backup og meta

ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน สาเหตุ อาการ และการรักษา

ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน สาเหตุ อาการ และการรักษา

ติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือ Respiratory tract infections หรือ uriคือ เป็นการติดเชื้อที่โพรงจมูก (sinus) คอ ทางเดินหายใจ หรือปอด มักเกิดจากไวรัส หรือแบคทีเรีย ทั้งนี้ โรคหวัดนับเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ที่มีการแพร่กระจายมากที่สุด

[embed-health-tool-heart-rate]

คำจำกัดความ

ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน คืออะไร

ติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือ uriคือ การติดเชื้ออะไรก็ตามที่โพรงจมูก (sinus) คอ ทางเดินหายใจ หรือปอด มักเกิดจากไวรัส แต่ก็อาจเกิดจากแบคทีเรียได้

โดยทั่วไปผู้ทำงานด้านสุขภาพมักโรคนี้ออกเป็นสองแบบคือ

  • โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (Upper respiratory tract infections) ที่มีผลต่อจมูก โพรงจมูก และคอ
  • โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง (Lower respiratory tract infections) ที่มีผลต่อทางเดินหายใจและปอด

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

  • โรคหวัดทั่วไป
  • ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) เป็นการติดเชื้อของต่อมทอนซิลและเนื้อเยื่อบริเวณด้านหลังคอ
  • โพรงจมูกหรือไซนัสอักเสบ (Sinusitis) เป็นการติดเชื้อที่โพรงจมูก
  • กล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis) เป็นการติดเชื้อที่กล่องเสียง (larynx)
  • ไข้หวัดใหญ่ (Flu)

ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน พบได้บ่อยแค่ไหน

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเป็นเหตุผลที่พบได้มากที่สุด ในการทำให้ผู้ป่วยไปพบคุณหมอ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนสามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ แต่มักพบได้มากที่สุดในฤดูฝนและฤดูหนาว โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนมีอะไรบ้าง

อาการของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • คัดจมูก
  • น้ำมูกไหล
  • มีน้ำมูก (อาจเปลี่ยนจากสีใสเป็นสีขาวและเป็นสีเขียว)
  • หายใจทางปาก
  • จาม
  • คอเจ็บหรือเป็นแผล
  • รู้สึกเจ็บคอเมื่อกลืน
  • ไอ (กล่องเสียงบวม และมีเสมหะไหลลงคอ)
  • มีอาการไม่สบายตัว
  • มีอาการไข้ (พบมากในเด็ก)

อาการอื่น ๆ ที่พบได้น้อยกว่า ได้แก่

  • ลมหายใจมีกลิ่น
  • ความสามารถในการดมกลิ่นลดลง
  • ปวดศีรษะ
  • หายใจลำบาก
  • ปวดโพรงจมูก
  • เยื่อบุตาอักเสบ
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ปวดตามร่างกาย

อาการของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนมักคงอยู่ 3-14 วัน หากอาการคงอยู่นานเกินกว่า 14 วัน อาจต้องพิจารณาถึงอาการอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ไซนัสอักเสบ ภูมิแพ้ ปอดบวม หรือหลอดลมอักเสบ

หากอาการแย่ลงหลังหายจากอาการอย่างเช่น ไอ น้ำมูกไหล หรือเยื่อบุตาอักเสบแล้ว อาจต้องพิจาณาถึงโรคคอหอยอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (คออักเสบเนื่องจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส กลุ่มเอ) การตรวจรักษาอย่างทันท่วงที และการเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากอาจมีความเสี่ยงของไข้รูมาติกได้ โดยเฉพาะในเด็ก

ฝากล่องเสียงอักเสบ (Epiglottitis) เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในเด็กอีกชนิดหนึ่ง ที่อาจมีอาการฉับพลัน เช่น เจ็บคอ รู้สึกเหมือนมีก้อนในคอ เสียงพูดคล้ายอมวัตถุอยู่ในลําคอ ไอแห้ง  มีอาการกลืนลำบากมาก และน้ำลายไหล

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่เกิดในบริเวณช่วงล่างของทางเดินหายใจส่วนบน เช่น กล่องเสียงและท่อลมอักเสบ (laryngotracheitis) มักวินิจฉัยได้ด้วยอาการไอแบบแห้งๆ และเสียงแหบ หรือเสียงหาย อาการไอเสียงก้องหรือไอกรน (whooping cough) อาการขย้อน และอาการเจ็บซี่โครง (จากการไอที่รุนแรง)

อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาคุณหมอ

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเกิดจากอะไร

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โดยทั่วไปเกิดจากการแพร่กระจายโดยตรงของไวรัสและแบคทีเรียในบริเวณเยื่อเมือก (mucosa or mucus membrane) ของทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งการที่เชื้อโรค (ไวรัสและแบคทีเรีย) แพร่กระจายไปยังบริเวณเยื่อเมือกของทางเดินหายใจส่วนบน จะต้องเจอการต้านทานจากกลไกการปกป้องทางร่างกายและภูมิคุ้มกันหลายประการ

ขนจมูก ทำหน้าที่เป็นกลไกการปกป้องทางร่างกาย และสามารถดักจับเชื้อโรคได้ นอกจากนี้ เมือกชื้นภายในช่องจมูก สามารถดักจับไวรัสและแบคทีเรียที่เข้ามายังทางเดินหายใจส่วนบน นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างคล้ายขนขนาดเล็ก (cilia) ที่อยู่ตามแนวหลอดลม ซึ่งทำหน้าที่ดันสิ่งแปลกปลอมขึ้นด้านบนไปยังคอหอย เพื่อให้ถูกกลืนเข้าไปในทางเดินอาหารและกระเพาะอาหาร

นอกเหนือจากกลไกการป้องกันทางร่างกายที่หนาแน่นในทางเดินหายใจส่วนบนแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันยังทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ที่เข้ามายังทางเดินหายใจส่วนบน ต่อมอะดีนอยด์ (Adenoids) และทอนซิล (tonsils) ที่อยู่ในบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยต้านทานการติดเชื้อ จากการทำหน้าที่ของเซลล์เฉพาะ สารภูมิต้านทาน และสารเคมีภายในต่อมน้ำเหลือง จุลินทรีย์ที่แพร่กระจายถูกดักจับภายในสิ่งเหล่านี้ และถูกทำลายลงในที่สุด

ถึงแม้ว่าจะมีกระบวนการในการป้องกัน แต่ไวรัสและแบคทีเรียที่แพร่เข้ามาอาจปรับกลไกต่างๆ เพื่อต้านการทำลายได้ บางครั้งสามารถผลิตสารพิษ เพื่อทำให้ระบบป้องกันร่างกายบกพร่อง หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างตัวเอง หรือโปรตีนเชิงโครงสร้างภายนอก เพื่อพรางตัวจากการถูกตรวจจับได้โดยระบบภูมิคุ้มกัน แบคทีเรียบางชนิดสามารถสร้างสารช่วยยึดติด ที่ทำให้แบคทีเรียสามารถติดกับเยื่อเมือก และช่วยพรางการทำงานได้

เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกันที่ต้องระบุว่า เชื้อโรคมีความสามารถหลากหลายในการเอาชนะระบบป้องกันร่างกาย และทำให้เกิดภาวะติดเชื้อ

นอกจากนี้ เชื้อโรคใช้เวลาแตกต่างกันในการก่อตัว นับจากการแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายไปจนถึงเมื่อเกิดอาการขึ้น (ระยะฟักตัว) เชื้อโรคทั่วไปบางประเภทสำหรับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและระยะฟักตัวของโรคมีดังนี้

  • ไรโนไวรัส (Rhinoviruses) ระยะฟักตัว 1-5 วัน
  • สเตร็ปโตค็อกคัส กลุ่มเอ ระยะฟักตัว 1-5 วัน
  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และไวรัสพาราอินฟลูเอนซ่า (parainfluenza) ระยะฟักตัว 1-4 วัน
  • ไวรัส RSV (Respiratory syncytial virus) ระยะฟักตัว 7 วัน
  • ไอกรน ระยะฟักตัว 7-21 วัน
  • โรคคอตีบ ระยะฟักตัว 1-10 วัน
  • ไวรัส EBV(Epstein-Barr virus) ระยะฟักตัว 4-6 สัปดาห์

ปัจจัยเสี่ยง

อะไรที่เพิ่มความเสี่ยงสำหรับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

มีปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนหลายประการ เช่น

  • การสัมผัสร่างกายหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
  • ล้างมือไม่สะอาดหลังจากสัมผัสกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
  • สัมผัสใกล้ชิดกับเด็กที่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ โรงเรียน หรือศูนย์รับเลี้ยงเด็ก
  • สัมผัสกับผู้อื่นในกลุ่มปิด เช่น การท่องเที่ยว กรุ๊ปทัวร์ เรือสำราญ
  • การสูบบุหรี่หรือการสูดควันบุหรี่มือสอง ทำให้การทำงานของเยื่อเมือกบกพร่องและทำลายขนขนาดเล็กในหลอดลม (cilia)
  • สิ่งอำนวยความสะดวกในการดูแลสุขภาพ โรงพยาบาล สถานพยาบาล
  • ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ (Immunocompromised state) เช่น ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี การปลูกถ่ายอวัยวะ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด (congenital immune defects) การใช้สารสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • ความผิดปกติทางกายวิภาค (Anatomical abnormalities) เช่น การบาดเจ็บที่ใบหน้า (facial truama) การบาดเจ็บบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน (upper airway trauma) และริดสีดวงจมูก (nasal polyps)

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอไม่มีเจตนาให้ใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

วินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ได้อย่างไร

ในการประเมินผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน จำเป็นต้องใช้การวินิจฉัยทางเลือกอื่นๆ การวินิจฉัยโดยทั่วไปและที่สำคัญบางประการที่มีอาการคล้ายโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่

  • โรคหอบหืด
  • โรคปอดบวม
  • ไข้หวัด H1n1 (สุกร)
  • อาการไข้
  • อาการแพ้
  • อาการภูมิแพ้ตามฤดูกาล
  • โรคโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง
  • การติดเชื้อเอชไอวีฉับพลัน
  • หลอดลมอักเสบ

การวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนมักยึดตามการตรวจอาการ การตรวจร่างกาย และในบางโอกาสยึดตามการตรวจในห้องปฏิบัติการ

ในการตรวจร่างกายของผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน แพทย์อาจตรวจหาอาการบวมหรือรอยแดงภายในโพรงจมูก (อาการอักเสบ) รอยแดงในลำคอ ต่อมทอนซิลขยายตัว มีสารสีขาวจากต่อมทอนซิล (exudates) ต่อมน้ำเหลืองโตรอบศีรษะและลำคอ ตาแดง และอาการกดเจ็บบริเวณใบหน้า อาการอื่นๆ ได้แก่ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ไอ เสียงแหบ และเป็นไข้

การตรวจในห้องปฏิบัติการมักไม่แนะนำสำหรับการวินิจฉัยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เนื่องจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส การตรวจเฉพาะจึงไม่จำเป็น เนื่องจากโดยปกติแล้วจะไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจากไวรัสในประเภทต่าง ๆ

สถานการณ์สำคัญที่การทดสอบเฉพาะมีความจำเป็น ได้แก่

  • อาการคออักเสบที่น่าสงสัย (มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตที่ลำคอ ต่อมทอนซิลมีรอยสีขาว ไม่มีอาการไอ) ซึ่งจำเป็นต้องตรวจแอนจิเจนโดยเร็ว เพื่อรับมือกับอาการ ซึ่งอาจมีผลอย่างรุนแรงหากไม่รักษา
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย ตรวจโดยการเพาะเชื้อแบคทีเรียที่ป้ายจากจมูก ลำคอ หรือเสมหะ
  • อาการเรื้อรัง เนื่องจากการตรวจหาไวรัสจำเพาะสามารถช่วยให้ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่จำเป็น (เช่น การตรวจไวรัสไข้หวัดใหญ่อย่างรวดเร็วจากการป้ายจมูกหรือช่องคอ)
  • การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้และหอบหืดซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการเรื้อรังและผิดปกติ
  • ต่อมน้ำเหลืองโตและเจ็บคอ ที่เป็นอาการพื้นฐานที่อาจเกิดจากไวรัส Ebstein-Barr (mononucleosis) ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลารักษานานขึ้น (ด้วยวิธี monospot test)
  • การตรวจหาโรคไข้หวัด H1N1 (ไข้หวัดหมู) หากสงสัยว่าจะเป็นโรค

การตรวจการทำงานของเลือดและการตรวจโดยใช้ภาพถ่าย อาจไม่จำเป็นในการประเมินโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน การตรวจเอ็กซเรย์ที่ลำคอสามารถทำได้ หากสงสัยว่ามีภาวะฝากล่องเสียงอักเสบ (epiglottitis) ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะฝากล่องเสียงบวมแต่การเกิดของภาวะดังกล่าวมีผลต่ออาการ การตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (CT scans) สามารถใช้ได้หากมีอาการโพรงจมูกอักเสบเกินกว่า 4 สัปดาห์ และสัมพันธ์กับการมองเห็นที่เปลี่ยนไป มีน้ำมูกไหลมาก หรือมีอาการตาโปน การตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถระบุขอบเขตของการอักเสบที่โพรงจมูก การเกิดโพรงหนอง หรือการกระจายตัวของเชื้อไปยังบริเวณใกล้เคียง (เบ้าตาหรือสมอง)

วิธีรักษา ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

ตามที่ได้อธิบายข้างต้น ผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนส่วนใหญ่ได้รับเชื้อไวรัส จึงไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาเฉพาะ และต้องดูแลสุขภาพของตนเอง ผู้ป่วยมักวินิจฉัยอาการของตนเอง และรักษาอาการที่บ้านโดยไม่ไปพบแพทย์หรือใช้ยาที่ต้องให้แพทย์สั่ง

การพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน กิจกรรมปกติ เช่น การทำงานหรือการออกกำลังกายเบา ๆ สามารถทำได้เท่าที่ร่างกายสามารถทำได้

การดื่มน้ำให้มากขึ้นเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำในร่างกายจากน้ำมูกไหล อาการไข้ และภาวะความอยากอาหารน้อยที่สัมพันธ์กับโรคนี้

การรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน มักจะต้องทำต่อเนื่องจนกว่าอาการจะหายไป

ยาสำหรับรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หรือโรคหวัดบางชนิด ที่ใช้มากที่สุดในการรักษา ได้แก่

  • ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) อย่างเช่นไทลีนอล (Tylenol) ใช้ลดอาการไข้และปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal antiinflammatory drug) เช่น ยาไอบูโพรเฟน อย่างมอร์ทริน (Motrin) หรือแอดวิล (Advil) ใช้ลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายและอาการไข้
  • ยาแก้แพ้ (Antihistamines) เช่น ยาไดเฟนไฮเดรมีน (diphenhydramine) อย่างเบนาดริล (Benadryl) ใช้เพื่อลดน้ำมูกและอาการคัดจมูก
  • ยาไอปราโทรเปียม (Nasal ipratropium) ยาเฉพาะที่ใช้ลดน้ำมูก
  • ยาแก้ไอ (antitussives) ใช้ลดอาการไอ ยาแก้ไอจำนวนมากที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ ยาเดกซ์โทรเมโทรเฟน (dextromethorphan) ยาไกวเฟนิซิน (guaifenesin) อย่างโรบิทุสซิน (Robitussin) และยาโคเดอีน (codeine) ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยรักษาอาการไอสำหรับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
  • น้ำผึ้งช่วยลดอาการไอ
  • ยาสเตียรอยด์บางตัว เช่น ยาเดกซาเมทาโซน (dexamethasone) (ยา Decadron) และยาเพรดนิโซน (prednisone) ที่ใช้รับประทาน (และสูดดม) ในบางครั้งใช้ลดอาการอักเสบของทางเดินหายใจ และลดอาการบวมและคัดจมูก
  • ยาลดอาการคัดจมูก (Decongestants) เช่น ยาซูโดเอฟีดรีน (pseudoephedrine) อย่างซูดาเฟด (Sudafed) แอคติเฟด ที่ใช้รับประทาน และยาฟีนิลเอฟรีน (phenylephrine) อย่างนีโอ-ไซนิฟริน (Neo-synephrine nasal) ใช้ลดอาการคัดจมูก (โดยปกติไม่แนะนำให้ใช้ยากับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และผู้ที่มีความดันโลหิตสูง)
  • ยาน้ำพ่นจมูกออกซีเมทาโซลีน (Oxymetazoline) อย่าง อะฟริน (Afrin) เป็นยาลดอาการคัดจมูก แต่ควรใช้ในระยะสั้นเท่านั้น

ยาหลายชนิดที่มีส่วนผสมของส่วนผสมเหล่านี้ สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา

ยาแก้ไอและยาแก้หวัดบางตัวอาจก่อให้เกิดอาการง่วงซึมเป็นอย่างมาก และต้องใช้อย่างระมัดระวังในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี และในผู้สูงอายุ

ในบางครั้งอาจใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนได้ หากสงสัยหรือวินิจฉัยว่าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย อาการดังกล่าว ได้แก่ คออักเสบ โพรงจมูกอักเสบจากแบคทีเรีย หรือกล่องเสียงอักเสบ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัสกับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ แพทย์ที่ทำการรักษาสามารถระบุได้ว่า ยาปฏิชีวนะตัวใดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาโรคติดเชื้อเฉพาะ

เนื่องจากยาปฏิชีวนะสัมพันธ์กับอาการข้างเคียงหลายประการ และอาจกระตุ้นการต่อต้านแบคทีเรียและการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) จึงจำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวัง และอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ที่ทำการรักษาเท่านั้น

ยาเอฟิเนฟรีน (epinephrine) แบบสูดดม บางครั้งใช้ในเด็กที่มีอาการทางเดินหายใจหดเกร็งอย่างรุนแรง (bronchospasm) และใช้รักษาอาการกล่องเสียงและหลอดคออักเสบ (croup) เพื่อลดอาการดังกล่าว

การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการโพรงจมูกติดเชื้อที่ซับซ้อน อาการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจที่มีอาการหายใจลำบากร่วมด้วย มีโพรงหนองด้านหลังลำคอ หรือมีฝีรอบต่อมทอนซิล (peritonsillar abscess)

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยรับมือกับ ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

อาการที่ชื้นและอบอุ่นจะช่วยบรรเทาความแห้งของช่องปากและช่องจมูกที่มีการติดเชื้อได้ ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น น้ำมูกน้อยลง และขับน้ำมูกออกได้ง่ายขึ้น วิธีการดูแลร่างกายอย่างง่าย ๆ มีดังนี้

  • เปิดฝักบัวอาบน้ำโดยใช้น้ำร้อน (ระวังน้ำร้อนลวก) และสูดอากาศที่มีไอน้ำร้อนดังกล่าว
  • ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ (ชาร้อน ช็อคโกแลตร้อน นมอุ่น)
  • ใช้เครื่องทำไอน้ำเพื่อทำความชื้นในห้อง
  • หลีกเลี่ยงอากาศแห้งและเย็น หากเป็นไปได้
  • น้ำเกลือล้างจมูก (Nasal saline) สามารถช่วยรักษาอาการคัดจมูกได้ อาจซื้อแบบสำเร็จรูปจากร้านขายยยา หรือทำเองที่บ้านแบบง่าย ๆ ก็ได้ วิธีการก็คือ ให้เติมเกลือปริมาณหนึ่งในสี่ช้อนชาลงในน้ำที่มีอุณหภูมิห้องในปริมาณ 8 ออนซ์ แล้วคนให้ละลาย ใช้หลอดฉีดหรือขวดสเปรย์ขนาดเล็ก สำหรับฉีดสารละลายเกลือเข้าไปในรูจมูกทีละข้าง พร้อมกับหายใจเข้าอย่างช้า ๆ แล้วหายใจออกเพื่อขับเอาน้ำเกลือออกมาพร้อมกับน้ำมูก ใช้ได้หลายครั้งต่อวันตามที่ต้องการ
  • การประคบร้อน (ใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าอื่นที่ทำให้ร้อน) ที่บริเวณใบหน้า สามารถใช้รักษาอาการคัดจมูกได้เช่นกัน สามารถทำซ้ำได้ทุกสองถึงสามชั่วโมงตามที่ต้องการเพื่อบรรเทาอาการ
  • น้ำยากลั้วคอและการอมน้ำเกลือ ช่วยลดอาการระคายเคืองในลำคอและอาการคอแห้ง พร้อมทั้งบรรเทาอาการเกี่ยวกับคอได้
  • อาการไอสามารถบรรเทาได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น เช่น อากาศเย็น ควันบุหรี่ ฝุ่น และสารมลพิษ การนอนในท่าเอนๆ อาจช่วยรักษาอาการไอได้เช่นกัน มีการศึกษาระบุว่า น้ำผึ้งสามารถช่วยลดอาการไอในเด็กที่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนได้มากกว่าการใช้ยาเดกซ์โทรเมโทรเฟน (dextromethorphan)
  • การดื่มน้ำ น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของคาเฟอีน สามารถช่วยลดน้ำมูกและทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Upper Respiratory Tract Infection. https://www.medicinenet.com/upper_respiratory_infection/article.htm. Accessed January 31, 2023.

Respiratory tract infections. https://www.nhs.uk/conditions/respiratory-tract-infection/#upper-respiratory-tract-infections. Accessed January 31, 2023.

Infectious Diseases. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17724-infectious-diseases. Accessed January 31, 2023.

How to Avoid Infectious Diseases. https://www.webmd.com/cold-and-flu/ss/slideshow-avoid-infectious-diseases. Accessed January 31, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/09/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปอดติดเชื้อ เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาและป้องกันอย่างไร

โรคติดเชื้อในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่พึงระวัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/09/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา