เป็นโรคติดเชื้อที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง สามารถติดต่อได้ง่ายจากการหายใจรับละอองเชื้อจากผู้ป่วย หรือสัมผัสเชื้อที่อยู่บนพื้นผิวต่าง ๆ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ซึมลง คนส่วนใหญ่มักฟื้นตัวและหายจากโควิดได้ใน 1 สัปดาห์ แต่สำหรับผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงตามวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป และมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น ภาวะหายใจล้มเหลว และส่งผลให้เสียชีวิตได้
การดูแลผู้สูงอายุ อย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อ
การดูแลผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ อาจทำได้ดังนี้
การพาผู้สูงอายุไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อ
เนื่องจากผู้สูงอายุมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอกว่าคนหนุ่มสาว การพาผู้สูงอายุไปฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคติดเชื้อ อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อ ลดความรุนแรงของโรค และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้สูงอายุได้ โดยทั่วไป วัคซีนที่ผู้สูงอายุควรได้รับ มีดังนี้
- วัคซีนโควิด-19 ควรฉีดอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 10-12 สัปดาห์ (ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์) หรือขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรพาผู้สูงอายุไปฉีดทุกปี ปีละครั้ง ๆ ละ 1 เข็ม
- วัคซีนปอดอักเสบ โดยอาจฉีดชนิด 13 สายพันธุ์ (PCV-13) 1 เข็ม ตามด้วยชนิด 23 สายพันธุ์ (PPSV23) 1 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 1 ปี
- วัคซีนป้องกันบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน ผู้สูงอายุที่ไม่เคยฉีดวัคซีนชนิดนี้มาก่อนควรรับวัคซีนชนิดนี้ 1 เข็ม และควรฉีดวัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ (Td) เป็นเข็มกระตุ้นทุก 10 ปี
- วัคซีนงูสวัด ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปควรฉีดใต้ผิวหนังอย่างน้อย 1 เข็ม
การดูแลความเป็นอยู่และสุขอนามัยของผู้สูงอายุ
การดูแลความเป็นอยู่และรักษาสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุให้เหมาะสมดังต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคในผู้สูงอายุได้ โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ
- ทำความสะอาดที่พักอาศัย บริเวณที่ผู้สูงอายุใช้เวลาอยู่เป็นประจำ สิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน รวมไปถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุ เช่น ราวจับในห้องน้ำ ไม้เท้า รถเข็น เป็นประจำ
- ให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สดและสะอาด และเลือกวัตถุดิบจากแหล่งที่มีสารปนเปื้อนน้อยที่สุด
- หมั่นตัดเล็บหรือให้ผู้สูงอายุตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
- ให้ผู้สูงอายุล้างมือก่อนรับประทานอาหาร เตรียมอาหาร หลังใช้ห้องน้ำ หรือสัมผัสกับสิ่งของสาธารณะทุกครั้ง
- ให้ผู้สูงอายุและคนรอบข้างอยู่ให้ห่างจากผู้ที่ติดเชื้อโรคต่าง ๆ จนกว่าผู้ป่วยจะหายดี
- ให้ผู้สูงอายุดูแลความสะอาดอวัยวะเพศให้ดี ซับบริเวณอวัยวะเพศให้แห้งทุกครั้งหลังอาบน้ำและเข้าห้องน้ำ
- ใช้สายสวนปัสสาวะเท่าที่จำเป็น และดูแลทำความสะอาดอุปกรณ์อย่างเหมาะสม
- ให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อให้ปัสสาวะเจือจางลงและลดการสะสมของแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ
- ดูแลให้ผู้สูงอายุกินยารักษาโรคประจำตัวหรืออาหารเสริมตามคำแนะนำของคุณหมอ ตรงตามเวลาอยู่เสมอ และคอยดูแลให้ผู้สูงอายุไปพบคุณหมอตามนัดหมายทุกครั้ง
การดูแลสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอ
ผู้ดูแลควรหมั่นใส่ใจและดูแลสุขภาพตัวเองไม่ให้ติดเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปสู่ผู้สูงอายุ
- ควรล้างมือบ่อย ๆ ฟอกถูมือด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาทีก่อนล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด ทั้งก่อนและหลังดูแลหรือสัมผัสตัวผู้สูงอายุ จัดเตรียมอาหาร ใช้ห้องน้ำ หรือสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ ในที่สาธารณะ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ปาก จมูก เพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่แออัด และสวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกไปที่สาธารณะที่เป็นพื้นที่ปิด
- พักผ่อนให้เพียงพอ และหาเวลาทำกิจกรรมผ่อนคลาย เพื่อลดความเครียดจากการดูแลผู้สูงอายุ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย