งานวิจัยหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารขยะและปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ตีพิมพ์ในวารสาร Eating and Weight Disorders ปี พ.ศ. 2563 นักวิจัยได้ศึกษาข้อมูลของเด็กชาวอิหร่านจำนวน 14,400 คน และพบข้อสรุปว่า การบริโภคอาหารขยะเกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ในเด็กรวมถึงภาวะความดันโลหิตสูง
นอกจากนี้ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับอาหารขยะซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอ้วน ภัยร้ายต่อเยาวชนในช่วงโรคระบาดโควิด-19 เผยแพร่ในวารสาร Obesity Medicine พ.ศ. 2563 ระบุว่า อาหารขยะ การไม่ออกกำลังกาย และความเครียดในช่วงโรคระบาดโควิด-19 ทำให้เยาวชนและคนหนุ่มสาวเสี่ยงน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น
นอกจากโรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์แล้ว การบริโภคอาหารขยะ ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อไปนี้
ทำอย่างไรจึงจะบริโภคอาหารขยะได้น้อยลง
แม้ว่าอาหารขยะจะมีรสชาติอร่อย แต่หากบริโภคเป็นประจำในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้น ควรหาวิธีลดปริมาณอาหารขยะที่บริโภคในแต่ละวันเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ โดยอาจปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารขยะกลับมารับประทานหรือเก็บไว้ที่บ้าน เน้นการรับประทานอาหารสดใหม่หรืออาหารที่ทำเอง
- วางแผนการบริโภคอาหารมื้อหลักและอาหารว่างล่วงหน้า โดยเน้นไปที่อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- ก่อนซื้ออาหาร ควรพิจารณาและอ่านข้อมูลโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ประกอบการตัดสินใจ
- ลดหรืองดการซื้ออาหารจากการโฆษณา เพราะอาหารที่โฆษณาว่าปราศจากน้ำตาลอาจยังให้พลังงานสูงและอุดมไปด้วยเกลือหรือไขมัน ในขณะที่อาหารที่โฆษณาว่าไขมันต่ำลงอาจหมายถึงว่ามีไขมันน้อยกว่าแบบเดิมเล็กน้อย แต่ความจริงแล้วไขมันยังอยู่ในระดับที่สูงอยู่
- กำจัดความเครียดด้วยวิธีอื่นแทนการบริโภคอาหารขยะ เช่น ออกกำลังกาย เล่นโยคะ ไปเดินเล่น พูดคุยกับคนใกล้ตัว หากต้องการรับประทานอาหารควรเลือกรับประทานผลไม้หรือของว่างที่มีประโยชน์แทน
อาหารที่ควรบริโภคแทนอาหารขยะ
อาหารที่ควรบริโภคแทนอาหารขยะ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ มีดังนี้
- ผลไม้ เช่น แอปเปิล กล้วย ส้ม ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่าง ๆ
- ผัก เช่น ผักใบเขียว กะหล่ำดอก แครอท บร็อคโคลี่
- ธัญพืชเต็มเมล็ดและอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตชนิดดี เช่น ข้าวโอ๊ต ควินัว มันเทศ
- เมล็ดพืชและเมล็ดถั่ว เช่น อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดทานตะวัน
- โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล เต้าหู้
- ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต ชีส คีเฟอร์ (Kefir) หรือนมหมัก
- เครื่องดื่มปราศจากน้ำตาล เช่น น้ำเปล่า ชาเขียว ชาสมุนไพร
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย