การติดเชื้ออีโคไล (E. coli) สามารถเกิดจากการดื่มน้ำ หรือกินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดอาการท้องเสียเล็กน้อยถึงรุนแรง
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
แบคทีเรียเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) หรืออีโคไล (E. coli) พบได้ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์ โดยปกติแล้ว แบคทีเรียอีโคไลส่วนใหญ่จะทำให้เกิดอาการท้องเสียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก็มีเชื้อแบคทีเรียอีโคไลบางสายพันธุ์ เช่น อีโคไล ซีโรไทป์ O157:H7 ซึ่งพบว่าแพร่ระบาดบ่อย ก็สามารถทำให้เกิดอาการติดเชื้ออีโคไลในลำไส้รุนแรง ส่งผลให้ถ่ายเหลว ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด มีไข้ อาเจียนได้
การติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไลสามารถเกิดจากการดื่มน้ำ หรือกินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผักสด และเนื้อสัตว์ที่ไม่สุกดี หากเป็นผู้ใหญ่ที่สุขภาพแข็งแรงดี ส่วนมากแล้วจะสามารถหายจากการติดเชื้ออีโคไล ซีโรไทป์ O157:H7 ได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่หากเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หญิงมีครรภ์ จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่อาการจะพัฒนาไปจนถึงขั้นเสียชีวิตจากอาการไตวายที่เรียกว่า กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย (Hemolytic-uremic syndrome หรือ HUS)
อย่างไรก็ตาม การติดเชื้ออีโคไลส่วนใหญ่ สามารถรักษาได้เองที่บ้าน
การติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไลนั้นพบได้บ่อยมาก มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย อย่างไรก็ดี การติดเชื้ออีโคไลสามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการของการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไลขั้นรุนแรง
สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ
คุณควรไปพบคุณหมอ หากมีอาการเหล่านี้
ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
การติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับการติดเชื้ออีโคไล ได้แก่
การไม่มีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่า คุณจะไม่มีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น คุณควรปรึกษแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การติดเชื้อโรคอีโคไลนั้นสามารถวินิจฉัยได้จากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์
การรักษาสำหรับการติดเชื้ออีโคไลในกรณีส่วนใหญ่ จะมีขั้นตอนต่อไปนี้
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณรับมือกับการติดเชื้ออีโคไลได้
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย