หลายคนก็คงทราบดีว่าแป้งขัดขาวนั้นไม่ดีต่อสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างจำกัด ไฟเบอร์และโปรตีนต่ำ ที่สำคัญมีปริมาณน้ำตาลสูง ทำให้ผู้ที่รับประทานในปริมาณมากมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ แต่การเลือกใช้ แป้ง สำหรับทำอาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สามารถช่วยเพิ่มให้มื้ออาหารของคุณมีคุณค่าทางสารอาหารมากขึ้นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีประเภทของแป้ง สำหรับทำอาหารที่น่าสนใจ ที่ควรมีติดครัว มาฝากกันค่ะ
ประเภทของ แป้ง สำหรับทำอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพ
แป้งถือเป็นวัตถุดิบสำหรับการทำอาหารและขนมหลากหลายชนิด ซึ่งแป้งส่วนใหญ่ที่เรามักเลือกใช้คือ แป้งขัดขาว ซึ่งผ่านกระบวนการผลิตที่ทำให้สูญเสียรำข้าว จมูกข้าว ไฟเบอร์ และสารอาหารที่มีประโยชน์ ที่ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในข้าวสาลี ด้วยเหตุนี้การเลือกแป้งรูปแบบอื่นๆ ที่ให้คุณค่าทางสารอาหารที่ดี จึงถือเป็นตัวเลือกที่ดี ซึ่งแป้งเหล่านี้ถือเป็นตัวเลือกที่ดี
แป้งมะพร้าว (Coconut flour)
คุณค่าทางโภชนาการของแป้งมะพร้าว 64 กรัม
- พลังงาน 210 แคลอรี่
- โปรตีน 8.5 กรัม
- ไขมัน 13 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 34 กรัม
- ไฟเบอร์ 25 กรัม
- ธาตุเหล็กและโพแทสเซียม
แป้งมะพร้าวเป็นแหล่งโปรตีน ไขมัน ไฟเบอร์ และแร่ธาตุ เช่น ธาตุเหล็กและโพแทสเซียม (Potassium)ที่ดี ที่สำคัญแป้งมะพร้าวเป็นแป้งที่ไม่มีกลูเตน ผู้ที่มีอาการแพ้กลูเตนสามารถรับประทานได้ แม้ว่าแป้งมะพร้าว จะเป็นแป้งที่มีไขมันจำนวนมาก แต่ไขมันเหล่านี้เป็นไขมันที่ดี มีส่วนช่วยในการลดการอักเสบและช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้แป้งมะพร้าวยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
แป้งอัลมอนด์ (Almond flour)
คุณค่าทางโภชนาการของแป้งอัลมอนด์ 56 กรัม
- พลังงาน 340 แคลอรี่
- โปรตีน 12 กรัม
- ไขมัน 30 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม
- ไฟเบอร์ 4 กรัม
- มีแร่ธาตุมากมายทั้ง แคลเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม และวิตามินอี
แป้งอัลมอนด์เป็นแป้งที่ได้จากการบดอัลมอนด์ทั้งเมล็ด รวมทั้งเปลือกสีน้ำตาลของอัลมอนด์ด้วย ทำให้ได้รับไฟเบอร์ในปริมาณที่มาก นอกจากนี้แป้งอัลมอนด์ยังเป็นแหล่งอาหารที่ดีของแมกนีเซียม (Magnesium) ไขมันไม่อิ่มตัว โอเมก้า 3 โปรตีนจากพืช และวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้แป้งอัลมอนด์ยังมีประโยชน์อีกหลายประการเช่น ช่วยเพิ่มความต้านทานของอินซูลินได้ดีขึ้น ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิด LDL และมีส่วนช่วยควบคุมความดันโลหิต ที่สำคัญวิตามินอีที่มีอยู่ในอัลมอนด์ยังอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย
แป้งควินัว (Quinoa flour)
คุณค่าทางโภชนาการของแป้งควินัว 56 กรัม
- พลังงาน 200 แคลอรี่
- โปรตีน 8 กรัม
- ไขมัน 2 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 38 กรัม
- ไฟเบอร์ 6 กรัม
- ธาตุเหล็กและโพแทสเซียม
แป้งควินัวเป็นแป้งที่ปราศจากกลูเตน ซึ่งได้มาจากธัญพืชไม่ขัดสี แป้งควินัวเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ไฟเบอร์ ธาตุเหล็ก และไขมันไม่อิ่มตัวที่ดี นอกจากนี้แป้งควินัวยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยต้านการอักเสบ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทางเดินอาหารและช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกและการเกิดโรคโดยรวม
แป้งบัควีท (Buckwheat flour)
คุณค่าทางโภชนาการของแป้งบัควีต 60 กรัม
- พลังงาน 200 แคลอรี่
- โปรตีน 4 กรัม
- ไขมัน 2 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 44 กรัม
- ไฟเบอร์ 6 กรัม
- เหล็ก 17% ของปริมาณที่ต้องการต่อวัน
- แมงกานีส 34% ของปริมาณที่ต้องการต่อวัน
- แมกนีเซียม 33% ของปริมาณที่ต้องการต่อวัน
- ทองแดง 73% ของปริมาณที่ต้องการต่อวัน
- ฟอสฟอรัส 17% ของปริมาณที่ต้องการต่อวัน
แป้งบัควีตเป็นแป้งที่ทำมาจากเมล็ดธัญพืชที่ชื่อว่า บัควีต ซึ่งเป็นแป้งที่ปราศจากกลูเตน แป้งชนิดนี้เป็นแหล่งที่ดีของไฟเบอร์ โปรตีน และธาตุอาหารอื่นๆ เช่น แมกกานีส ทองแดง ฟอสฟอรัส จากการวิจัยพบว่าแป้งชนิดนี้มีส่วนช่วยในการลดน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยเพิ่มดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarkers) ของสุขภาพหัวใจด้วย
นอกจากแป้งที่ได้แนะนำไปแล้วเบื้องต้นยังมีแป้งอื่นๆ อีกมากมายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ควรหาซื้อเป็นตัวเลือกติดครัวไว้ แทนแป้งขัดขาวที่เราใช้ แต่อย่างไรก็ตามก่อนจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ใดๆ ก็ตาม ควรอ่านและตรวจสอบฉลากข้างผลิตภัณฑ์ก่อนว่ามีไฟเบอร์ โปรตีน และมีสารที่ก่อภูมิแพ้สำหรับเราหรือไม่
- แป้งถั่วลูกไก่
- แป้งข้าวโอ๊ต
- แป้งมันสำปะหลัง
- แป้งมันฝรั่ง
- แป้งกล้วย
- แป้งข้าวกล้อง
[embed-health-tool-bmi]