backup og meta

รับประทานคีโต ป้องกันไมเกรน ได้จริงหรือไม่

รับประทานคีโต ป้องกันไมเกรน ได้จริงหรือไม่

ภาวะไมเกรนกำเริบนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล และสภาพแวดล้อม แต่สาเหตุที่แน่ชัดของโรคไมเกรนนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร ส่วนใหญ่แล้วแพทย์มักจะให้ยาเพื่อบรรเทาอาการไมเกรน แต่ก็ยังมีวิธีดูแลตัวเองมากมายเพื่อป้องกันอาการไมเกรน วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ รับประทานคีโต ป้องกันไมเกรน ได้จริงหรือแค่ความเชื่อผิด ๆ กันแน่ ลองมาหาคำตอบกันในบทความนี้ค่ะ

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานอาหารแบบคีโตกับไมเกรน

การรับประทานอาหารคีโต หรือ คีโตเจนิค (Ketogenic diets) เป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นการรับประทานไขมันดี ลดการรับประทานคาร์ไฮเดรต โดยจะรับประทานคาร์โบไฮเดรตเพียง 5% โปรตีน 20% และไขมัน 70% ทำให้ร่างกายเกิดภาวะคีโตซิส (Ketosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่ และใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน เมื่อเกิดการเผาผลาญไขมันเป็นเชื้อเพลิง ก็จะทำให้เกิด คีโตนบอดีส์ (Ketone bodies) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่ถูกส่งไปยังสมองและหัวใจ

นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการช่วยป้องกันการสะสมของกลูตาเมต ซึ่งเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของสมอง หากร่างกายมีสารกลูตาเมตมากเกินไป อาจเกิดการทำลายเซลล์ประสาทและสมองได้ ซึ่งผู้ที่เซลล์ประสาทและสมองเกิดความเสียหายมักจะมีปัญหาไมเกรน

รับประทานคีโต ป้องกันไมเกรน ได้อย่างไร

จากการศึกษาและวิจัยเบื้องต้นพบว่าการรับประทานอาหารคีโต มีส่วนช่วยป้องกันและบรรเทาอาการไมเกรนได้ จากการศึกษาในปีพ.ศ. 2471 วรรณกรรมทางการแพทย์มีรายงานว่าผู้ที่มีอาการไมเกรน 39% ที่รับประทานอาหารแบบคีโต มีความรุนแรงของอาการไมเกรนลดลงและอาการไมเกรนกำเริบน้อยลง

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาอื่น ๆ ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการโจมตีของไมเกรนในผู้ที่รับประทานอาหารแบบคีโต โดยทำการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่รับประทานอาหารแบบคีโตแคลอรี่ต่ำและผู้ที่รับประทานอาหารแบบแคลอรี่ต่ำพบว่า จากการรับประทานทั้ง 2 รูปแบบช่วยให้มีน้ำหนักลดลงใกล้เคียงกัน แต่ผู้ที่รับประทานอาหารแบบคีโตมีอาการไมเกรนกำเริบน้อยลง เฉลี่ย 3 ครั้งต่อเดือน ที่สำคัญจากการศึกษาเรื่องนี้ยังพบอีกว่าหลังจากรับประทานอาหารแบบคีโตได้นาน 1 เดือน ความถี่และความรุนแรงในการเกิดไมเกรนนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

แต่อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การรับประทานอาหารแบบคีโตนั้นมีส่วนช่วยบรรเทาอาการไมเกรนได้ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันอาการไมเกรนกำเริบได้ทั้งหมด การรับประทานอาหารแบบคีโต จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการบรรเทาอาการควบคู่ไปกับการรักษาของแพทย์

สิ่งสำคัญที่คุณควรรู้คือ การรับประทานอาหารแบบคีโต อาจส่งผลต่อการขับถ่าย และผู้ที่มีภาวะทางตับเช่น ตับอ่อนอักเสบ ภาวะตับล้มเหลว และความผิดปกติเกี่ยวกับการเผาผลาญไขมัน จึงจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าการรับประทานอาหารแบบคีโต ส่งผลต่อไมเกรนได้ในระดับใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Can a Ketogenic Diet Help Prevent Migraines?

https://www.migraineagain.com/can-a-ketogenic-diet-prevent-migraines/

Will Keto Help My Migraines?

https://ketogenic.com/will-keto-help-my-migraines/

Can the Keto Diet Help Prevent Migraine Attacks?

https://www.healthline.com/nutrition/keto-migraine

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/12/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน ได้จริงหรือไม่

ปวดหัว ปวดไมเกรน ต้องลองดื่ม ชาบรรเทาอาการปวดศีรษะ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 17/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา