backup og meta

กรมการแพทย์แผนไทย แนะนำใช้ สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ต้านโควิด-19 จริงหรือไม่

กรมการแพทย์แผนไทย แนะนำใช้ สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ต้านโควิด-19 จริงหรือไม่

ปัจจุบันหลายคนเริ่มหันมารับประทาน “ฟ้าทะลายโจร’ กันมากขึ้น ทั้งชนิดแคปซูล และแบบผง  เพราะเชื่อว่า ฟ้าทะลายโจร  สามารถต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงได้นำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมาแจ้งให้ทุกคนทราบกันค่ะ ว่า สมุนไพรฟ้าทะลายโจร สามารถ ต้านโควิด-19 ได้จริงหรือไม่ ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย

สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ต้านโควิด-19  ได้จริงหรือไม่

กระแสข่าวเกี่ยวกับ สมุนไพรฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculate)  ทำให้หลายคนหันมารับประทานกันมากขึ้น เพราะเชื่อว่าสามารถใช้รักษาโรคโควิด-19 ได้ ซึ่งแหล่งข่าวต่าง ๆ ที่เผยแพร่ออกมานั้นอาจทำให้หลายคนเกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่าสามารถป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แท้ที่จริงแล้วกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ยังไม่มีข้อระบุที่แน่ชัดว่าสามารถรักษาโรคดังกล่าวได้ อยู่ในระว่างวิจัยและอยู่ในขั้นตอนการทดลองเท่านั้น

งานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านไวรัสโควิด-19 ของฟ้าทะลายโจร

จากการรายงานจดสิทธิบัตรการค้นพบฤทธิ์ของฟ้าทะลายโจร พบว่า มีสารแอนโดรกราโฟไลด์  (Andrographolide)  มีศักยภาพในการป้องกันรักษาโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome : SARS) ที่มีความคล้ายกับเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ในประเทศจีนได้มีการนำฟ้าทะลายโจรในรูปของยาฉีดที่มีชื่อว่า ยาสี่เหยียนผิง (Xiyanping Injection) ที่มีตัวยาแอนโดรกราโฟไลด์ ซัลโฟเนต (Andrographolide Sulfonate) ขนาด 100 มิลลิกรัม ผสมกับน้ำเกลือ 250 มิลลิลิตร โดยหยดยาเข้าเส้นเลือดดำ วันละ 2 ครั้ง ในการรักษาผู้ป่วย

 ข้อแนะนำในการใช้ฟ้าทะลายโจร

  • ไม่ควรกินยาฟ้าทะลายโจรเพื่อการป้องกันโควิด-19 โดยที่ยังไม่มีอาการ
  • เมื่อมีอาการคล้ายหวัด ได้แก่ ไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศีรษะ ควรกินยาฟ้าทะลายโจรทันที และต้องป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่คนใกล้ชิด
  • หากกินยาฟ้าทะลายโจรแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์
  • ควรมียาฟ้าทะลายโจรติดไว้ประจำบ้าน

วิธีการเก็บฟ้าทะลายโจร

  • อายุของฟ้าทะลายโจรที่เหมาะสม เก็บเกี่ยวเมื่อต้นอายุ 3-6 เดือน ซึ่งจะเป็นเวลาที่ดอกเริ่มบาน ประมาณ 25-30 % หลังจากเก็บแล้ว อีกประมาณ 1-3 เดือน ฟ้าทะลายโจรจะเริ่มออกดอกอีกครั้ง พอดอกเริ่มบานก็เก็บได้อีกครั้ง ฟ้าทะลายโจร 1 ต้นสามารถเก็บมาทำยาได้ 2-4 ครั้ง จากนั้น รอเก็บเมล็ดเพื่อใช้ทำพันธุ์ต่อไป
  • วิธีการเก็บ  ตัดต้นนับจากส่วนยอดลงมาประมาณ 1-2 คืบ เหลือตอไว้ หรือเด็ดเฉพาะใบมาใช้ ส่วนของต้นหรือใบฟ้าทะลายโจรที่เก็บมาทำให้แห้งจะเก็บไว้ได้ 1 ปี

ข้อควรรู้ในการใช้ฟ้าทะลายโจร

  • ข้อห้ามใช้  สตรีมีครรภ์และให้นมบุตรห้ามรับประทาน และห้ามใช้ในผู้ที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง และหนาวสั่น
  • ข้อควรระวัง  หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง  ควรหยุดรับประทาน หากภายใน 2-3 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำนและรับการรรักษาอย่างถูกวิธี รวมถึงห้ามรับประทานฟ้าทะลายโจรร่วมกับยาดังต่อไปนี้ ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) แอสไพริน (Aspirin) โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) และยาลดความดันโลหิต
  • ผลข้างเคียง อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร เวียนศีรษะ ใจสั่น และ ในผู้ป่วยบางรายอาจทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ผื่น ลมพิษ หน้าบวม ให้หยุดยาและห้ามใช้ยานี้อีก

แม้จะมีข้อมูลออกมาว่า ฟ้าทะลายโจร สามารถใช้ต้านไวรัสโควิด-19 ได้ แต่แท้ที่จริงแล้วยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยเท่านั้น ดังนั้น อย่างเพิ่งเชื่อข้อมูลที่ยังไม่ได้มีการยืนยันอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานหรือแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้นะคะ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ฟ้าทะลายโจรกับโรคโควิด-19 (COVID-19). https://www.dtam.moph.go.th/images/download/dl0084-19042563.pdf. Accessed 20 April 2020.

Harnessing the medicinal properties of Andrographis paniculata for diseases and beyond: a review of its phytochemistry and pharmacology. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4032030/. Accessed 20 April 2020.

king of bitters-Andrographis paniculata.https://www.healthbenefitstimes.com/king-of-bitters/. Accessed 20 April 2020.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัยเผย หายห่วง ตู้น้ำหยอดเหรียญสาธารณะ ยังไม่มีการค้นพบเชื้อโควิด-19

ผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง กับ ความเสี่ยงในการติดเชื้อ โควิด-19


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา