backup og meta

คาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจได้

คาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจได้

คาร์โบไฮเดรต มักจะมีอยู่ในอาหาร 3 ชนิด ได้แก่ น้ำตาล แป้ง และไฟเบอร์ นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน โดยคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวหรือ คาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี ที่ผ่านการแปรรูปและมักจะมีการเพิ่มน้ำตาลเข้าไปด้วย เช่น ลูกอม น้ำเชื่อม และน้ำอัดลม อาจไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน และโรคเบาหวาน ได้อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยว คาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี มาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

คาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี คืออะไร

คาร์โบไฮเดรตในอาหารบางประเภท ที่ส่วนใหญ่จะมีน้ำตาลเชิงเดี่ยวมาก เช่น น้ำตาลในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน หรือน้ำตาลในของหวาน สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเร็วกว่า คาร์โบไฮเดรตประเภทอื่น ซึ่งถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป อาจเป็นสัญญาณว่าร่างกายของคุณอาจมีปัญหาในการผลิตอินซูลิน

นอกจากนี้อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวมาก หรือคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี (Bad carbohydrates) ได้แก่ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง และอาหารแปรรูป จะมีการเพิ่มน้ำตาลในกระบวนการผลิตเพื่อทำให้รสชาติดีขึ้น ซึ่งอาหารที่ผ่านกระบวนการเติมน้ำตาลได้แก่

  • เครื่องดื่มรสหวาน
  • ของหวาน
  • เครื่องดื่มรสผลไม้
  • ขนมหวานที่มีส่วนผสมของนมวัว
  • ลูกอม
  • ขนมปังจากยีสต์

ร่างกายของเราจะย่อยคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวเหล่านี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถเพิ่มการอักเสบในร่างกาย และเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดของคุณ นอกจากนี้การกินคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี สามารถส่งผลต่อสุขภาพหัวใจได้ ดังนี้

งานวิจัยชี้ว่า คาร์โบไฮเดรต สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจได้

1. คาร์โบไฮเดรตอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ มากกว่าไขมัน

ทีมวิจัยจาก Prospective Urban Rural Epidemiology (PURE) ได้ศึกษานิสัยการกินของผู้คนกว่า 125,000 คนจาก 18 ประเทศ ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบคาร์โบไฮเดรตกับไขมัน พบว่าคาร์โบไฮเดรตส่งผลกระทบมากที่สุด ต่อปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

2. คาร์โบไฮเดรตอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

การกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง และอาหารอย่างคอร์นเฟล็กส์ ขนมปัง เฟรนช์ฟรายส์ และน้ำอัดลม สามารถทำให้เกิดความผิดปกติชั่วคราวหรือฉับพลัน ในผนังด้านในของหลอดเลือดแดง โดยนอกจากการอักเสบแล้ว การที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงของคุณเสียหายได้ ซึ่งสามารถเพิ่มการอักเสบในร่างกาย และส่งผลทำให้ยากต่อการไหลเวียนของเลือดที่มีออกซิเจนเข้าสู่หัวใจ การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จึงสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ

3. คาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

โดยเฉลี่ยแล้ว ชาวอเมริกันบริโภคน้ำตาลประมาณ 22 ช้อนชาต่อวัน ในขณะที่สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Heart Association, AHA) แนะนำว่าผู้หญิงควรจำกัดการบริโภคน้ำตาลให้อยู่ที่ 6 ช้อนชาต่อวัน ส่วนผู้ชายควรจำกัดการบริโภคน้ำตาลให้อยู่ที่ 9 ช้อนชาต่อวัน เนื่องจากมีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ที่บริโภคน้ำตาลมากกว่า 20% ของปริมาณแคลอรี่ที่ควรได้รับต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงใจการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ 38%

ควรเลือกบริโภคคาร์โบไฮเดรตอย่างไร

  • ควรกินอาหารที่มีค่าดัชนีไกลซีมิกต่ำ (Low Glycemic Index) เช่น ข้าวโอ๊ต ผักและผลไม้ ถั่วเปลือกแข็งและพืชตระกูลถั่ว
  • นักวิจัยแนะนำว่าอาหารในอุดมคติควรจะประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 50-55% และไขมัน 35% ของปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน
  • ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาทีด้วย

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How Carbohydrates Can Affect Your Heart Health. https://health.clevelandclinic.org/how-carbohydrates-can-affect-your-heart-health/. Accessed on December 12 2018.

Carbs May Be Worse for Heart Health Than Fat. https://www.healthline.com/health-news/carbs-may-be-worse-for-heart-health-than-fat#1. Accessed on December 12 2018.

How High Carbohydrate Foods Can Raise Risk For Heart Problems. https://www.sciencedaily.com/releases/2009/06/090625133215.htm. Accessed on December 12 2018.

Good Carbs, Bad Carbs: Why Carbohydrates Matter to You. https://www.webmd.com/food-recipes/features/carbohydrates#1.  Accessed on December 12 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/08/2020

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เกลือ หรือ น้ำตาล อะไรแย่กว่ากัน สำหรับโรคความดันโลหิตสูง

ลดน้ำตาล ลดโรค วิธีทำให้สุขภาพดีแสนง่าย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา