backup og meta

สูตรปอเปี๊ยะสดเจ และประโยชน์ต่อสุขภาพ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/08/2022

    สูตรปอเปี๊ยะสดเจ และประโยชน์ต่อสุขภาพ

    สูตรปอเปี๊ยะสดเจ เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลาย โดยประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตจากแผ่นแป้ง วิตามิน เกลือแร่จากผักนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นเห็ดหูหนู เห็ดหอม ถั่วงอก แตงกวา และได้โปรตีนจากเต้าหู้ถั่วเรือง นอกจากนี้ ยังเป็นเมนูที่เหมาะสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารแบบวีแกน เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์เลยอีกด้วย

    ประโยชน์ของ สูตรปอเปี๊ยะสดเจ

    ประโยชน์ของ เต้าหู้

    เต้าหู้ เป็นอาหารที่ทำมาจากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นพืชที่มาจากธรรมชาติ โดยปกติแล้วอาหารที่ได้มาจากพืชหลากหลายชนิดนั้นมีส่วนช่วยให้สุขภาพดีขึ้น รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานและโรคหัวใจ และยังปราศจาก กลูเตน แถมยังให้แคลอรี่ที่ต่ำอีกด้วย นอกจากไม่มีคอเลสเตอรอลแล้วและเป็นแหล่งที่ดีของธาตุเหล็กและแคลเซียมอีกด้วย เต้าหู้ถือเป็นโปรตีนหลักของคนที่รับประทานอาหารเจ ชาวมังสวิรัติเลยก็ว่าได้ ที่สำคัญเต้าหู้ยังมีสารที่ช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิดและโรคกระดูกพรุนอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว เต้าหู้ยังช่วยเสริมสร้างผิวหนังและเส้นผมอีกด้วย และให้พลังงาน ช่วยรักษาน้ำหนักได้อีกด้วย ยังมีงานวิจัยได้เชื่อมโยงเต้าหู้กับไอโซฟลาโวนในระดับสูง ว่ามีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุและโรคมะเร็งได้

    ประโยชน์ของ เห็ดหอม

    เห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ (Shiitake mushrooms) เป็นเห็ดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดทั่วโลกเพราะรสชาติที่แสนอร่อย และความหอมเฉพาะตัว เห็ดหอมไม่ได้มีดีแค่ความอร่อยและความหอมเท่านั้น แต่เห็ดหอมยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย สารประกอบหลายชนิดในเห็ดหอมช่วยลดคอเลสเตอรอลและอาจลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ นอกจากนี้แล้วการรับประทานเห็ดหอมเป็นประจำยังช่วยเพิ่มระบบภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้อีกด้วย ที่สำคัญสารประกอบในเห็ดหอมมีคุณสมบัติต้านจุลชีพ แม้ว่าคุณจะไม่ได้รับประโยชน์จากการรับประทานเห็ดเอง อาหารที่มีวิตามินดีในระดับสูงอาจช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกได้ นอกจากนำมาประกอบในเมนูจานเด็ดแล้ว ในแพทย์แผนจีนยังนิยมน้ำเห็ดหอมมาใช้ในการทำยาบำรุงอีกด้วย

    สูตรปอเปี๊ยะสดเจ

    วัตถุดิบปอเปี๊ยะสดเจ (สำหรับ 5-6 ที่)

    1. แผ่นแป้งโรตี ½ กิโลกรัม
    2. เห็ดหูหนูจีนดำหั่นเล็กๆ 100 กรัม
    3. ขาเห็ดหอม 100 กรัม
    4. เห็ดหูหนูขาวหั่นเล็กๆ 150 กรัม
    5. ถั่วงอกลวก 500 กรัม
    6. ฟองเต้าหู้แช่น้ำตัด 50 กรัม
    7. เต้าหู้เหลืองหั่น 2 แผ่น
    8. น้ำตาลทราย ½  ถ้วย
    9. ซีอิ๊วดำ 3-4 ช้อนโต๊ะ
    10. ซีอิ๊วขาว 3 ช้อนโต๊ะ
    11. น้ำเปล่า 2-3 ถ้วย
    12. แตงกวาหั่นเส้น 5 ลูก
    13. น้ำมันพืช เล็กน้อย
    14. ผงพะโล้ เล็กน้อย

    ส่วนผสมน้ำราด

    1. น้ำตาลทราย 250 กรัม
    2. น้ำตาลทรายแดง 250 กรัม
    3. แป้งข้าวเจ้า ¼ ถ้วย
    4. น้ำเปล่าสำหรับเคี่ยวน้ำราด

    ส่วนผสมน้ำจิ้ม

    1. พริกชี้ฟ้า 70 กรัม
    2. น้ำส้มสายชู 150 กรัม
    3. น้ำอุ่น 50 กรัม
    4. เกลือ ½  ช้อนชา

    วิธีทำปอเปี๊ยะสดเจ

    1. ตั้งกระทะใส่น้ำตามด้วยน้ำตาลทรายซีอิ๊วดำ ซีอิ๊วขาว ผงพะโล้และเกลือ ตั้งไฟเคี่ยวสักพัก และนำขาเห็ดหอม เห็ดหูหนูขาวและดำ เต้าหู้เหลือง ฟองเต้าหู้ ใช้ไฟอ่อนๆ ตุ๋นไปเรื่อยๆจนนุ่มและหอม พักไว้
    2. ผสมน้ำตาลทราย น้ำตาลทรายแดง ลงไปในหม้อ ตามด้วยน้ำเปล่าคนจนส่วนผสมละลาย ตั้งไฟพอเดือด ละลายน้ำเปล่ากับแป้งข้าวเจ้าเทลงไป  เคี่ยวพอข้นขึ้นยกลง
    3. นำน้ำส้มสายชูผสมกับน้ำอุ่นใส่โถปั่น ปั่นกับพริกชี้ฟ้าและเกลือ ปั่นเสร็จเทใส่ถ้วยแยกไว้
    4. วางแผ่นแป้งโรตีลงไปบนเขียง ใส่ส่วนผสมต่างๆ ที่เตรียมไว้ เช่นแตงกวาหั่น ถั่วงอกลวก เครื่องที่ตุ๋นไว้  ม้วนให้แน่น ใช้มีดหั่นให้ได้ขนาดพอดีคำ
    5. เสิร์ฟเคียงคู่กับพริกที่ปั่นกับน้ำส้มสายชู และราดน้ำราดบนปอเปี๊ยะสด อาจตกแต่งด้วยพริกชี้ฟ้าแดงซอยเส้น

    ไม่เพียงแค่มีส่วนผสมจากเห็ดหอมและเต้าหู้แล้ว ปอเปี๊ยะสดเจ ยังมีแตงกวาเป็นส่วนประกอบด้วย ซึ่งแตงกวาก็เป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงฟลาโวนอยด์และแทนนินซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันการสะสมของอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายและอาจลดความเสี่ยงของโรค จากการศึกษาในหลอดทดลองและสัตว์แสดงให้เห็นว่าแตงกวา อาจมีส่วนช่วยลดน้ำตาลในเลือดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานอีกด้วย ซึ่งในส่วนนี้ยังต้องการงานวิจัยเพิ่มเติม นอกจากนี้แตงกวายังมีแคลอรี่ที่ต่ำมีปริมาณน้ำและใยอาหารที่ละลายน้ำได้ดี จึงเหมาะสำหรับการส่งเสริมความชุ่มชื้นและช่วยในการลดน้ำหนัก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/08/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา