สาเหตุ
สาเหตุของโรคอ้วน
โรคอ้วนอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น
- กรรมพันธุ์
- รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง เช่น อาหารจานด่วน
- ความเครียด ความวิตกกังวล
- ระบบการเผาผลาญในร่างกายไม่ดี
- พฤติกรรม เช่น นั่งอยู่กับที่นานเกินไป ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วน
โรคอ้วนอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้
- กรรมพันธุ์ ยีนบางอย่างที่ส่งต่อรุ่นต่อรุ่น อาจทำให้ลดน้ำหนักได้ยาก รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารของแต่ละครอบครัว
- พันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการเพรเดอร์-วิลลี (Prader-Willi Syndrome) เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 15 อาจส่งผลทำให้อาจรู้สึกหิวตลอดเวลา
- อายุ เมื่ออายุที่เพิ่มขึ้น มวลกล้ามเนื้อในร่างกายอาจลดลงและอาจส่งผลให้การเผาผลาญลดลงตามด้วย
- พฤติกรรมการรับประทานอาหาร พวกของมัน ของทอด อาหารจานด่วน รวมถึงเครื่องดื่ม น้ำอัดลม น้ำหวาน
- พฤติกรรมการนั่งอยู่กับที่เป็นระยะเวลานาน เช่น นั่งดูหนัง นั่งเล่นเกม
- พฤติกรรมการนอน นอนหลับมากเกินไปหรือนอนหลับน้อยเกินไป อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้เพิ่มความอยากอาหารและส่งผลทำให้อ้วน
- ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้มีปริมาณไขมันสะสมในร่างกายมาก
- รับประทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคเบาหวาน ยากล่อมประสาท ยารักษาโรคจิตเภท
- ภาวะปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ไฮโปไทรอยด์ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย โรคข้ออักเสบ โรคคุชชิง (Cushing’s syndrome) ร่างกายมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนความเครียดสูง ส่งผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และเกิดโรคอ้วนได้
- ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล
- ตั้งครรภ์ ระหว่างการตั้งครรภ์ น้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากการรับประทานอาหารที่เพิ่มขึ้น และหลังคลอดอาจลดน้ำหนักได้ยาก ส่งผลให้อาจพัฒนากลายเป็นโรคอ้วนในผู้หญิงได้
- เลิกบุหรี่ เนื่องจากในบุหรี่มีสารนิโคตินที่อาจส่งผลต่อระบบการเผาผลาญในร่างกาย ทำให้รู้สึกไม่ค่อยอยากอาหาร แต่เมื่อเลิกบุหรี่อาจทำให้ระบบเผาผลาญกลับมาทำงานปกติ ร่างกายกระตุ้นความอยากอาหาร อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การเลิกบุหรี่นั้นอาจส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว
การวินิจฉัยและการรักษา
การวินิจฉัยและการรักษาโรคอ้วน
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคอ้วน
คุณหมออาจวินิจฉัยโรคอ้วนดังนี้
- สอบถามประวัติ เช่น พฤติกรรมการรับประทาน การใช้ชีวิตประจำวัน
- หาค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
- วัดไขมันในร่างกาย เช่น วัดรอบเอว วัดความหนาของชั้นไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง
- ตรวจคัดกรอง เช่น อัลตราซาวด์ CT Scan MRI
นอกจากนี้ คุณหมออาจทำการทดสอบบางอย่าง เพื่อนำไปวินิจฉัยความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน เช่น
- การตรวจเลือด เพื่อวัดระดับคอเลสเตอรอล และระดับน้ำตาลในเลือด
- การตรวจหัวใจ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG หรือ EKG) เพื่อดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติหรือไม่
- การตรวจต่อมไทรอยด์
- การตรวจคัดกรองเบาหวาน
- การทดสอบการทำงานของตับ
การรักษาโรคอ้วน
การรักษาโรคอ้วนอาจทำได้ดังนี้
- ควบคุมอาหาร โดยอาจมีนักโภชนาการอาหารที่ช่วยกำหนดอาหารที่ควรรับประทานในแต่ละวัน
- เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาหาร โดยการคำนวณแคลอรี่การรับประทานอาหารในแต่ละวัน โดยทั่วไปผู้หญิงต้องการพลังงานประมาณ 1,200-1,500 แคลอรี่/วัน ผู้ชาย 1,500-1,800 แคลอรี่/วัน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแปรรูป ขนมขบเคี้ยว ลูกอม รวมถึงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต และไขมันสูง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยออกกำลังกายในระดับปานกลางหรือออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างน้อย 30 นาที/วัน
- ใช้ยาลดน้ำหนัก อย่างไรก็ตาม ยาลดน้ำหนักอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาวได้ หากหยุดรับประทานยาลดน้ำหนัก น้ำหนักที่ลดไปอาจจะกลับมามากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการรักษานี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอ
- ผ่าตัดกระเพาะอาหาร หากไม่สามารถลดด้วยวิธีการคุมอาหารหรือออกกำลังกายได้ อาจผ่าตัดกระเพาะอาหารให้แคบลง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและรับประทานอาหารได้น้อยลง
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การปรับไลฟ์สไตล์บางอย่างและการดูแลตัวเองอาจช่วยป้องกันไม่ให้อ้วน เช่น
- หาแรงบันดาลใจในการลดความอ้วน
- ตั้งเป้าหมายในการลดน้ำหนัก กำหนดเป้าหมายรายวันหรือรายสัปดาห์ในการออกกำลังกายและการลดน้ำหนัก
- ควบคุมอาหาร และรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ รวมถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มจำพวกน้ำอัดลม น้ำหวาน
- ออกกำลังกายระดับปานกลางอย่างน้อย 30 นาที/วัน เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ
- พักผ่อนให้เพียงพอ และพยายามไม่เครียด เพราะหากนอนน้อยและเครียด อาจส่งผลให้รู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย