backup og meta

กุ้งแช่น้ำปลา เมนูสุดโปรด กับอันตรายที่คุณไม่เคยรู้

กุ้งแช่น้ำปลา เมนูสุดโปรด กับอันตรายที่คุณไม่เคยรู้

กุ้งแช่น้ำปลา เป็นอีกหนึ่งเมนูสุดแซ่บที่ถูกใจใครหลาย ๆ คน ด้วยรสชาติของน้ำยำที่เผ็ด เปรี้ยวอมหวาน นำมาราดบนตัวกุ้งสด แล้วโรยหน้าด้วยกระเทียมหั่นบาง ๆ ตามด้วยใบสะระแหน่และมะระกินคู่กัน แต่รู้ไหมว่า ถึงแม้รสชาติจะอร่อยแค่ไหน แต่ถ้าหากคุณกินแบบนี้บ่อยจนเกินไปหรือไม่ถูกสุขอนามัยแล้ว ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน แต่จะส่งผลเสียอย่างไรบ้างนั้น Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน

กุ้งแช่น้ำปลา กับอันตรายที่คุณไม่เคยรู้

รู้หรือไม่ว่า การกินกุ้งแช่น้ำปลา ซึ่งเป็นอาหารดิบมีความสุ่มเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งเมนูนี้นอกจากจะเสี่ยงท้องเสีย ท้องร่วงจากการปรุงที่ไม่สะอาดแล้ว ในกุ้งสด ๆ ยังมีการเชื้อก่อโรค อย่าง เชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส (Vibrio Parahaemolyticus) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามชายฝั่งทะเล ในน้ำทะเล และตามตะกอนโคลนตมในทะเล  อันตรายของเชื้อนี้ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ในบางรายอาจเกิดอาการตะคริวในช่องท้อง ปวดหัว อาเจียน หรือมีไข้

ระวัง 5 ความเสี่ยงจาก การกินกุ้งแช่น้ำปลา

แม้ว่าในกุ้งจะมีสารอาหารที่มีประโยชน์จำนวนมากก็ตาม แต่ การกินกุ้งแช่น้ำปลา ในปริมาณที่มากเกินไปนั้น ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เรามาดู 5 ความเสี่ยงจาก การกินกุ้งแช่น้ำปลากัน ว่ามีอะไรบ้าง

เมื่อเราทานอาหารที่มันไม่สะอาดและไม่สุก สิ่งที่ตามมาให้เห็นชัดมากที่สุด ก็คือ เราจะติดเชื้อโรคในทางเดินอาหาร ทำให้บางคนถึงกับไอเป็นเลือดได้ หรือว่าเสียชีวิตก็ได้เช่นกัน ถ้าเชื้อเหล่านั้นมันเข้าสู่กระแสเลือดของเรา ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ๆ

  • โรคแอนแทรกซ์

หากกินเนื้อที่มีเชื้อนี้เข้าไป จะเกิดการติดแอนแทรกซ์ในทางเดินอาหาร เกิดอาการอ้วกเป็นเลือด ถ่ายท้องรุนแรง ในรายที่เป็นมากก็ติดเชื้อในกระแสเลือดถึงแก่ความตายได้

  • อาหารเป็นพิษ

โรคอาหารเป็นพิษ มักเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น หลังจาก การกินกุ้งแช่น้ำปลา เข้าไป อาการของโรคจะเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมง จนถึง  8 วัน หลังการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ เบื่ออาหาร และอุจจาระร่วง

การกินกุ้งดิบ หรือ การกินกุ้งแช่น้ำปลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกุ้งน้ำจืด เสี่ยงทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ในปอด หากไม่รักษาอาจทำให้พยาธิขึ้นสมอง มีอาการชัก สายตาผิดปกติ มีอาการบวมเหมือนคนเป็นโรคพยาธิตัวจี๊ด

  • โรคอุจจาระร่วง

การกินกุ้งดิบ หรือ การกินกุ้งแช่น้ำปลา อาจเสี่ยงเป็นโรคอุจจาระร่วง โดยจะมีอาการอาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวบ่อยครั้ง อาจมีไข้ ส่วนการดูแลเบื้องต้น ให้ดื่มน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำหากอาการไม่ดีขึ้น

การกินกุ้งแช่น้ำปลาให้ห่างไกลโรค

  • เลือกซื้อกุ้งที่สดจริง ๆ ตัวไม่นิ่ม ไม่เละ ล้างทำความสะอาดดี ๆ ผ่าหลังดึงเส้นดำออก
  • ล้างอีกครั้งด้วยน้ำโซดาแช่เย็น กลิ่นคาวจะหายไปบ้าง ถ้ายังมีกลิ่นหลงเหลือ รสชาติของน้ำจิ้มจะเป็นตัวช่วยได้ เนื่องจากมีส่วนผสมที่สามารถลดกลิ่นคาว

จะเห็นได้ว่า การกินกุ้งแช่น้ำปลา นอกจากจะได้ความหวานอร่อยที่เป็นธรรมชาติของกุ้งแล้ว เรื่องของคุณค่าทางโภชนาการก็มีไม่น้อยเช่นกัน ดังนั้น หากอยากรับประทานกุ้งให้ได้ประโยชน์สูงสุด ก็ควรรับประทานอย่างพอเหมาะ ใส่ใจในเรื่องของกรรมวิธีการปรุง เพียงเท่านี้เมนูกุ้งของทุกท่านก็จะเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ทั้งอิ่ม ทั้งอร่อย และได้สุขภาพที่ดีอีกด้วย

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Happens When You Eat Raw Shrimp? https://www.reference.com/world-view/happens-eat-raw-shrimp-30b02832d501444f?qo=contentSimilarQuestions. Accessed 16 February 2018

Raw Food Dangers. https://www.webmd.com/food-recipes/food-poisoning/ss/slideshow-raw-food-dangers. Accessed 23 January 2019

Is It Safe to Eat Raw Shrimp?. https://www.webmd.com/diet/is-it-safe-to-raw-shrimp#1. Accessed June 22, 2021

Raw shrimp. https://www.nutritionvalue.org/Raw_shrimp_564929_nutritional_value.html. Accessed June 22, 2021

Can You Get Jumbo Benefits from Eating Shrimp?. https://www.nutritionletter.tufts.edu/general-nutrition/can-you-get-jumbo-benefits-from-eating-shrimp/. Accessed June 22, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/06/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปลาทูน่า ควรกินดิบหรือกินสุก อย่างไหนเป็นอันตรายกว่ากัน

สูตรกุ้งแช่น้ำปลา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 22/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา