backup og meta

สูตรบ๊ะจ่าง

สูตรบ๊ะจ่าง

บ๊ะจ่าง ข้าวเหนียวนึ่งรูปทรงสามเหลี่ยมห่อในใบไผ่ ที่ด้านในมีส่วนผสมต่าง ๆ ทั้งเนื้อหมู กุนเขียง ไข่เค็ม ถั่ว เม็ดบัว และธัญพืชต่าง ๆ เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมกันอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง เทศกาลจีนที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำ สูตรบ๊ะจ่าง เพื่อสุขภาพ ที่อัดแน่นไปด้วยส่วนผสมที่มีประโยชน์ต่อร่างมาก มาฝากทุกคนกันค่ะ

ประโยชน์สุขภาพจาก บ๊ะจ่าง ที่หลายคนมองข้าม

บ๊ะจ่าง หรือที่บางคนเรียกว่า ขนมจ้าง เป็นเมนูอาหารจีน ที่โดยปกติแล้วเรามักจะพบเห็นได้มาก ในช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ช่วงกลางปีของทุก ๆ ปี แต่ด้วยรสชาติความอร่อยเฉพาะตัว บวกเข้ากับประโยชน์สุขภาพจากส่วนผสมต่าง ๆ ที่อัดแน่นอยู่ในบ๊ะจ่าง จึงทำให้บ๊ะจ่างนั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และสามารถหารับประทานได้ตลอดปี

ส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพในบ๊ะจ่าง

สมุนไพรที่ถูกใช้ในตำรับแพทย์แผนจีนกันมาอย่างยาวนาน เนื่องจากมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงสมอง มีงานวิจัยที่พบว่า การรับประทานแปะก๊วยอาจสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดอาการของโรคสมองเสื่อมต่าง ๆ รวมไปจนถึงโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) นอกจากนี้ยังอาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้ดียิ่งขึ้น

เห็ดหอมนั้นเป็นหนึ่งในสุดยอดเห็ดที่ให้คุณค่าทางสารอาหารสูงมาก ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 ทองแดง แมกนีเซียม (Magnesium) สังกะสี โฟเลต (Folate) และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกมากมาย

ภายในเห็ดหอมนั้นมีสารที่เรียกว่า สารอิริตาดีนีน (Eritadenine) ซึ่งเป็นสารประกอบที่สามารถช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ภายในเลือด ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่าง ๆ นอกจากนี้ในเห็ดหอมนั้นยังสารเบต้ากลูแคน (Beta-glucans) ใยอาหารที่สามารถช่วยลดการอักเสบและลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลในลำไส้ ซึ่งล้วนแล้วแต่ก็ดีต่อสุขภาพหัวใจทั้งสิ้น

  • เผือก

พืชหัวเนื้อขาวรสชาติออกหวาน ที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและสุขภาพลำไส้ มีงานวิจัยที่พบว่า การรับประทานเผือกนั้นอาจสามารถช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากเต็มไปด้วยแป้งทนการย่อย (Resistant starch) ซึ่งเป็นแป้งที่ให้พลังงานต่ำ และไม่ถูกดูดซึมในลำไส้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่พุ่งขึ้นสูง และทำให้สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ง่ายขึ้น และดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานนั่นเอง

สูตรบ๊ะจ่าง

สูตรบ๊ะจ่าง

ส่วนผสม

  • ใบไผ่จีน 10 ใบ
  • ข้าวเหนียว 500 กรัม
  • หมูสันใน 200 กรัม
  • กุนเชียง 1 เส้น
  • เม็ดบัว ½ ถ้วย
  • เห็ดหอม ½ ถ้วย
  • ถั่วลิสง ½ ถ้วย
  • เผือกกวน ปั้นเป็นลูกเล็กกลม ๆ 10 ลูก
  • เม็ดแปะก๊วย ½ ถ้วย
  • ถั่วลิสง ½ ถ้วย
  • พริกไทย 1 ช้อนชา
  • น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
  • ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันพืช 5 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำบ๊ะจ่าง

  • นำน้ำมันพืช เม็ดหัว เห็ดหอม และกุ้งแห้ง ลงไปผัดในกiะทะ
  • ปรุงรสด้วยน้ำมันหอย น้ำตาล และซีอิ๊วขาว ผัดให้เข้ากัน
  • เติมข้าวเหนียวลงไปผัดกับเครื่อง ปรุงเพิ่มด้วยพริกไทย คลุกให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน ตักออกพักไว้
  • เตรียมใบไผ่ นำใบไผ่มาซ้อนกัน 2 ใบ จับให้อยู่ในรูปกรวย ตักข้าวใส่ลงไป 1 ส่วน 3 ตามด้วยจัดเรียงเครื่องต่าง ๆ ทั้งแปะก๊วย หมู เผือก กุ้งแห้ง เห็ดหอม และอื่น ๆ ลงไป
  • เติมข้าวปิดจนกลบเครื่องหมด แล้วพับใบไผ่ลงมาปิด มัดไหม้แน่น
  • นำบ๊ะจ่างไปนึ่งนาน 1 ชั่วโมง พร้อมเสิร์ฟ

เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้รับประทานบ๊ะจ่างแสนอร่อยกันแล้วค่ะ แต่อย่าลืมตัวกินเพลิน จนเผลอกินมากเกินไปนะคะ เพราะในบ๊ะจ่างนั้นยังมีกุนเชียงและข้าวเหนียว ทีมีแคลอรี่ค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีความมันมาก หากกินมากเกินไปอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้นทุกคนจึงควรกินแต่พอดี และอย่าลืมออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นของตัวเราเองค่ะ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ginkgo Biloba: Health Benefits, Uses, and Risks https://www.healthline.com/health/ginkgo-biloba-benefits

Shiitake Mushrooms: Health Benefits, Nutrition, and Uses https://www.webmd.com/diet/health-benefits-shiitake-mushrooms#1

Health Benefits of Taro Root https://www.webmd.com/diet/health-benefits-taro-root#1

บะจ่าง http://www.foodtravel.tv/recipe.aspx?viewid=660

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/12/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

‘คาร์โนซีน’ สุดยอดสารอาหารบำรุงสมอง

เห็ดหลินจือ สมุนไพรต้านมะเร็ง พร้อมประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 01/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา