backup og meta

Flexitarian : มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น รูปแบบการกิน มังสวิรัติ ที่ กินเนื้อได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    Flexitarian : มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น รูปแบบการกิน มังสวิรัติ ที่ กินเนื้อได้

    อาหาร มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น เป็นรูปแบบของการรับประทานอาหารที่เน้นอาหารจากพืชเป็นหลัก ในขณะที่สามารถรับประทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่นๆ ได้ ในปริมาณที่พอเหมาะ มังสวิรัติรูปแบบนี้ จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าอาหารมังสวิรัติหรืออาหารวีแกน หากคุณเป็นคนที่กำลังอยากจะเริ่มกินมังสวิรัติ แต่ก็ยังตัดใจจากเนื้อสัตว์ไม่ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปรู้จักกับมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น รูปแบบของมังสวิรัติที่กินเนื้อได้ 

    Flexitarian หรือ มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น คืออะไร

    “Flextarianism’ เป็นคำศัพท์แปลกใหม่ที่เกิดขึ้นในวงการวิทยาศาสตร์และสาธารณะเมื่อเร็วๆ นี้ หลายๆ คนคงยังแปลกใจและสงสัยว่าจริงๆ แล้วคำนี้มีความหมายว่าอะไรกันแน่ ในปี 2014 Oxford ได้เพิ่มคำศัพท์นี้ลงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษของ Oxford ให้ความหมายคำว่า Flexitarianism ว่าหมายถึงบุคคลที่รับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นหลัก แต่ไม่เคร่งครัด และบางครั้งสามารถกินเนื้อสัตว์หรือปลาได้ ซึ่งเป็นรูปแบบของมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น ซึ่งผู้บริโภคในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์หรือลดการรับประทานเนื้อสัตว์กันอยู่แล้ว แต่จะมีการปรับให้บางมืออาหารมีเนื้อมาเป็นส่วนประกอบของอาหารได้ 

    จริงๆ แล้วรูปแบบอาหารแบบ Flexitarian สร้างขึ้นโดยนักโภชนาการชื่อ Dawn Jackson Blatner เขาคิดค้นรูปแบบการรับประทานอาหาร มังสวิรัติแบบยืดหยุ่นเพื่อช่วยให้ผู้คนได้รับประโยชน์จากการรับประทานอาหารมังสวิรัติในขณะที่ยังคงเพลิดเพลินกับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ในปริมาณที่พอเหมาะได้ นั่นจึงเป็นเหตุผล ที่ชื่อของอาหารนี้ คือการรวมกันของคำว่า ยืดหยุ่นและมังสวิรัติ เข้าด้วยกัน อาหารแบบ Flexitarian ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนหรือจำนวนแคลอรี่และธาตุอาหารหลักที่แนะนำ ที่จริงแล้วมันเป็นวิถีชีวิตมากกว่าอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมันขึ้นอยู่กับหลักการดังต่อไปนี้

  • กินผลไม้ผักพืชตระกูลถั่วและธัญพืชเป็นส่วนใหญ่
  • เน้นโปรตีนจากพืชแทนสัตว์
  • สามารถรับประทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้เป็นครั้งคราว
  • รับประทานอาหารแปรรูปให้น้อยที่สุดและเน้นอาหารที่ได้ธรรมชาติ
  • จำกัดปริมาณน้ำตาลและความหวาน
  • หากใครที่อยากจะลองรับประทานอาหารในรูปแบบนี้ ก็สามารถทำได้ แต่อาจจะไม่ต้องเคร่งครัดในการลดการบริโภคเนื้อสัตว์มากมายขนาดนั้น คุณสามารถรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้มากกว่าที่ระบุ โดยรวมแล้ว เป้าหมายคือการกินอาหารรูปแบบนี้ต้องการเน้นวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ ได้คุณค่าทางโภชนาการจากพืชแต่ก็ยังคงได้ประโยชน์จากเนื้อสัตว์ด้วย แต่ในปริมาณที่น้อยลง

    ประโยชน์ต่อสุขภาพเมื่อรับประทานอาหาร มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น

    การรับประทาน Flexitarian อาจให้ประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจน เกี่ยวกับรูปแบบการรับประทานอาหารนี้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าการรับประทานอาหารแบบนี้มีประโยชน์อะไรบ้าง แต่อย่างไรก็ตามจากการวิจัยเกี่ยวกับการรับประทานอาหารมังสวิรัตินั้นมีประโยชน์ในการช่วยส่งเสริมสุขภาพ

    ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ

    อาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์และไขมันที่ดีต่อสุขภาพนั้น ดีต่อสุขภาพของหัวใจ จากการศึกษาของผู้ใหญ่ 45,000 คนใน 11 ปี พบว่าผู้ที่บริโภคอาหารมังสวิรัติ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจลดลงร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ใช่มังสวิรัติ ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลมาจาก อาหารมังสวิรัตินั้นอุดมไปด้วยเส้นใยและสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจลดความดันโลหิตและเพิ่มคอเลสเตอรอลที่ดีได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหาร มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น นั้นมีจุดประสงค์ เพื่อการรับประทานอาหารจากพืชเป็นหลักและส่วนใหญ่จะมีประโยชน์คล้ายกับอาหารมังสวิรัติอย่างสมบูรณ์

    มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก

    การรับประทานอาหารแบบมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น อาจส่งผลดีต่อรอบเอวของคุณได้ เนื่องจากอาหารแบบ มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น ส่วนใหญ่ได้จากธรรมชาติ ไม่เน้นอาหารแปรรูป มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าคนที่รับประทานอาหารจากพืชนั้น อาจลดน้ำหนักได้มากกว่า จากการศึกษาของคนมากกว่า 1,100 คนพบว่า ผู้ที่รับประทาน อาหารมังสวิรัติเป็นเวลา 18 สัปดาห์ สามารถลดน้ำหนักได้ถึง 2 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าคนที่ไม่ได้รับประทาน 

    โรคเบาหวาน

    โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ถือเป็นโรคระบาดด้านสุขภาพ ที่เป็นปัญหาระดับโลก การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารที่มีพืชเป็นส่วนประกอบอาจช่วยป้องกันและจัดการโรคเบาหวานได้ เนื่องจากอาหารที่ได้จากพืช ช่วยลดน้ำหนัก มีปริมาณเส้นใยสูง แถมยังไม่มีไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพและน้ำตาลต่ำ จากการวิจัยเพิ่มเติมแสดงให้เห็นว่าคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ที่ กินอาหารมังสวิรัติมีฮีโมโกลบิน A1c ต่ำกว่าร้อยละ 0.39 (โดยมีการอ่านค่าน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยสามเดือน) กว่าผู้ที่มีเงื่อนไขว่ากินผลิตภัณฑ์จากสัตว์

    ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

    จากที่กล่าวไปข้างต้น รูปแบบการรับประทานอาหารมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น จะเน้นการรับประทานพืช ธัญพืชเป็นหลัก ทั้งผลไม้ ผัก ถั่ว เมล็ดพืช ธัญพืชและพืชตระกูลถั่ว ซึ่งอาหารเหล่านี้ล้วนมีสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยป้องกันมะเร็งได้ จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า อาหารมังสวิรัติมีความสัมพันธ์โดยรวมเกี่ยวกับการลดลงของมะเร็งทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก การศึกษา 7 ปี สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ใน 78,000 คนพบว่ากึ่งมังสวิรัติมีโอกาสน้อยลงร้อยะ 8 ที่จะได้รับมะเร็งชนิดนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ใช่มังสวิรัติ ดังนั้นการรวมอาหารมังสวิรัติแบบยืดหยุ่นอาจลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

    ข้อเสียของการรับประทานเนื้อสัตว์น้อยลง

    เมื่อมีการปรับรูปแบบของอาหารมังสวิรัติให้ความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยสามารถรับประทานเนื้อได้บางอาจทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีขึ้นเพราะจะได้สารอาหารที่มีในเนื้อสัตว์ด้วย แต่สำหรับบางคนอาจมีความเสี่ยงของการขาดสารอาหาร เมื่อพวกเขาลดการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์อื่นๆ ดังนั้นสำหรับ มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น ต้องพึงระวังเกี่ยวกับการขาดสารอาหารที่เป็นไปได้ คือ

    • วิตามินบี 12
    • สังกะสี
    • เหล็ก
    • แคลเซียม
    • กรดไขมันโอเมก้า 3

    ซึ่งวิตามินบี 12 พบได้ในผลิตภัณฑ์จากสัตว์เท่านั้น อาจแนะนำให้ใช้อาหารเสริม B12 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนและปริมาณของผลิตภัณฑ์สัตว์ที่รับประทาน และอาจทำให้แร่ธาตุสังกะสีและเหล็กลดลง เนื่องจากแร่ธาตุเหล่านี้ดูดซึมได้ดีที่สุดจากอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ ดังนั้นใครที่ต้องการจะรับประทานมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น ควรวางแผนการรับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด เพื่อที่ร่างกายจะได้ไม่ขาดสารอาหารใดสารอาหารหนึ่ง โดยอาจจะรับประทานถั่วและเมล็ดพืช เพราะส่วนใหญ่ธัญพืชและพืชตระกูลถั่วมีทั้งเหล็กและสังกะสี 

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา