backup og meta

สูตรแยมสับปะรด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/08/2020

    สูตรแยมสับปะรด

    บทความนี้ Hello คุณหมอ ชวนทุกคนมาทำแยมสับปะรดเก็บไว้ทานคู่กับขนมปังตอนเช้ากันค่ะ ด้วยการนำ สูตรแยมสับปะรด ที่คุณสามารถทำเองได้ง่ายๆ ที่บ้านมาฝากกัน รับรองว่าขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก แถมยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย จะมีวิธีทำอย่างไรบ้างติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย

    แยมสับปะรด หวานอมเปรี้ยว อร่อยถูกใจคนทุกวัย

    แยมสับปะรด (Pineapple Jam) เป็นอีกหนึ่งเมนูแยมรสชาติเปรี้ยวหวานที่เป็นที่นิยมสำหรับคนทุกเพศทุกวัย นอกจากจะไว้ทานคู่กับขนมปังตอนเช้าแล้ว ยังสามารถกินคู่กับเมนูอื่น ๆ ได้อีกหลากหลายเมนู เช่น โยเกิร์ต โรตี แครกเกอร์ วุ้นผลไม้ เป็นต้น แถมยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง บรรเทาอาการโรคข้ออักเสบ เป็นต้น

    สูตรแยมสับปะรด (Pineapple Jam)

    ส่วนผสม

  • สับปะรด 1 ลูก
  • น้ำเปล่า 1 ถ้วย
  • น้ำตาล 2 ถ้วย
  • น้ำมะนาว 2 ลูก
  • วิธีทำ

    • ปอกเปลือกสับปะรดออกและขูดเอาเนื้อออก ประมาณ 2 ถ้วย
    • นำสับปะรดและน้ำเปล่าลงในกระทะ เปิดไฟระดับปานกลาง-ต่ำ เคี่ยวประมาณ 35 นาที
    • ใส่น้ำตาลและมะนาวลงไปคนให้เข้ากัน เคี่ยวจนส่วนผสมเข้าที่ประมาณ 45-60 นาที
    • นำใส่กระปุกที่เตรียมไว้พร้อมปิดฝาให้สนิท

    หมายเหตุ หลังเปิดรับประทานสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึง 3 เดือน

    สูตรแยมสับปะรด

     5 คุณประโยชน์จากสับปะรด

    สับปะรด (Pineapple) เป็นผลไม้เมืองร้อนที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุซึ่งมีประโยชน์ ต่อสุขภาพดังนี้

    • ต้านอนุมูลอิสระ

    สับปะรดอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เรียกว่า สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) และสารฟีนอลิก (Phenolic) ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็งบางชนิด

    • ปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร

    สับปะรดมีกลุ่มเอนไซม์ย่อยอาหาร ที่เรียกว่า โบรมีเลน (Bromelain)  เป็นเอนไซม์ที่สามารถย่อยโมเลกุลของโปรตีนออกเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น กรดอะมิโน เมื่อโมโลกุลของโปรตีนถูกย่อยจะทำให้สามารถดูดซึมอาหารในลำไส้เล็กได้ง่าย ซึ่งเป็นข้อดีอย่างดีมากสำหรับผู้ที่มีภาวะตับอ่อนไม่แข็งแรง (ตับอ่อนไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยอาหารได้เพียงพอ).

    • ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิด

    สับปะรดช่วยลดภาวะความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation stress) และการอักเสบ ทั้งสองอย่างนี้มีความเชื่อมโยงกับมะเร็ง หนึ่งในสารประกอบเหล่านี้มีเอนไซม์โบรมีเลนช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งบางชนิดและช่วยในการทำงานของเม็ดเลือดขาว

    • บรรเทาอาการโรคข้ออักเสบ

    สับปะรดมีสารโบรมีเลน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอาการอักเสบ จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการอักปวดสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบได้ แต่คุณสมบัติในการต้านการอักเสบของสับปะรดนั้นอาจช่วยบรรเทาอาการได้ในระยะสั้น ๆ เท่านั้น

    • ร่างกายฟื้นตัวไวหลังผ่าตัดหรือออกกำลังกาย

    การรับประทานสับปะรดจะช่วยฟื้นตัวจากการผ่าตัดหรือหลังออกกำลังกาย โดยสารโบรมีเลนอาจช่วยลดอาการอักเสบ อาการบวมช้ำ หลังการผ่าตัด สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก อาจทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ สับปะรดจะช่วยลดการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่ถูกทำลายจากการออกกำลังกายได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา