backup og meta

ไขข้อสงสัย หาก น้ำหนักเกินมาตรฐาน แปลว่าคุณอ้วนจริงหรือ?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/06/2021

    ไขข้อสงสัย หาก น้ำหนักเกินมาตรฐาน แปลว่าคุณอ้วนจริงหรือ?

    ทุกคนเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมบางคนที่มีรูปร่างผอมเพรียว หุ่นดี แต่กลับมี น้ำหนักเกินมาตรฐาน กว่าคนที่มีรูปร่างอวบอ้วน เรื่องนี้ถือเป็นความกังวลใจของสาว ๆ หลายคนที่รักสุขภาพอย่างหนัก เพราะกลัวว่าตนเองจะมีโรคร้ายแรงแทรกซ้อน วันนี้ Hello คุณหมอขอพาทุกคนมาคลายข้อสงสัยเหล่านี้กัน

    น้ำหนักเกินมาตรฐาน มีสาเหตุมาจากใดบ้าง

    มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้คุณมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่คุณทำลงไปโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้น้ำหนักพุ่งเกินมาตรฐาน และเป็นบ่อเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

    1. การรับประทานอาหารที่เพิ่มการสะสมของแคลอรี่

    หากคุณมีการเผาผลาญแคลอรี่ที่สมดุลกันก็อาจจะทำให้รักษาน้ำหนักของคุณไว้คงที่ได้ แต่หากรับประทานอาหารที่มีจำนวนแคลอรี่เยอะและไม่มีการเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน ก็จะทำให้กลายเป็นไขมันสะสมกระจายไปทั่วตามร่างกายก่อให้เกิดโรคอ้วนตามมา

  • พันธุกรรม
  • คุณอาจได้รับยีนที่ส่งต่อมากจากทางครอบครัวที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะเปลี่ยนรูปร่างของตนเองให้ดูดีขึ้นไม่ได้ เพียงแต่ต้องใช้เวลาและปรับเรื่องของอาหาร การออกกำลังกายอย่างถูกต้องควบคู่ไปด้วย

    1. ภาวะด้านสุขภาพ

    เกิดจากฮอร์โมนในร่างกายที่ชื่อว่า “เลปติน (Leptin)” ซึ่งฮอร์โมนนี้เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่ในการรักษาระดับไขมันในร่างกาย และควบคุมความรู้สึกหิว แต่เมื่อฮอร์โมนเกิดความบกพร่อง จึงกลับกลายเป็นความอยากอาหารเพิ่มแทน และก่อให้เกิดโรคอ้วนขึ้นได้

    1. ขาดการออกกำลังกาย

    ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็น การทำงาน เรียนหนังสือ หรือธุระส่วนตัวต่าง ๆ ส่งผลให้การแบ่งเวลาที่จะไปออกกำลังกายนั้นลดน้อยลง เพราะเมื่อคุณกลับมาจากภารกิจเหล่านี้ ก็คงทำให้คุณหิว และอ่อนเพลีย จนอยากจะแค่กินและนอน ซึ่งคุณควรจัดเวลาหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงโรคอ้วนที่ตามมาภายหลังได้ เช่น การทำงานบ้าน วิ่งในสวนสาธารณะที่ใกล้บ้าน เป็นต้น

    ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เพิ่มขึ้น บ่งบอกว่า คุณอ้วน จริงหรือ

    สำหรับผู้รักสุขภาพบางรายที่มีบุคลิก รูปร่างดี สุขภาพแข็งแรง แต่เมื่อวัดค่าดัชนีมวลกายดันพบว่า ตนเองมีน้ำหนักเกินมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงต่อโรคอ้วน คุณคลายความกังวลใจลงไปได้เลย ตัวเลขของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นอาจมาจากมวลกล้ามเนื้อ (Muscles) ของคุณที่ขยายใหญ่ ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการออกกำลังกายอย่างหนัก เนื่องจาก กล้ามเนื้อมีความหนาแน่นมาก และเข้าไปทดแทนส่วนของไขมันที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า สังเกตได้ง่าย ๆ เช่น นักเพาะกาย หรือนักกีฬา ที่มีค่าน้ำหนักดัชนีสูงเกิน 30.0 ขึ้นไป แต่กลับมีสุขภาพที่ดี ร่างกายสมบูรณ์ สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว

    หากคุณไม่แน่ใจว่า สุขภาพของคุณอยู่ในเกณฑ์ใด สามารถให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบด้วยเทคนิคทางการแพทย์ถึงค่าไขมันในร่างกายได้ เพื่อความแม่นยำ และรับคำแนะนำการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี

    ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) สามารถคำนวณได้จากความสูงและน้ำหนัก มักใช้ในสากลทั่วโลก เพื่อตรวจสอบถึงโรคอ้วน แต่ก็ไม่ได้แปลว่า การคำนวณประเภทนี้จะมีผลลัพธ์แม่นยำ 100% เพราะเป็นการคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูงเท่านั้น ซึ่งเกณฑ์การคำนวณมี ดังนี้

  • ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 5 : แสดงว่าน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐานควรได้รับการเพิ่มน้ำหนัก
  • ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 5-24.9 : แสดงว่าคุณมีน้ำหนักอยู่ในระดับที่ดี และสมดุล
  • ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ระหว่าง 25-29.9 : คุณอาจกำลังเข้าสู่ภาวะน้ำหนักเกิน ควรได้รับคำแนะนำการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี
  • ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 30 : น้ำหนักของคุณเกินอย่างมาก สามารถเข้ารับคำแนะนำ และปรึกษาแพทย์ หรือนักโภชนาการถึงวิธีการลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย
  • [health_tool_article id=”21529″]

    เคล็ดลับการลดไขมัน เพื่อสร้างกล้ามเนื้อที่ดี

    • รับประทานสารอาหารประเภทโปรตีน

    ในการศึกษาเวชศาสตร์การกีฬาและวารสารในอเมริกันตีพิมพ์ไว้ว่า ผู้ที่บริโภคอาหารที่แคลอรี่ต่ำ แต่โปรตีนสูง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ มีปริมาณไขมันในร่างกายลดลงถึง 10.56 ปอนด์ และได้มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น นักวิจัยได้แนะนำถึงการรับประทานอาหารทุกมื้ออย่างน้อยควรมีโปรตีน 25-30 กรัม โดยค่อย ๆ เพิ่มปริมาณโปรตีนขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายปรับได้ทัน

    • ลดน้ำหนักอย่างช้า ๆ และเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ

    การลดน้ำหนักที่ดีไม่ควรเร่งรีบจนเกินไป เพราะอาจทำให้ร่างกายและกล้ามเนื้อของคุณล้าได้ ควรทำตามขั้นตอนของเทรนเนอร์ หรือตามวิธีที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ในการขจัดไขมันส่วนเกิน ตามตารางการออกกำลังกาย

    • พักการทำงานกล้ามเนื้อ

    เมื่อคุณออกกำลังกายมาอย่างหนักไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ควรแบ่งเวลาให้กล้ามเนื้อนั้นได้พัก เพื่อการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ โดยการออกกำลังกายด้วยเทคนิคที่เบา เช่น การเดิน ปั่นจักรยาน ป้องกันไม่ให้เกิดความล้าสะสม ก่อนจะกลับไปคาร์ดิโอหนักอีกครั้ง ตามตารางออกกำลังกาย

    • พักผ่อนให้เพียงพอในแต่วัน

    การจัดเวลาเข้านอน เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยให้คุณเบิร์นไขมันออกไปได้ อย่างน้อยควรได้รับการพักผ่อน 7 ชั่วโมงขึ้นไป มีการศึกษาชิ้นหนึ่งในผู้หญิง 68,183 คน แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่นอนหลับได้ยากกว่าผู้ที่นอนเป็นเวลา มีแนวโน้มน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม เนื่องจาก ฮอร์โมนความหิวทำงาน จึงทำให้รับประทานอาหารช่วงกลางดึกบ่อยครั้งจนเป็นความเคยชิน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา