backup og meta

ข้อควรรู้ถึงการ กักตุนอาหาร ในวันหยุดยาว จากวิกฤต โควิด-19

ข้อควรรู้ถึงการ กักตุนอาหาร ในวันหยุดยาว จากวิกฤต โควิด-19

ในช่วงสถานการณ์ของไวรัส โควิด-19 ที่ผ่านมา บางประเทศได้เริ่มมีการประกาศสั่งห้ามให้ผู้คนงดออกจากเคหะสถาน หรืออาจอนุญาตให้ออกได้ในกรณีที่จำเป็นตามข้อกำหนด ทำให้ช่วงแรกผู้คนตื่นตระหนกอย่างมาก จนต้องรีบเข้าห้างสรรพสินค้าที่ใกล้พื้นที่อาศัย เพื่อ กักตุนอาหาร จนเกิดความขาดแคลน และไม่เพียงพอต่อบุคคลกลุ่มอื่นที่ไม่สามารถจะออกมาหาซื้อได้ เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว  วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เหมาะแก่การมีไว้ติดบ้านในช่วงของการแพร่ระบาด COVID-19 มาฝากกันค่ะ

อาหาร ที่ควรกักตุน ในช่วงการแพร่ระบาด โควิด-19

  • ผักผลไม้กระป๋อง

จากผักผลไม้สดที่เราคุ้นเคย กลับกลายมาเป็นผลไม้กระป๋อง ที่บางยี่ห้อนั้นก็อาจมีน้ำเชื่อมประกอบเพื่อเพิ่มรสชาติในการทาน แม้ว่าจะผ่านการแปรรูปโดยกระบวนการของผู้ผลิต แต่คุณประโยชน์ที่อยู่ในตัวผักผลไม้นี้ก็ยังคงอยู่ไม่ต่างจากผักผลไม้สดแบบเดิม ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินซี โพแทสเซียม ไฟเบอร์ และโปรตีน รวมถึงข้อดีบางอย่างเกี่ยวกับการเก็บรักษาที่สามารถช่วยยืดอายุ หรือชะลอความเน่าเสียของวัตถุได้

  • เนื้อสัตว์อบแห้ง

เป็นการถนอมเนื้อสัตว์ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อมิให้โปรตีนในเนื้อสัตว์หายไปในระหว่างที่คุณยังไม่นำมาใช้ในการปรุงอาหาร และยังสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 1 ปี ซึ่งการรับประทานเนื้อสัตว์อบแห้งนี้คุณจำเป็นต้องนำเนื้อสัตว์ผ่านความร้อน หรือนำไปปรุงสุกก่อนเสมอ เพราะเป็นการฆ่าเชื้อโรค สารเคมีปนเปื้อนบางอย่าง ก่อนเกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

  • แครกเกอร์

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการทานขนมปังคงต้องลองเปลี่ยนเป็นแครกเกอร์ หรือคุกกี้ที่ประกอบด้วยธัญพืชไปสักระยะ เนื่องจากขนมปังมักมีอายุการเก็บที่ค่อนข้างสั้น จึงอาจทำให้หมดอายุลงภายในไม่กี่วัน แต่แครกเกอร์นี้จะสามารถอยู่กับคุณได้เป็นเดือน ซึ่งอาจขึ้นอยู่การเก็บรักษาของคุณเอง

  • ปลากระป๋อง และเนื้อสัตว์กระป๋อง

อาหารกระป๋องเป็นอีกทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งในยามวิกฤต เพราะนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู และยังมีปริมาณที่เยอะพอที่จะรับประทานกันได้ทั้งครอบครัว ที่สำคัญเนื้อสัตว์ในกระป๋องมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างนานถึง 5 ปี เพียงแค่เก็บไว้ตามอุณหภูมิของห้อง นับได้ว่าคุณจะสามารถอยู่ในช่วงภาวะ โควิด-19 นี้ได้อย่างสบาย ๆ เลยทีเดียว

  • ซุปกระป๋อง

ปัจจุบันเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของเราเป็นอย่างมาก เพียงแค่เลือกรสที่ชอบ และนำมาอุ่นก็สามารถรับประทานได้แล้วภายในไม่กี่นาที ซุปกระป๋องนี้ก็เช่นกัน แต่อาจมีข้อแตกต่างจากอาหารกระป๋องอื่น ๆ เล็กน้อย เพราะผักบางชนิดที่อยู่ในส่วนประกอบของซุปอาจอยู่ได้ไม่นานมากนัก เช่น ซุปมะเขือเทศบางยี่ห้อที่อาจหหมดอายุภายใน 18 เดือน

ถึงอย่างไรก็ตามการเลือกอาหาร หรือวัตถุดิบที่ดีควรตรวจสอบอย่างละเอียดจากด้านข้างผลิตภัณฑ์เสียก่อน ว่ามีส่วนประกอบที่อาจทำให้คุณแพ้หรือไม่ รวมทั้งเช็ก วัน เดือน ปีที่ผลิต และวันหมดอายุให้ถี่ถ้วน

กักตุนอาหาร อย่างไร ให้เพียงพอ เมื่อต้องอยู่แต่ในบ้าน

การจัดการเรื่องของสินค้าในช่วงวิกฤต โควิด-19 ครั้งนี้ นั้นไม่ได้ขาดแคลนอย่างที่คิด ดังนั้น เราทุกคนควร คำนวนปริมาณสินค้าที่จะทำให้คุณดำรงชีพอยู่ได้ตามระยะเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ไม่จำเป็นต้องกักตุนเครื่องอุปโภค บริโภค ไว้ในจำนวนมากเพียงผู้เดียว เพราะอาจเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่กลุ่มคนที่ต้องการสินค้าเหล่านั้นจริง ๆ

เคล็ดไม่ลับ ถนอมอาหารของคุณอย่างไร ให้อยู่คู่ครัวเรือนไปนาน ๆ

หากครอบครัวใดที่มักมีกิจกรรมชอบทำอาหารด้วยของสดทานเอง อาจจำเป็นที่ต้องมีวิธีเตรียมการถนอมอาหารเล็กน้อยในช่วงไวรัสที่กำลังแพร่ระบาดนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ของสดในครัวเรือนคุณเกิดการเน่าเสีย และต้องจำใจทิ้งไปอย่างไร้ประโยชน์ โดยวิธีที่คุณทำได้ส่วนใหญ่ มีดังต่อไปนี้

  • การหมักดองด้วยน้ำเกลือ และน้ำตาล

การหมักดองยังคงเป็นทางเลือกที่สามารถทำได้ง่ายสำหรับการรักษาคุณภาพของอาหาร วิธีสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ถึง 20% นอกจากการใช้เกลือและน้ำตาลแล้ว คุณอาจนำน้ำส้มสายชูมาร่วมกับการหมักด้วยเล็กน้อย ส่วนมากเทคนิคนี้มักใช้ในการถนอมอาหารประเภท ผักและผลไม้

ข้อควรระวัง สำหรับการถนอมอาหารด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำตาล อาจต้องคำนึงถึงบุคคลในบ้านที่มีประวัติทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ รวมทั้งภาวะของอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการทำลายภูมิต้านทาน จนทำให้เชื้อไวรัส โควิด-19 นี้เข้าไปสร้างความเสียหายแก่อวัยวะภายในได้

  • การแช่แข็ง

วิธีนี้ทุกคนอาจคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ถึงการแช่แข็งเนื้อสัตว์ ผักสด หรืออาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของสดเหล่านี้คงอยู่ได้นานยิ่งขึ้นไปอีก

  • เลือกบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท

ในกรณีที่อาหารเกิดเหลือปริมาณมาก คุณอาจหาภาชนะที่มีฝาที่ปิดสนิทมาใส่เพื่อป้องกันแบคทีเรีย หรือแมลงต่าง ๆ ภายในบ้าน ไม่ให้เข้ามาเกาะหรือแพร่เชื้อโรคในอาหาร เช่น กล่องถนอมอาหาร กล่องสูญญากาศ ถุงสูญญากาศ  หรือที่เรียกกันว่า ถุงซิปล็อค

เมื่อคุณต้องการที่จะรับประทานอีกครั้งก็เพียงแค่นำอาหารในภาชนะออกไปอุ่น แต่วิธีนี้ควรใช้ได้ในวันต่อวันเท่านั้น เพราะถ้าหากเก็บไว้เป็นระยะเวลานาน ก็อาจส่งผลให้เกิดการเน่าเสีย และกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้เช่นเดียวกัน

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Stocking an Emergency Food Pantry During Coronavirus https://www.verywellfit.com/why-keep-foods-for-an-emergency-2507684 Accessed March 23, 2020

12 of the Best Non-Perishable Foods https://www.healthline.com/nutrition/non-perishable-food Accessed March 23, 2020

What are the different methods of Food Preservation? https://foodsafetyhelpline.com/what-are-the-different-methods-of-food-preservation/ Accessed March 23, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีรับมือ เชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเข้าใจผิดเหล่านี้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา