชนิด เช่น ผักใบเขียว อย่างกวางตุ้งและคะน้า ที่อุดมไปไฟเบอร์ ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ทั้งยังมีโปรตีนจากเนื้อหมูและเต้าหู้ ที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ และกระตุ้นการเจริญเติบโต ต้มจับฉ่ายมีรสชาติที่รับประทานง่าย อีกทั้งส่วนผสมต่าง ๆ ทั้งเนื้อสัตว์และผักยังถูกต้มจนอ่อนนุ่ม จึงอาจเหมาะสำหรับเด็กที่เพิ่งเริ่มหัดรับประทานผัก ผู้ที่ต้องรับประทานอาหารอ่อน รวมถึงผู้ใหญ่ที่รับประทานผักได้ยาก

ประโยชน์สุขภาพของส่วนผสมในต้มจับฉ่าย

ผัก เช่น ผักใบเขียว อย่างกวางตุ้งและคะน้า ที่มีไฟเบอร์ ช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น และช่วยให้ร่างกายดูดซึมคาร์โบไฮเดรตช้าลง จึงควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ หรือแครอท ก็มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง

ส่วนหมูสามชั้นแม้จะมีแคลอรี่สูง แต่หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายได้รับโปรตีนและไขมันดี เนื่องจากกว่า 50% ของไขมันจากหมูสามชั้นเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ

เต้าหู้เหลืองแข็ง เป็นเต้าหู้ทำจากถั่วเหลือง อุดมไปด้วยแคลเซียม โปรตีน และฟอสฟอรัส มีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายต้องการครบถ้วน กรดอะมิโนจะช่วยรักษาและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยในการเจริญเติบโต เป็นต้น นอกจากนี้ ถั่วเหลืองยังมีไอโซฟลาโวน (Isoflavone) ซึ่งเป็นสารฟลาโวนอยด์ชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอี

สูตรต้มจับฉ่าย

ส่วนผสม

(สำหรับ 7-8 ที่)

  • กวางตุ้ง                    300 กรัม
  • คะน้า                        300 กรัม
  • ผักกาดขาว              300 กรัม
  • หัวไชเท้า                 300 กรัม
  • แครอท                     300 กรัม
  • เต้าหู้เหลือง             200 กรัม
  • เนื้อหมูสามชั้น         250 กรัม
  • กระเทียม                 5 กลีบ
  • น้ำมันพืช                 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำเปล่า                   3 ลิตร
  • ซีอิ๊วดำ                    3 ช้อนโต๊ะ
  • ซอสถั่วเหลือง        3 ช้อนโต๊ะ
  • ซีอิ๊วขาว                  3 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันหอย               3 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทรายแดง    1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  1. ล้างผักทั้งหมดให้สะอาด
  2. หั่นคะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาวเป็นท่อน ขนาด 2-3 นิ้ว
  3. ปอกเปลือกหัวไชเท้าและแครอท
  4. ทุบกระเทียมให้พอแตก แกะเปลือกทิ้ง ใช้แต่เนื้อกระเทียม
  5. หั่นหมูสามชั้นและเต้าหู้เหลืองให้เป็นชิ้นพอดีคำ
  6. เทน้ำมันลงในหม้อ ใส่กระเทียมลงผัดให้หอม
  7. ใส่หมูสามชั้นลงไป ผัดให้เกรียมเล็กน้อย
  8. เติมผักทั้งหมดลงไป แล้วตามด้วยเต้าหู้
  9. ปรุงรสด้วยน้ำตาล ซีอิ๊วดำ ซอสถั่วเหลือง ซีอิ๊วขาว น้ำมันหอย และน้ำตาลทรายแดง
  10. เติมน้ำเปล่าลงไป แล้วต้มต่ออีก 1 ชั่วโมง

สูตรต้มจับฉ่าย

หากอยากได้ต้มจับฉ่ายที่ดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น ก็สามารถลดปริมาณโซเดียมที่ร่างกายจะได้รับลงได้ ด้วยการใส่เครื่องปรุงรสต่าง ๆ ให้น้อยลง

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ต้มจับฉ่าย. http://www.foodtravel.tv/recipe.aspx?viewid=787. Accessed 6 September, 2019

Tofu: A Popular Food with High Nutritional and Health Benefits. https://www.researchgate.net/publication/332343856_Tofu_A_Popular_Food_with_High_Nutritional_and_Health_Benefits. Accessed June 27, 2022

Health Benefits of Soy. https://www.webmd.com/diet/ss/slideshow-soy-health-benefits#:~:text=Like%20all%20vegetables%20and%20grains,cholesterol%20by%204%25-6%25. Accessed June 27, 2022

Pork: Is It Good for You?. https://www.webmd.com/diet/pork-good-for-you. Accessed June 27, 2022

Vegetables and Fruits. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/what-should-you-eat/vegetables-and-fruits/#:~:text=A%20diet%20rich%20in%20vegetables,help%20keep%20appetite%20in%20check. Accessed June 27, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/06/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของผัก ที่ดีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

มังสวิรัติ ประโยชน์และข้อควรรู้ในการบริโภค


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 28/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา