backup og meta

คนอ้วน กับการดูแลสุขภาพตนเอง

คนอ้วน กับการดูแลสุขภาพตนเอง

คนอ้วน หรือ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน อาจทำให้ร่างกายเกิดการสะสมของไขมันจนอาจนำไปสู่โรคอ้วน รวมถึงอาจเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ดังนั้น การวัดค่าดัชนีมวลกาย การดูแลตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมถึงการปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างสุขภาพร่างกายได้อย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ

[embed-health-tool-bmi]

เกณฑ์มาตรฐานในการประเมินดัชนีมวลกาย

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นเทคนิคการวัดความเชื่อมโยงของน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อนำมาเปรียบเทียบว่า ตนเองจัดอยู่ในเกณฑ์ร่างกายขาดสารอาหาร หรืออ้วนจนเกินไปหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างสุขภาพร่างกายได้อย่างเหมาะสม โดยค่าดัชนีมวลกายนี้สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ จากการนำ น้ำหนัก (กก.) ÷ ความสูง (เมตร) 2  แล้วจึงจะได้ผลลัพธ์ และนำไปตรวจตามเกณฑ์ด้านล่างนี้

ยกตัวอย่าง เช่น 70 ÷ (1.60) 2 = 27.34 (น้ำหนักเกินมาตรฐาน)

  • ค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 อาจอยู่ในช่วง น้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน
  • ค่าดัชนีมวลกาย 5-24.9 อาจอยู่ในช่วง น้ำหนักปกติดีต่อสุขภาพ
  • ค่าดัชนีมวลกาย 0-29.9 อาจอยู่ในช่วง น้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • ค่าดัชนีมวลกาย 00 ขึ้นไป อาจอยู่จัดอยู่ในเกณฑ์ อ้วนที่จำเป็นต้องวางแผนลดน้ำหนัก

ภาวะสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในคนอ้วน

แน่นอนว่า เมื่อน้ำหนักและปริมาณไขมันเพิ่มขึ้นโดยไม่มีการเผาผลาญออก ก็สามารถส่งผลให้มีการกระจายตัวของไขมันไปเกาะติดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งยังสามารถเพิ่มการอักเสบให้แก่ระบบการทำงานของภายใน จนสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคเรื้อรัง หรืออาการที่มีความรุนแรงขึ้นได้ทั้ง 10 ปัญหา ดังนี้

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โรคหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดในสมอง
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ระดับความดันโลหิตสูง
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับถุงน้ำดี
  • โรคมะเร็งบางชนิด
  • โรคซึมเศร้า
  • โรคไตเรื้อรัง
  • โรคข้อเข่า และข้อต่อเสื่อม

หากไม่อยากเป็นโรครุนแรงข้างต้น ควรเริ่มหันมาดูสุขภาพของตนเองเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะตกอยู่ในภาวะอ้วนมากจนมีโรคอื่น ๆ ตามมา จนอาจส่งผลให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด

วิธีดูแลสุขภาพก่อนอ้วนมาก

หากเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโรคอ้วน ควรเริ่มวางแผนการลดน้ำหนักอย่างน้อย 5% ของน้ำหนักตัว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่ในแต่ละมื้อจำเป็นต้องประกอบด้วยไฟเบอร์หรือผักให้มากกว่าคาร์โบไฮเดรต รวมถึงปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร โดยอาจลองเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของธัญพืชเป็นหลัก เช่น ขนมปัง ข้าวโอ๊ต เป็นต้น

นอกจากนั้น การงดหรือจำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลจำพวก โซดา น้ำผลไม้สังเคราะห์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็เป็นอีกสิ่งที่ควรทำ นอกจากนั้น ควรออกกำลังกาย 30 นาที/วันควบคู่ไปด้วย เพื่อกระตุ้นระบบเผาผลาญให้มีการทำงานที่ดีขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

BMI healthy weight calculator https://www.nhs.uk/live-well/healthy-weight/bmi-calculator/ Accessed April 20, 2021

Assessing Your Weight https://www.cdc.gov/healthyweight/assessing/index.html Accessed April 20, 2021

Weight Problems Take a Hefty Toll on Body and Mind https://www.hsph.harvard.edu/obesity-prevention-source/obesity-consequences/health-effects/ Accessed April 20, 2021

Health risks of obesity https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000348.htm Accessed April 20, 2021

Arnold M, et al. (2014). Global burden of cancer attributable to high body-mass index in 2012: a population-based study. DOI: 10.1016/S1470-2045(14)71123-4. Accessed May 07, 2021

Eating, diet, & nutrition for gallstones. (2017). niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/gallstones/eating-diet-nutrition. Accessed May 07, 2021

Effects of obesity. (n.d.). stanfordhealthcare.org/medical-conditions/healthy-living/obesity.html. Accessed May 07, 2021

Health risks of being overweight. (2015). niddk.nih.gov/health-information/weight-management/health-risks-overweight. Accessed May 07, 2021

Health risks of overweight & obesity. (2018). niddk.nih.gov/health-information/weight-management/adult-overweight-obesity/health-risks. Accessed May 07, 2021

LifeCycle Project-Maternal Obesity and Childhood Outcomes Study Group. (2019). Association of gestational weight gain with adverse maternal and infant outcomes. DOI: 10.1001/jama.2019.3820. Accessed May 07, 2021

Mayo Clinic Staff. (2015). Obesity.  mayoclinic.org/diseases-conditions/obesity/symptoms-causes/syc-20375742. Accessed May 07, 2021

Obesity and cancer. (2017). cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/obesity/obesity-fact-sheet. Accessed May 07, 2021

Obesity and pregnancy. (2016). acog.org/Patients/FAQs/Obesity-and-Pregnancy?IsMobileSet=false. Accessed May 07, 2021

Strazzullo P, et al. (2010). Excess body weight and incidence of stroke: Meta-analysis of prospective studies with 2 million participants. DOI: 10.1161/STROKEAHA.109.576967. Accessed May 07, 2021

Tyrrell J, et al. (2018). Using genetics to understand the causal influence of higher BMI on depression. DOI: 10.1093/ije/dyy223. Accessed May 07, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/11/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคอ้วน กับ โรคหัวใจ ความเชื่อมโยงที่ไม่ควรละเลย

ไขมันส่วนเกิน ไม่ใช่แค่ทำให้อ้วน แต่ยังเป็นสาเหตุของมะเร็งร้ายอีกด้วย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/11/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา