backup og meta

ไขมันส่วนเกิน ไม่ใช่แค่ทำให้อ้วน แต่ยังเป็นสาเหตุของมะเร็งร้ายอีกด้วย

ไขมันส่วนเกิน ไม่ใช่แค่ทำให้อ้วน แต่ยังเป็นสาเหตุของมะเร็งร้ายอีกด้วย

เราทุกคนต่างทราบว่า ภาวะน้ำหนักเกินส่งผลเสียต่อสุขภาพ เนื่องจากเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ นานัปการ อย่างไรก็ดี คนส่วนมากไม่ได้ตระหนักถึงความจริงที่ว่า ภาวะน้ำหนักเกินยังเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งได้ มีการพิสูจน์ว่า ไขมันกับมะเร็ง หลายชนิดมีความสัมพันธ์กัน และการมีไขมันส่วนเกิน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายนี้ได้

ลองศึกษาบทความนี้ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของมะเร็งที่สัมพันธ์กับไขมันในร่างกาย สาเหตุที่สัมพันธ์กัน และวิธีการหลีกเลี่ยงสถานการณ์เช่นนี้ เพื่อการป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเอง

ไขมันกับมะเร็ง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

การมีไขมันส่วนเกินในร่างกาย สามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานตามปกติของร่างกายได้ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ต่อไปนี้

เหตุผลประการแรก ก็คือ การสะสมตัวของไขมันมากกว่าที่ร่างกายต้องการ โดยไม่มีการเผาผลาญออกไป จะทำให้คุณเป็นโรคอ้วน ซึ่งส่งผลต่อระบบย่อยอาหารของคุณ เช่น ลำไส้ และกระเพาะอาหาร

ประการที่สอง เมื่อคุณเริ่มมีขนาดร่างกายใหญ่ขึ้น และรอบเอวใหญ่ขึ้น หมายความว่า ระดับคอเลสเตอรอล ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดของคุณจะเพิ่มสูงขึ้นไปตามน้ำหนักตัว คอเลสเตอรอลในเลือดเป็นส่วนหนึ่งของสุขภาพของหลอดเลือด ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงมีแนวโน้มที่จะทำให้หลอดเลือดแคบลงและอุดตัน ซึ่งขัดขวางการไหลของเลือดตามธรรมชาติและสามารถก่อให้เกิดโรคหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองได้

ประการสุดท้าย การมีไขมันส่วนเกินในร่างกาย ทำให้เกิดการทำหน้าที่ผิดปกติในปอด หัวใจ ถุงน้ำดี และตับ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทั้งหมดของคุณถูกทำลายลง และมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากขึ้น หลังจากเวลาผ่านไปเป็นเวลานาน มะเร็งจะแพร่กระจายจากอวัยวะหนึ่งไปทั่วร่างกาย

ชนิดของมะเร็งที่สัมพันธ์กับไขมันในร่างกาย

นักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ว่า ไขมันส่วนเกินในร่างกายมีความสัมพันธ์โดยตรงกับมะเร็งบางชนิด แต่อาจเป็นส่วนหนึ่งของมะเร็งบางชนิดเท่านั้น การมีไขมันในระบบร่างกายที่มากเกินไป มีความสัมพันธ์โดยตรงกับมะเร็งเต้านม ในผู้หญิงที่ผ่านวัยหมดประจำเดือนมาแล้ว มะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่มีผลมาจากไขมันส่วนเกิน ได้แก่ มะเร็งไต มะเร็งลำไส้และทวารหนัก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งเยื่อบุมดลูก สำหรับมะเร็งชนิดอื่น ๆ นักวิจัยจำนวนมากรายงานการเพิ่มขึ้นของมะเร็งตับ มะเร็งรังไข่ มะเร็งคอมดลูก มะเร็งถุงน้ำดี และมะเร็งต่อมลูกหมาก

ถึงแม้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไขมันร่างกายและมะเร็งจะมีความซับซ้อน และเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจได้อย่างถี่ถ้วน แต่หลักฐานก็แสดงให้เห็นถึงผลเสียของภาวะน้ำหนักเกิน ที่ไม่เพียงมีต่อการเกิดมะเร็งเท่านั้น แต่ยังมีต่อภาวะทางสุขภาพอื่น ๆ อีกด้วย

ลดน้ำหนัก ลดความเสี่ยง

เมื่อเอ่ยถึงไขมันในร่างกาย เรามักเชื่อมโยงถึง “สุขภาพที่ไม่ดี” อย่างไรก็ตาม ร่างกายของคุณเกือบจะไม่สามารถทำงานได้หากปราศจากไขมัน จากข้อมูลของ American Council of Exercise ปริมาณไขมันที่แนะนำสำหรับผู้ชาย คือ ร้อยละ 14-17 ของน้ำหนักร่างกายโดยรวม และร้อยละ 21-24 สำหรับผู้หญิง การรักษาระดับไขมันไว้ในช่วงดังกล่าว ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณเท่านั้น แต่ยังช่วยต้านโรคส่วนใหญ่ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ คนมักเข้าใจผิดคิดว่า ไขมันในร่างกายและน้ำหนักตัวนั้นมีความสัมพันธ์กัน ไขมันในร่างกายไม่สามารถวัดได้โดยการยืนบนตาชั่ง คน ๆ หนึ่งอาจดูผอม แต่มีไขมันในร่างกายมากก็ได้ ถ้ามีกล้ามเนื้อน้อย ผู้เชี่ยวชาญมักเรียกว่า “ผอมแต่มีพุง“

โชคไม่ดีที่มีงานวิจัยยังมีจำนวนจำกัดมากเกี่ยวกับว่า การลดน้ำหนักช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งได้อย่างไร แต่ก็มีข้อพิสูจน์จำนวนมากที่เผยว่า การลดน้ำหนักอาจช่วยลดฮอร์โมนที่เป็นพิษบางประการที่ก่อให้เกิดมะเร็ง การลดน้ำหนักมีผลดีในภาพรวม โดยช่วยลดความเสี่ยง และทำให้สุขภาพดีได้ในระยะยาว

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Does Body Weight Affect Cancer Risk? https://www.cancer.org/cancer/cancer-causes/diet-physical-activity/body-weight-and-cancer-risk/effects.html. Accessed May 12, 2017

Body Fat – How Does It Affect Health? https://www.healthstatus.com/health_blog/body-fat-calculator-2/body-fat-how-does-it-affect-health/. Accessed May 12, 2017

The Effects Of Excess Fat In Your Diet On Your Organs. http://www.livestrong.com/article/524595-the-effects-of-excess-fat-in-your-diet-on-your-organs/. Accessed May 12, 2017

Body Weight and Cancer Risk. https://www.cancer.net/navigating-cancer-care/prevention-and-healthy-living/body-weight-and-cancer-risk. Accessed June 29, 2021

How your weight affects your cancer risk. https://www.mdanderson.org/publications/focused-on-health/your-body-weight-and-cancer-risk.h17-1589046.html. Accessed June 29, 2021

Obesity and Cancer. https://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/obesity/obesity-fact-sheet. Accessed June 29, 2021

Does obesity cause cancer?. https://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/causes-of-cancer/obesity-weight-and-cancer/does-obesity-cause-cancer. Accessed June 29, 2021

Obesity and Cancer. https://www.cdc.gov/cancer/obesity/index.htm. Accessed June 29, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/06/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขมันกับคาร์โบไฮเดรต อะไรคือตัวการความอ้วนกันแน่

ไขมันดี (HDL) มีมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 29/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา