โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

ไวรัสโคโรนา

สำรวจ โรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา

ยาสามัญประจำบ้าน มีติดบ้านไว้ อุ่นใจ ไม่ต้องไปโรงพยาบาล ในช่วงโควิด-19 ระบาด

ยาสามัญประจำบ้าน เป็นยาที่ทุก ๆ บ้านควรมีติดไว้ เผื่อเกิดเหตุการณ์เจ็บป่วยฉุกเฉิน และด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน ทำให้ยากที่จะต้องออกจากบ้านไปซื้อของบ่อย ๆ แถมในช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงที่รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวส์ ซึ่งห้ามออกจากบ้านหลัง 22.00 -04.00 นาฬิกา นอกจากกักตุนอาหารแล้ว ยังต้องเตรียมยาไว้ด้วย หากเกิดการเจ็บป่วยฉุกเฉินแต่ไม่มียาสามัญประจำบ้าน ก็อาจทำให้ยากต่อการบรรเทาอาการ วันนี้ Hello คุณหมอ มียาสามัญประจำบ้านที่ทุกบ้านควรมีติดไว้ ยาสามัญประจำบ้าน คืออะไร ยาสามัญประจำบ้าน (First Aid Kits) เป็นยาที่กระทรวงสาธารณะสุขได้ทำการพิจารณาและกำหนดว่าเป็นยาที่มีความเหมาะสมสำหรับการซื้อมาติดบ้านไว้ เป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ง่าย ตามร้านขายยาหรือท้องตลาดทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบคำสั่งซื้อยาจากแพทย์ ส่วนใหญ่แล้ว ยาสามัญประจำบ้านนั้นจะเป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันเช่น อาการกรดไหลย้อน ท้องอืด ท้องเสีย หรือว่ายาลดไข้ บรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ยาสามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้านไว้ ยาสามัญประจำบ้านควรที่จะมีติดบ้านไว้ เผื่อเกิดเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินจะได้ทำการปฐมพยาบาลได้ทันท่วงที่ ซึ่งยาสามัญประจำบ้านที่ทางกระทรวงสาธารณะสุขได้กำหนดไว้ มีดังนี้ ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย-ไซเมธิโคน ยาธาตุน้ำแดง ลดอาการท้องอืด ผงน้ำตาลเกลือแร่ แก้ท้องเสีย ผงถ่านรักษาอาการท้องเสีย ยาระบายมะขามแขก ยาถ่ายพยาธิลำไส้ มีเบนดาโซล ยาพาราเซตามอล ลดไข้ บรรเทาปวด ยาคลอร์เฟนิรามีน แก้แพ้ ลดน้ำมูก ยาแก้ไอน้ำดำ ยาดมแก้วิงเวียน ยาหม่อง ยาไดเมนไฮดริเนท […]


ไวรัสโคโรนา

วิธีจัดการกับความเหงาในช่วงกักตัวอยู่บ้าน เพื่อลดความเสี่ยงการติดโรคโควิด-19

มีผลการศึกษาที่ได้รับการเผยแพร่ลงในวารสารสุขภาพอย่าง Public Health ในปี 2017 ที่กล่าวถึงความเชื่อมโยงของการที่ต้องอยู่บ้านและขาดการติดต่อจากโลกภายนอก หรือมีการติดต่อกับบุคคลอื่นน้อยลงนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต และก่อให้เกิดความเหงา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องคอยสังเกตสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเองอยู่เสมอ ในระหว่างการกักตัวอยู่บ้านเพื่อป้องกัน โรคโควิด -19 ยิ่งถ้ารู้สึกว่าเริ่มเหงาและหดหู่ใจเมื่อไหร่ล่ะก็ ให้ลองใช้ วิธีจัดการกับความเหงาในช่วงการกักตัวอยู่บ้าน ที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมเอามาฝากค่ะ วิธีจัดการกับความเหงาในช่วงการกักตัวอยู่บ้าน มีอะไรบ้าง ทำตัวให้เป็นปกติ ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ หรือ โรคโควิด -19 นี้ หลายคนต้องกักตัวเองอยู่บ้าน ทำงานที่บ้าน หรือต้องอยู่แต่ในบ้าน ไม่ออกไปข้างนอก หรือออกไปเฉพาะยามจำเป็น เป็นเหตุให้โอกาสในการพบปะและติดต่อกับบุคคลอื่นน้อยลง ยิ่งถ้าต้องอยู่บ้านคนเดียวตลอดการกักตัวก็จะยิ่งทวีความเงียบเหงาให้มากขึ้นไปอีก ดังนั้น วิธีแรกที่จะช่วยได้ก็คือ การทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นปกติ ใครที่เคยยุ่งกับการไปทำงาน แม้ตอนนี้จะเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน ก็ใช้เวลาทำงานให้เต็มที่เหมือนกับตอนที่ทำงานที่ออฟฟิศ เมื่อทำตัวเหมือนปกติที่เคยเป็นมา ก็จะช่วยลดความรู้สึกเงียบเหงาลงได้บ้าง  เสพแต่ข่าวที่น่าเชื่อถือ หลายคนยิ่งเหงาก็ยิ่งหาอะไรอ่าน หาอะไรดู เพื่อคลายความเหงา แต่ยิ่งติดตามข่าวสารมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งจิตตก เพราะข้อมูลของ โรคโควิด -19 นั้นมาจากหลากหลายแหล่งที่มา ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือน้อย เมื่อรับข้อมูลที่มากเกินไปก็จะส่งผลต่อการใช้วิจารณญาณ ทำให้จิตตกได้ง่าย เปลี่ยนจากการใช้เวลาเสพข่าวสารที่ไม่น่าเชื่อถือ มาทำกิจกรรมคลายเครียดอื่น ๆ จะได้ประโยชน์กว่า เช่น ดูหนัง เล่นเกม […]


ไวรัสโคโรนา

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเข้าใจผิดเหล่านี้

ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ โรคโควิด-19 มีอยู่มากมาย ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง และข้อมูลที่ไม่มีการรับรองความน่าเชื่อถือ หลายครั้งส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดและสร้างความตื่นตระหนกให้แก่ผู้คนในสังคม วันนี้ Hello คุณหมอ มีสาระข้อมูลที่เกี่ยวกับ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และข้อเท็จจริงของความเข้าใจผิดนั้นมาฝากคุณผู้อ่านทุกท่านค่ะ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคโควิด-19 มีอะไรบ้าง? การตากแดด หรืออยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง จะช่วยป้องกันโควิด-19 ได้ ความจริงแล้ว: การตากแดด หรืออยู่ในที่ที่อุณหภูมิสูง ไม่ได้มีส่วนช่วยป้องกันโควิด-19แต่อย่างใด เพราะแม้แต่ประเทศที่อยู่ในเขตร้อนและมีอุณหภูมิสูงตลอดทั้งปี ก็ยังมีการรายงานตัวเลขของผู้ติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ วิธีป้องกันเชื้อโควิด-19ที่แท้จริง คือ การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางกายภาพ การล้างมืออย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ และงดสัมผัสใบหน้า ปาก จมูก เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง   โรคโควิด-19 เป็นแล้วต้องเป็นไปตลอดชีวิต ความจริงแล้ว: โรคโควิด-19 หากเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายได้ ข้อสำคัญคือต้องสังเกตอาการให้ไว และติดต่อกับสถานพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเร็วที่สุด การติดโรคโควิด-19 ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเป็นแล้วจะต้องเป็นไปตลอดชีวิต   การกลั้นหายใจ 10 วินาที หรือมากกว่านั้น โดยไม่มีอาการไอ จาม หรืออาการใด ๆ ขณะกลั้นหายใจ แปลว่าปลอดภัยและไม่มีการติดเชื้อของโรคโควิด-19 ความจริงแล้ว: ไม่จริง เพราะการกลั้นหายใจไม่ใช่กระบวนการตรวจหาเชื้อของโรคโควิด-19 กระบวนการตรวจหาเชื้อที่แท้จริงจะต้องทำการตรวจผ่านแล็บ ไม่สามารถที่จะตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการกลั้นหายใจหรือวัดระดับการหายใจหลังการออกกำลังกายได้   ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจะช่วยป้องกัน โรคโควิด-19 ได้ ความจริงแล้ว: การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคโควิด-19แต่อย่างใด แต่กลับจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของอาการทางสุขภาพอื่น […]


ไวรัสโคโรนา

สุขภาพหัวใจกับโควิด-19 : สิ่งที่ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหัวใจควรรู้

ตอนนี้หลายคนน่าจะรู้แล้วว่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2) ที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) นั้นส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจและปอดของเรา ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน และสำหรับคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ เราอยากแนะนำให้คุณระวังเป็นพิเศษ เพราะจากข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ JAMA Cardiology ของประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน สามารถกระตุ้นให้อาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดกำเริบได้ และนี่คือข้อมูลเกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจกับโควิด-19 ที่คุณควรรู้ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจกับสุขภาพหัวใจ นักวิทยาศาสตร์เผยว่า ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ไวรัสอาร์เอสวี (RSV ย่อมาจาก Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุส่วนล่างของทางเดินหายใจ) และโรคปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial pneumonia) สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ และทำให้ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้วมีอาการของโรครุนแรงขึ้นได้ จากข้อมูลที่ผ่านมานั้น พบว่า ในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่นั้นเสียชีวิตจากอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่เสียอีก และจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาการแทรกซ้อนของโรคซาร์สและโรคเมอร์สซึ่งเกิดจากไวรัสตระกูลโคโรนาเช่นเดียวกับโควิด-19 พบว่า ผู้ป่วยโรคซาร์สส่วนใหญ่จะมีอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจเต้นเร็ว และผลจากการศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยโรคเมอร์สจำนวน 637 ราย ก็พบว่า กว่า 30%  มีอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด แม้ทีมนักวิจัยจะระบุไม่ได้แน่ชัดว่า โรคเมอร์สเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ว่าคนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้วมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเมอร์สมากกว่า และร่างกายยังต่อสู้กับการติดเชื้อได้ไม่ดีเท่าผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย สุขภาพหัวใจกับโควิด-19 : ความเกี่ยวข้องที่ควรรู้ หากดูจากข้อมูลข้างต้น เราจะพบว่า […]


ไวรัสโคโรนา

ของที่ควรพกติดตัว เพื่อรับมือกับเชื้อโรค ในยาม โควิด-19 ระบาด

การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลก คนส่วนใหญ่ต้องเปลี่ยนจากการออกไปทำงานที่ออฟฟิศหรือทำงานข้างนอก มาเป็นทำงานที่บ้าน ต้องงดการพบปะสังสรรค์ หรืออยู่ในที่ชุมนุมชน และอีกหนึ่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือ ข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และนี่คือ ของที่ควรพกติดตัว เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคติดเชื้อโควิด-19 ตัวร้าย ของที่ควรพกติดตัว เพื่อให้ปลอดภัยจากโควิด-19 แอลกอฮอล์ล้างมือ ไอเท็มแรกที่คุณควรมีติดกระเป๋าอยู่เสมอ ในช่วงโควิด-19 ระบาดแบบนี้ ก็คงหนีไม่พ้น แอลกอฮอล์ล้างมือ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ที่นำมาฉีดพ่นเพื่อทำความสะอาดมือ หรือพื้นผิวอื่นๆ ได้ตามต้องการ โดยแอลกอฮอล์ล้างมือควรมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% เพราะระเหยไม่เร็วเกินไปและมีคุณสมบัติเพียงพอในการทำลายเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 แนะนำว่า ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ล้างมือที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์น้อยกว่า 50% เพราะอาจทำลายเชื้อโรคได้ไม่ดีนัก หรือหากมีแอลกฮอล์ 95% – 100% ก็ไม่ดีเช่นกัน เพราะจะระเหยเร็วเกินไปจนฆ่าเชื้อโรคไม่ได้ สบู่แผ่น สบู่แผ่น หรือที่เรียกว่าสบู่กระดาษ ก็เป็นอีกหนึ่งไอเท็มจิ๋วแต่แจ๋วที่คุณควรหามาพกไว้ติดตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรคโควิด-19 เพราะในบางครั้งแค่แอลกอฮอล์ล้างมืออาจไม่เพียงพอ คุณอาจมีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็นต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ โดยสบู่แผ่นหรือสบู่กระดาษนี้จะมาในรูปแบบแผ่นสบู่บาง ๆ บรรจุอยู่ในตลับขนาดเล็ก พกพาง่าย ไม่ต้องกลัวว่าจะหกเลอะเทอะกระเป๋าเหมือนสบู่เหลวหรือสบู่ก้อนแบบปกติ หน้ากากผ้า ตอนนี้หน้ากาก N95 และหน้ากากอนามัยทางการแพทย์สีเขียว ๆ ฟ้า ๆ แบบที่เราเห็นกันบ่อยๆ […]


ไวรัสโคโรนา

วิธีรับมือ เชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มีจำนวนยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอดอักเสบ ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีรับมือ เชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มาฝาก จะมีอะไรบ้างนั้น ลองมาหาคำตอบกันในบทความนี้ค่ะ ทำความรู้จักเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2562 เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บป่วย ตั้งแต่ไข้หวัดทั่วไป จนถึงโรคที่มีอาการรุนแรง เช่นโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome :  MERS-CoV) และ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome : SARS-CoV)  ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจ รวมถึงอาการไอ คัดจมูก และเจ็บคอ เชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร? สมาคมโรคเบาหวาน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ระบุไว้ว่า ประชาชนในประเทศจีนซึ่งมีผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีอัตราแทรกซ้อนและเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่มีโรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอ และไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ หากคุณรู้สึกไม่สบาย ควรตรวจวัด […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

อาการไข้หวัดใหญ่ VS อาการโควิด-19 ต่างกันอย่างไร?

โรคโควิด-19 (COVID-19) เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยอาการของโควิด-19 เบื้องต้นนั้น มีความคล้ายคลึงกับอาการไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ไอจาม ปวดศีรษะ เจ็บคอ จึงอาจทำให้หลายคนที่มีอาการดังกล่าวรู้สึกสับสนหรือวิตกกังวลว่าตัวเองติดเชื้อโควิด-19 หรือไข้หวัดใหญ่กันแน่ ซึ่งการเรียนรู้ความแตกต่างของโรคทั้งสอง โดยเฉพาะอาการของโรคจะช่วยให้สามารถรับมือกับโรคได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่และโรคโควิด-19 ทั้งโรคไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนี้ โควิด-19 เกิดจากไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) หรือที่เรียกว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์เดลตา พลัส (Delta Plus หรือ AY.1) สายพันธุ์โควิด แลมบ์ดา (Lambda หรือ C.37) สายพันธุ์โอไมครอน หรือโอมิครอน (Omicron หรือ B.1.1.529)โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนในมนุษย์ สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้และส่งผลให้ผู้ติดเชื้อมีอาการป่วยระบบทางเดินหายใจ โดยพบการระบาดครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงปลายปี 2019 ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ซึ่งมี […]


ไวรัสโคโรนา

กิจกรรมสำหรับเด็ก ในช่วงกักตัว เมื่อโควิด-19 ระบาด

ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด โรงเรียนได้มีการเลื่อนเปิดเทอมไป ทำให้เด็กหลายคนต้องอยู่บ้านกันยาว ๆ เพื่อรอเชื้อโรคหายระบาดและรอการเปิดเทอม คุณพ่อและคุณแม่หลายคนที่อยู่บ้านกับลูกในช่วงนี้ก็จะทราบดีว่า การที่เด็ก ๆ ไม่ได้ทำกิจกรรมกลางแจ้ง วิ่งเล่นในสนามเด็กเล็กนั้น จะทำให้พวกเขาเบื่อเพียงใด พลังที่เหลือล้นรอการปลดปล่อยของพวกเขาก็จะยิ่งสร้างความเบื่อหน่ายให้พวกเขา ลองหากิจกรรมสำหรับเด็กในช่วงกักตัวให้คุณพ่อ คุณแม่ได้ลองทำร่วมกับลูกอาจช่วยได้ กิจกรรมสำหรับเด็ก ในช่วงกักตัว แต่ละวัย การแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ในช่วงนี้ ทำให้หลายครอบครัวต้องกักตัวอยู่บ้าน ทำงานที่บ้าน เรียนออนไลน์ แม้แต่เด็ก ๆ ที่อยู่ในช่วงปิดเทอมแต่ก็ไม่สามารถไปไหนได้ ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 การดูแลลูกในช่วงที่ต้องทำงานที่บ้านพร้อมกับเลี้ยงลูกไปด้วยนั้น จะยิ่งเพิ่มความเครียดให้กับคุณ อีกทั้งเด็ก ๆ เองก็มีความเครียดไม่แพ้กันที่จะต้องอยู่บ้านเฉย ๆ กิจกรรมสำหรับเด็กกักตัว จะช่วยสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กไปพร้อมกับการได้ทำกิจกรรมสนุก ๆ ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตเหล่านี้ กิจกรรมสำหรับเด็ก ในช่วงกักตัว สำหรับวัยเตาะแตะ เด็กในวัยเตาะแตะ เป็นวัยที่เริ่มหัดเดิน หัดเรียนรู้ อยู่ในช่วงก่อนเข้าโรงเรียน หลาย ๆ บ้านได้เริ่มมีการพาเด็ก ๆ ในช่วงวัยนี้ไปพบปะกับเด็กคนอื่น ตามโรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อไม่ได้ทำกิจกรรมแบบเดิมอาจทำให้เด็กรู้สึกหงุดหงิด พ่อแม่จึงควรมีกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ให้ลูกได้ทำ โดยควรทำก่อนและหลังเวลาหลับกลางวัน ทำอาหาร เด็กในวัยนี้ เป็นวัยที่ชอบเล่นในห้องครัว เมื่อต้องกักตัวอยู่บ้านทั้งวัน แน่นอนว่าจะต้องมี กิจกรรมสำหรับเด็กกักตัว อย่างการทำอาหารแน่นอน แทนที่จะให้เด็ก […]


ไวรัสโคโรนา

ผลไม้เสริมภูมิคุ้มกัน อร่อย สุขภาพดี พร้อมสู้เชื้อโควิด-19

ในช่วงของการระบาดของโรคโควิด-19 เช่นนี้ การมี ระบบภูมิคุ้มกัน ที่ดี จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทาน และไม่เจ็บป่วยบ่อย แต่การจะมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรง ต้องมาจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การมีสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ทั้งเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ซึ่งวันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมเอาสุดยอด ผลไม้เสริมภูมิคุ้มกัน มาฝากคุณผู้อ่านทุกท่าน แต่จะมีผลไม้ชนิดใดบ้างนั้น ไปอ่านกันได้ที่บทความนี้เลย สารอาหารจากผลไม้ที่ดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน มีสารอาหารที่พบในผลไม้หลายชนิด ถือเป็นสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย และช่วยเสริมให้ ระบบภูมิคุ้มกัน ของเราแข็งแรง สารอาหารเหล่านั้น ได้แก่ วิตามินซี  วิตามินซี เป็นสารอาหารสำคัญชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย และทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่จะมาทำลาย ระบบภูมิคุ้มกัน วิตามินอี วิตามินอี ก็เป็นอีกหนึ่งสารอาหารที่ทำหน้าที่ส่วนหนึ่งคล้ายกับวิตามินซี นั่นคือทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คอยป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเข้ามาทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ธาตุสังกะสี สังกะสี มีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์และระบบภูมิคุ้มกัน หากร่างกายมีปริมาณของธาตุสังกะสีต่ำ ก็จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง แคโรทีนอยด์ แคโรทีนอยด์ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่พบได้ในอาหารประเภทพืชผักและผลไม้ เมื่อรับประทานสารแคโรทีนอยด์เข้าไป สารนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย กรดไขมันโอเมก้า 3 โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 หรืออาหารเสริม กรดไขมันโอเมก้า 3 มีสรรพคุณในการช่วยลดอาการอักเสบของร่างกาย และช่วยดูแลให้ ระบบภูมิคุ้มกัน มีความแข็งแรงอยู่เสมอ  ผลไม้เสริมภูมิคุ้มกัน […]


ไวรัสโคโรนา

ผู้เชี่ยวชาญเผย อากาศร้อน ชื้น อาจช่วยชะลอ การแพร่เชื้อโควิด-19 ได้

ย้อนกลับไปช่วงปลายเดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2562 โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากจุดเริ่มต้นจนถึงตอนนี้ก็ผ่านมาแล้วกว่าสามเดือน และยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายคนจึงอาจเริ่มเป็นกังวลแล้วว่า การแพร่เชื้อโควิด-19 นี้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ แต่ข่าวนี้อาจทำให้คุณใจชื้นขึ้นได้บ้าง เพราะผู้เชี่ยวชาญเผยว่า อากาศที่ร้อนชื้น อาจช่วยชะลอการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ สภาพอากาศกับ การแพร่เชื้อโควิด-19 งานศึกษาวิจัยชิ้นใหม่พบว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) หรือโรคติดเชื้อโควิด-19 นั้นแพร่กระจายในเขตพื้นที่ที่มีสภาพอากาศร้อนและชื้นได้ไม่ดีเท่ากับในพื้นที่อากาศหนาว โดย Qasim Bukhari และ Yusuf Jameel สองผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology; MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้วิเคราะห์ข้อมูลการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก และพบว่า การติดเชื้อกว่า 90% นั้นเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิระหว่าง 3-17 องศาเซลเซียส (37.4-62.6 องศาฟาเรนไฮต์) และมีความชื้นสัมบูรณ์อยู่ที่ 4-9 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร (g/cubic metre) ในประเทศที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส (64.4 องศาฟาเรนไฮต์) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน