โภชนาการพิเศษ

เนื่องจากร่างกายของทุกคนแตกต่างกัน ความต้องการของเราจึงแตกต่างกันด้วย คุณสามารถเสริมคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายได้ ด้วยข้อมูล โภชนาการพิเศษ ของเรา

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการพิเศษ

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารลดความดัน หรือ อาหารแดช เป็นหลักการบริโภคอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตและต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาหารลดความดันควรเป็นอาหารโซเดียมต่ำ ไม่มีไขมันอิ่มตัว มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากจะช่วยลดความดันแล้วยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด รวมทั้งอาจช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารลดความดัน คืออะไร อาหารลดความดัน หรืออาหารแดช (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หรือ DASH Diet) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นการรักษาหรือป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานอาหารแดชสามารถรับประทานอาหารหลากหลายได้ตามปกติ แต่อาจจำเป็นต้องลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัว และเพิ่มสัดส่วนของอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และใยอาหารหรือไฟเบอร์ เน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นต้น ตัวอย่างอาหารลดความดัน แอปริคอต อะโวคาโด แคนตาลูป ลูกพรุน ปวยเล้ง ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไขมัน เนื้อปลา ไข่ […]

สำรวจ โภชนาการพิเศษ

โภชนาการพิเศษ

อาหาร ที่ ผู้ ป่วย เบาหวาน ทาน ได้ และอาหารที่ควรเลี่ยง

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป และอาหารก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องใส่ใจอาหารที่รับประทาน เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลพุ่งสูงเกินไปจนทำให้หลอดเลือดและระบบร่างกายผิดปกติ จนเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างเบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงขา โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น อาหาร ที่ ผู้ ป่วย เบาหวาน ทาน ได้ ควรเป็นอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลไม่เลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และคงที่ มีใยอาหารสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ทำให้อิ่มได้นานและไม่หิวบ่อยจนต้องกินจุกจิกระหว่างมื้อหรือกินมื้อดึก [embed-health-tool-bmi] อาหาร ที่ ผู้ ป่วย เบาหวาน ทาน ได้ อาหาร ที่ ผู้ ป่วย เบาหวาน ทาน ได้ในปริมาณที่เหมาะสมโดยไม่ทำให้ระดับน้ำตาลพุ่งสูงจนเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมาย อาจมีดังนี้ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารจำพวกแป้งที่เป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับร่างกาย โดยจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลหรือกลูโคสและหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน ควรเป็นคาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสีหรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex carbohydrates) ที่มีเส้นใยอาหารสูงและใช้เวลาย่อยนานกว่าและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ช้ากว่าคาร์โบไฮเดรตขัดสี และอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ตัวอย่างอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตชนิดที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ควินัว อาหารประเภทผักและผลไม้ ผักและผลไม้เป็นอาหารที่มีสารอาหารหลายชนิด ทั้งแร่ธาตุ […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารย่อยง่าย สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร

อาหารย่อยง่าย เป็นอาหารเพื่อสุขภาพรูปแบบหนึ่งที่ผ่านการปรุงสุก กรดต่ำ ใยอาหารต่ำ เนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เคี้ยวและกลืนง่าย ซึ่งดีต่อระบบย่อยอาหาร ช่วยให้ทางเดินอาหารทำงานน้อยลง และลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม อาหารย่อยง่ายควรอุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างครบถ้วน [embed-health-tool-bmr] อาหารย่อยง่าย มีประโยชน์อย่างไร อาหารย่อยง่ายเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทางเดินอาหารและลำไส้ จึงอาจส่งผลดีต่อผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหาร ดังนี้ หญิงตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อบำรุงร่างกายทั้งของคุณแม่และทารกในครรภ์ การรับประทานอาหารย่อยง่ายจึงอาจช่วยให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารเพื่อส่งไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้อย่างเหมาะสม ผู้ที่มีอาการท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน ร่างกายอาจสูญเสียน้ำและสารอาหารในปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารย่อยง่ายเพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกาย ลำไส้และกระเพาะอาหารอักเสบ เช่น โรคกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะ อาการลำไส้แปรปรวน อาจทำให้เกิดความผิดปกติของทางเดินอาหาร ซึ่งอาจทำให้ลำไส้ย่อยและดูดซึมสารอาหารได้น้อยลง ระบบทางเดินอาหารติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและสารอาหาร จนขาดพลังงานและต้องการได้รับอาหารเพื่อฟื้นฟูร่างกายอย่างเร่งด่วน การผ่าตัดกระเพาะอาหาร หรือการผ่าตัดต่าง ๆ ในระหว่างการผ่าตัดร่างกายต้องสูญเสียเลือดและพลังงานในปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารอย่างเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูร่างกาย กลุ่มอาการการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ (Malabsorption Syndromes) ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายเพื่อช่วยให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ดีมากยิ่งขึ้น อาหารย่อยง่าย ที่ดีต่อสุขภาพทางเดินอาหาร ควรเน้นรับประทานอาหารย่อยง่ายที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลายและครบ 5 หมู่ โดยควรปรุงอาหารให้มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เคี้ยวและกลืนง่าย รวมทั้งควรเลือกชนิดของอาหารที่ย่อยง่าย ดังนี้ โปรตีนไขมันต่ำ เลือกรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีเส้นใยกล้ามเนื้อน้อย อ่อนนุ่ม ไขมันต่ำ ไม่ติดหนังและมัน […]


โภชนาการพิเศษ

โรคความดันต่ำ ควรกินอะไร และควรดูแลตนเองอย่างไร

หากเป็น โรคความดันต่ำ ควรกินอะไร? ควรกินอาหารที่ช่วยให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ เช่น อาหารรสเค็ม อาหารที่มีวิตามินบี 12 รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ทั้งนี้ โรคความดันต่ำเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความเครียด การใช้ยาบางชนิด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการเสียเลือดในปริมาณมาก [embed-health-tool-heart-rate] โรคความดันต่ำ คืออะไร โรคความดันต่ำ หมายถึง ภาวะสุขภาพของร่างกายที่มีระดับความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น วิงเวียน สายตาพร่ามัว หมดแรง หัวใจเต้นแรง โดยปกติแล้ว โรคความดันต่ำนั้นพบได้จากหลาย ๆ สาเหตุ ดังนี้ การตั้งครรภ์ ความเครียด การติดเชื้อในระดับรุนแรง การแพ้อย่างรุนแรง การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า โรคพาร์กินสัน การสูญเสียเลือดปริมาณมาก ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ ต่อมไทรอยด์ หรือการทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาเสพติด การเผชิญกับอุณหภูมิที่เย็นหรือร้อนมาก ภาวะขาดน้ำเนื่องจากการอาเจียน ท้องร่วง หรือเป็นไข้ การเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ลุกนั่งหรือลุกยืนเร็วเกินไป มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การออกกำลังกายหักโหม โรคความดันต่ำ ควรกินอะไร เพื่อช่วยให้ความดันโลหิตสูงขึ้น […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารอ่อนๆ ดีต่อสุขภาพอย่างไร มีอะไรบ้างที่ควรรับประทาน

อาหารอ่อนๆ มักเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอาหารอ่อนๆ เป็นอาหารเนื้อนุ่ม เคี้ยวและกลืนง่าย ใยอาหารต่ำ ซึ่งทำให้ร่างกายดูดซึมได้ง่ายขึ้น เพื่อนำมาใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ใช้เป็นพลังงานในการฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วย และยังดีต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารและลำไส้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารอ่อนๆ ดีต่อสุขภาพอย่างไร อาหารอ่อนๆ คือ อาหารที่มีใยอาหารต่ำ เนื้อสัมผัสนุ่ม เคี้ยวง่าย กลืนง่าย กรดต่ำ และผ่านการปรุงสุกจนย่อยง่าย ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ โดยส่วนใหญ่อาหารอ่อนๆ มักเหมาะกับผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยพักฟื้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง ที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและใช้เป็นพลังงานในการฟื้นฟูร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้ อาหารอ่อนๆ ยังดีต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารและลำไส้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาลำไส้และระบบย่อยอาหาร ดังนี้ ปัญหาเกี่ยวกับการบดเคี้ยวและการกลืนอาหาร การติดเชื้อที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร แพ้อาหาร เช่น แพ้นมวัว แพ้แลคโตส ไวต่อน้ำตาลกลูโคส คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืด ท้องผูก และท้องเสีย การตั้งครรภ์และให้นมบุตร ปัญหาลำไส้และกระเพาะอาหาร เช่น กระเพาะเป็นแผล โรคลำไส้อักเสบ โรคกรดไหลย้อน อาการลำไส้แปรปรวน โรคกระเพาะอาหาร โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis) การผ่าตัดร่างกาย ผ่าตัดบริเวณศีรษะ คอ ฟัน […]


โภชนาการพิเศษ

โรคไตห้ามกินอะไรบ้าง เพราะเหตุผลอะไร

โรคไต หมายถึง โรคที่ไตทำหน้าที่กรองของเสียหรือสารอาหารจากเลือดได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายมีสารอาหารสะสมอยู่มากเกินไปจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ หากถามว่า โรคไตห้ามกินอะไร คำตอบคือ โดยปกติ คุณหมอจะไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับรับประทานอาหารชนิดใดเป็นพิเศษ แต่มักแนะนำให้จำกัดการบริโภคสารอาหารบางอย่าง เช่น โซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับสารอาหารดังกล่าวออกจากร่างกายได้ตามปกติ [embed-health-tool-bmi] โรคไต คืออะไร โรคไตหรือบางครั้งเรียกว่าโรคไตเรื้อรัง เป็นโรคเกี่ยวกับไตแบบหนึ่ง ซึ่งไตจะไม่สามารถกรองของเสียจากเลือดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายสะสมของเหลวหรือสารอาหารไว้มากเกินไป จนเป็นอันตรายต่อสุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงให้เสียชีวิตได้ โดยทั่วไป โรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงมักเป็นสาเหตุของโรคไต นอกจากนี้ โรคไตยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ การเป็นโรคบางโรคที่เกี่ยวกับไต เช่น โรคหลอดเลือดแดงที่ไตตีบตัน โรคไตอักเสบลูปัส โรคไตอักเสบ การติดเชื้อ การบริโภคยาบางชนิดที่ส่งผลต่อสุขภาพไต การได้รับพิษจากโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว โรคไตห้ามกินอะไรบ้าง เมื่อเป็นโรคไต คุณหมอหรือนักโภชนาการมักไม่มีข้อห้ามในการรับประทานอาหาร แต่มักแนะนำให้บริโภคสารอาหารบางอย่างในปริมาณน้อย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากการที่ไตไม่สามารถขับสารอาหารเหล่านั้นออกจากร่างกายได้ในปริมาณที่เหมาะสม ได้แก่ โซเดียม โซเดียม เป็นธาตุอาหารที่ช่วยควบคุมระดับของเหลวในร่างกาย โดยทั่วไป ผู้ที่มีสุขภาพดีควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม/วัน แต่เมื่อเป็นโรคไต คุณหมอจะแนะนำให้บริโภคโซเดียมในปริมาณที่ต่ำกว่า โดยขึ้นอยู่กับสุขภาพของไตหรือระยะของโรคไต ทั้งนี้ หากบริโภคโซเดียมมากเกินไป จะทำให้ระดับของเหลวในร่างกายมีปริมาณสูงขึ้น และอาจนำไปสู่อาการผิดปกติต่าง ๆ อย่างแข้งบวม ความดันโลหิตสูง […]


โภชนาการพิเศษ

ผลไม้ที่มะเร็งกลัว หมายถึงผลไม้อะไรบ้าง

มะเร็ง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เซลล์ในร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็วผิดปกติ และแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ จนกระทั่งส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลวจนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม มะเร็งอาจป้องกันได้ ด้วยออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งการรับประทาน ผลไม้ที่มะเร็งกลัว ซึ่งมีสารอาหารที่ช่วยต้านมะเร็ง อย่างส้ม แอปเปิล หรือทับทิม [embed-health-tool-bmr] มะเร็ง คืออะไร มะเร็ง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เซลล์ในร่างกายเติบโตและเพิ่มจำนวนอย่างผิดปกติ และหากไม่รีบรักษา เซลล์มะเร็งหรือเนื้อร้ายจะเติบโตจนเกินควบคุม และแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียงหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ ปกติแล้ว มะเร็งอาจเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง สมอง ปอด ตับ กระดูก ต่อมลูกหมาก หรือปากมดลูก สำหรับสาเหตุของมะเร็งนั้นเกิดจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอ (DNA) หรือสารพันธุกรรมในเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์ปกติที่มีสุขภาพดีเติบโตรวดเร็วผิดปกติ และยากที่จะควบคุม ในประเทศไทย พบผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี สถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2564 ระบุว่า ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในประเทศไทย มีจำนวน 139,206 คน/ปี ในขณะที่ผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็ง มีจำนวนประมาณ 84,073 คน/ปี ทั้งนี้ มะเร็ง 5 อันดับแรกที่พบมากที่สุดในคนไทย ได้แก่ […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารที่ให้พลังงานสูง และดีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

การรับประทาน อาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอย่างธัญพืชเต็มเมล็ด มันเทศ เนื้อสัตว์อย่างเนื้อไก่ เนื้อปลา เครื่องในสัตว์อย่างตับวัว ไข่ไก่ อาจช่วยให้ร่างกายมีพลังงานเพียงพอและระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดทั้งวัน ทั้งนี้ ควรเลือกอาหารที่ให้พลังงานสูงที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารพลังงานสูงที่มีน้ำตาล ไขมัน คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี หรืออาหารแปรรูป ที่ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้เร็วมาก อาจอยู่ท้องได้ไม่นาน จึงทำให้หิวบ่อยและรับประทานอาหารบ่อยขึ้น จนนำไปสู่ภาวะน้ำตาลและไขมันสะสมในเลือดสูงที่ก่อปัญหาสุขภาพ เช่น โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] อาหารที่ให้พลังงานสูง มีอะไรบ้าง อาหารที่ให้พลังงานสูง และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาจมีดังนี้ ดาร์กช็อกโกแลต ดาร์กช็อกโกแลต ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 579 กิโลแคลอรี โดยทั่วไปแล้วร่างกายจะดูดซึมสารอาหารจากดาร์กช็อกโกแลตไปใช้ได้ช้ากว่าช็อกโกแลตนม จึงทำให้ระดับพลังงานในร่างกายคงที่มากกว่า อีกทั้งดาร์กช็อกโกแลตยังมีปริมาณโกโก้และสารต้านอนมูลอิสระอย่างฟลาโวนอยด์สูงกว่า จึงดีต่อสุขภาพมากกว่า นอกจากนี้ ดาร์กช็อกโกแลตยังมีสารธีโอโบรมีน (Theobromine) ที่ออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับคาเฟอีน จึงอาจช่วยเพิ่มพลังงานและช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ทั้งนี้ ควรรับประทานดาร์กช็อกโกแลตในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ได้รับไขมันและพลังงานมากเกินที่ควรได้รับในแต่ละวัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 553 กิโลแคลอรี ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่มีพลังงานสูง อุดมด้วยใยอาหารหรือไฟเบอร์ […]


โภชนาการพิเศษ

วิตามิน เจริญอาหาร มีประโยชน์อย่างไร และวิธีกระตุ้นความอยากอาหาร

วิตามิน เจริญอาหาร เป็นวิตามินรูปแบบหนึ่งที่มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ช่วยให้รู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น โดยวิตามินเจริญอาหารมักใช้กับผู้ที่มีภาวะเบื่ออาหาร รับประทานอาหารน้อยหรือปฏิเสธการรับประทานอาหาร ซึ่งอาจช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว [embed-health-tool-bmi] ภาวะเบื่ออาหาร เกิดจากอะไร ภาวะเบื่ออาหารอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะสุขภาพ โรคเรื้อรัง ช่วงอายุ ความแก่ชรา ภาวะซึมเศร้า การตั้งครรภ์ไตรมาสแรก อาการคลื่นไส้อาเจียน การใช้ยาบางชนิด ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ภาวะสมองเสื่อม ซึ่งสาเหตุเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตที่เชื่อมโยงกับความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหาร ที่อาจส่งผลให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีภาวะเบื่ออาหารเกิดขึ้น ซึ่งหากปล่อยไว้อาจส่งผลเสียต่อน้ำหนักตัว มวลกล้ามเนื้อและไขมันในร่างกาย รวมทั้งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ วิตามิน เจริญอาหาร มีประโยชน์อย่างไร วิตามินเจริญอาหาร เป็นวิตามินที่อาจมาในรูปแบบยาที่ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ช่วยให้สามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ที่มีภาวะเบื่ออาหารและปฏิเสธการรับประทานอาหาร จนส่งผลให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และอาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว วิตามินเจริญอาหาร มีอะไรบ้าง ก่อนรับประทานวิตามินเจริญอาหาร ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการเบื่ออาหารก่อนเสมอ เพื่อจะได้รักษาตั้งแต่ต้นเหตุควบคู่ไปกับการรับประทานวิตามินเจริญอาหาร ดังนี้ สังกะสี มีบทบาทสำคัญในการเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การสังเคราะห์โปรตีนและดีเอ็นเอ การรักษาบาดแผล การส่งสัญญาณและการแบ่งเซลล์ ซึ่งการขาดสังกะสีอาจทำให้มีอาการเบื่ออาหาร ระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่ดี การรับรสชาติเปลี่ยนไป แผลหายช้า และผมร่วง ดังนั้น จึงควรรับประทานอาหารเสริมสังกะสีเพื่อช่วยกระตุ้นความอยากอาหารให้เป็นปกติ วิตามินบี 1 หรือไทอามีน (Thiamine) มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการ ซึ่งความรู้สึกเบื่ออาหารอาจเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี 1 นอกจากนี้ […]


โภชนาการพิเศษ

กรวยไตอักเสบ ห้ามกินอะไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

กรวยไตอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หนาวสั่น เจ็บขณะถ่ายปัสสาวะ นอกจากจะรักษาด้วยการกินยาปฏิชีวนะและปรับพฤติกรรมตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัดแล้ว การเลือกอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ผู้ป่วยควรทราบว่า กรวยไตอักเสบ ห้ามกินอะไร เพื่อไม่ให้อาการแย่ลง โดยทั่วไป ผู้ป่วยกรวยไตอักเสบห้ามกินอาหารที่มีสารอาหารบางชนิดในปริมาณมาก เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม เพราะร่างกายไม่สามารถขับสารอาหารเหล่านั้นออกไปได้ตามปกติ จึงอาจส่งผลให้อาการแย่ลงได้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุกรวยไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) คือ โรคติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณกรวยไต มักเกิดจากแบคทีเรียเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli.) หรือที่เรียกว่าเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E. coli) โดยเชื้อจะเดินทางเข้าสู่กรวยไตและทำให้เกิดการติดเชื้อได้ 2 ลักษณะ คือ การติดเชื้อที่ลุกลามจากระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างขึ้นมาถึงกรวยไต และการติดเชื้อทางกระแสเลือด แต่ส่วนใหญ่แล้วกรวยไตอักเสบมักเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมากกว่า ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัย เช่น กลั้นปัสสาวะบ่อย ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ดูแลรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศได้ไม่ดี ในขณะที่การติดเชื้อทางกระแสเลือดพบได้น้อยกว่า และมักเกิดกับผู้ที่มีท่อไตอุดตันจากการผ่าตัดหรือผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและอ่อนแอ ภาวะสุขภาพที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกรวยไตอักเสบ อาจมีดังนี้ เป็นนิ่วในไต สอดสายสวนปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต เป็นโรคปัสสาวะไหลย้อนกลับ (Vesicoureteral reflux หรือ VUR) กำลังตั้งครรภ์ […]


โภชนาการพิเศษ

ความดันสูงห้ามกินอะไร และควรกินอะไรเพื่อควบคุมความดันโลหิต

ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องอาหาร หากทราบว่า ความดันสูงห้ามกินอะไร อาจช่วยให้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น โดยทั่วไป คนความดันสูงควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารแปรรูป น้ำตาล ไขมันทรานส์ เครื่องปรุงรส และควรเลือกกินอาหารที่เหมาะสม เน้นอาหารจากธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลาที่มีไขมันดี ผักและผลไม้สด ธัญพืชไม่ขัดสี นมไขมันต่ำ เพราะมีสารอาหารหลากหลาย จึงอาจช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตได้ [embed-health-tool-bmi] ความดันสูงเกิดจากอะไร ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) หรือที่นิยมเรียกว่า ความดันสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีความดันโลหิต 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่แน่ชัด แต่พันธุกรรม พฤติกรรมการกินอาหารรสหวาน มัน เค็ม เปรี้ยวจัด ภาวะสุขภาพ เช่น น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ โรคอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้ เมื่อแรงดันของเลือดในหลอดเลือดที่กระทบกับผนังหลอดเลือดสูงเกินไป จะส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา หรือไม่ปรับระดับความดันโลหิตให้ลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจทำให้หลอดเลือดและอวัยวะต่าง ๆ เสียหาย และหากมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม