backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

9 เคล็ดลับการกินอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรค เบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 19/03/2021

9 เคล็ดลับการกินอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรค เบาหวาน และความดันโลหิตสูง

งานวิจัยมากมายแสดงให้เห็นว่า 70% ของผู้ป่วยเบาหวาน มีความดันโลหิตสูงด้วยเช่นกัน การรับประทานอาหารที่ดีสามารถช่วยควบคุมปริมาณการบริโภคของคุณ และช่วยคุณรับมือกับโรค เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ได้ ติดตามเรื่องนี้ได้ในบทความของ Hello คุณหมอ

เคล็ดลับการกินอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรค เบาหวาน และความดันโลหิตสูง

1. หลีกเลี่ยงโซเดียม

ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หมอจะแนะนำให้บริโภคอาหารที่มีโซเดียม (Sodium) น้อยกว่า 1500 มิลลิกรัมต่อวัน (น้อยกว่า 1 ช้อนชา) หลีกเลี่ยงการใช้เกลือ กระเทียม ขิง ออริกาโน ยี่หร่า หรือ ดอกโรสแมรี่ ในการปรุงอาหาร นอกจากนี้ อาหารที่ทำจากร้านอาหาร มักจะอุดมไปด้วยโซเดียมมากกว่าอาหารทั่วไป ดังนั้น เมื่อคุณมีอาการของโรคเบาหวานแล้วความดันโลหิตสูง การทำอาหารเองที่บ้านเป็นสิ่งที่ควรต้องทำ

2. เพิ่มธัญพืชในอาหาร

ธัญพืชโฮลเกรน (Whole grain) หรือธัญพืชแบบไม่ขัดสี เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์และสารอาหาร ซึ่งช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นานขึ้น ให้แน่ใจว่าคุณบริโภคธัญพืช แบบไม่ขัดสี 3 ถึง 5 หน่วยบริโภค ต่อวัน

3. ผูกมิตรกับกล้วย

กล้วยอุดมไปด้วยโพแทสเซียม (Potassium) ซึ่งช่วยจัดการความดันโลหิตโดยการลดผลกระทบของโซเดียม ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงยกเว้นผู้ที่มีปัญหาทางไต ควรเพิ่มโพแทสเซียมในอาหาร

4. ลดการดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นความอยากอาหาร ทำให้คนบริโภคมากขึ้น

5. บริโภคผักและผลไม้มากขึ้น

ผักและผลไม้อุดมไปด้วยเกลือแร่ วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระและเส้นใยอาหารจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้พิสูจน์แล้วว่าผักและผลไม้ ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด และควบคุมความดันโลหิต

6. การเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มกาแฟ

พยายามจำกัดจำนวนการบริโภคคาเฟอีนลงเหลือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าคาเฟอีน (Caffeine) สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและเป็นสาเหตุของภาวะความดันโลหิตสูง

7. ระวังไขมัน

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ในอาหารอบและทอด ยังแนะนำให้จำกัดการบริโภคไขมันอิ่มตัว ที่พบได้มากในเนื้อส่วนไขมัน เพราะไขมันเหล่านี้จะเพิ่มคอเลสเตอรอล ซึ่งนำไปสู่ปัญหาโรคหัวใจ พยายามบริโภคไขมันในอาหารทำจากพืช อย่างเช่น อะโวคาโด ถั่ว น้ำมันมะกอก เป็นต้น

8. บริโภคอาหารคลีนที่อุดมไปด้วยโปรตีนสูง

อาหารคลีนที่อุดมไปด้วยโปรตีนในปริมาณสูง เช่น เนื้ออกไก่ไร้มัน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้เราอิ่มท้องได้นานขึ้น และยังช่วยรักษาสุขภาพหัวใจอีกด้วย

9. บันทึกการกิน

จดบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหารลงในสมุดบันทึก หรือสมาร์ทโฟน เพื่อที่จะได้รับรู้รูปแบบการกิน ที่จะช่วยควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของคุณ คุณจะได้รับรู้ว่าการกินอาหารของคุณยังมีข้อผิดพลาดอย่างไรบ้างและสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 19/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา