
ภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรังคืออะไร
ภาวะหายใจล้มเหลว สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อระบบทางเดินหายใจของคุณนั้นไม่สามารถขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือดได้ ทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน เมื่อระบบทางเดินหายใจของคุณรับออกซิเจนเข้าไม่เพียงพอ ทำให้ระดับของออกซิเจนในเลือดน้อยจนเป็นอันตราย
ระบบทางเดินหายใจเป็นกลุ่มอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการรับออกซิเจนและกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ เวลาที่คุณหายใจเข้า ลมหายใจของคุณนั้นเต็มไปด้วยออกซิเจน และออกซิเจนจะเคลื่อนย้ายเข้าไปในกระแสเลือด ไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย ออกซิเจนมีความสำคัญในการคงไว้ซึ่งการทำงานของร่างกายที่สำคัญ
เวลาที่คุณหายใจออก คุณจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเหลือ ที่เกิดจากเมื่อเซลล์ในร่างกายย่อยสลายน้ำตาลจากอาหารที่คุณรับประทาน จึงสำคัญมากที่คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกกำจัดจากเลือดของคุณ เพราะการมีระดับแก๊สนี้มากสามารถทำให้อวัยวะเกิดความเสียหายได้
ภาวะหายใจล้มเหลวมี 2 แบบ ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเป็นภาวะหายใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันได้ โดยทั่วไปจะเป็นอาการที่ต้องช่วยเหลือฉุกเฉิน ส่วน ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง เป็นภาวะที่จะค่อยๆ พัฒนาตัวขึ้นตามกาลเวลาและต้องทำการรักษายาวนาน
ภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง นั้นพบได้บ่อยแค่ไหน
ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับๆ ทุกวัย แต่ส่วนใหญ่แล้วจัดว่าเป็นมากในผู้ชาย อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
อาการของ ภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง
อาการและสัญญาณของ ภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง อาจมีอาการไม่ชัดเจนตั้งแต่เริ่ม เพราะอาการจะเกิดขึ้นบ่อยๆ อย่างช้าๆ ในระยะเวลาที่ยาวนาน ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบอาการ ดังนี้
- หายใจลำบาก หรือหายใจไม่ทัน โดยเฉพาะเมื่อทำกิจกรรม
- ไอแบบมีเสมหะ
- หายใจฮืดฮาด
- ผิวหนัง ริมฝีปาก หรือเล็บมือออกสีน้ำเงิน
- หายใจเร็ว
- อ่อนล้า
- วิตกกังวล
- สับสน
ภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง เป็นอาการป่วยร้ายแรง ที่จะอาการแย่ลงตามเวลา เมื่ออาการเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น เราอาจมีจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือป่วยจนโคม่าได้
เมื่อไรควรไปพบหมอ
การได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถหยุดภาวะนี้ไม่ให้แย่ลง และป้องกันอาการป่วยฉุกเฉินอื่นๆได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการ สัญญาณใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ควรไปปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันโรคที่ร้ายแรง เพื่อไม่ให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลง ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด ร่างกายของแต่ละคนอาจจะแสดงอาการของโรคออกมาไม่เหมือนกัน ทางที่ดีที่สุดนั้นคือการปรึกษากับแพทย์เพื่อหาหนทางที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ที่คุณกำลังเจออยู่
สาเหตุของภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง
โรคปอดบางประชนิดสามารถทำให้เกิด ภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง โรคที่มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูก หรือเนื้อเยื่อที่ช่วยในการหายใจสามารถทำให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรังได้ทั้งสิ้น
ภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรังโดยมากเกิดขึ้นเมื่อหลอดที่ขนส่งอากาศไปสู่ปอดเกิดการตีบลงและเสียหาย ซึ่งส่งผลให้การเคลื่อนไหวของอากาศที่ต้องส่งไปทั่วทั้งร่างกายนั้นติดคัด ส่งไปอย่างลำบาก หรืส่งไปได้น้อย ทำให้ออกซิเจนที่จะเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลงและคาร์บอนไดออกไซด์จะออกจากร่างกายได้น้อยลงเช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด ภาวะหายใจล้มเหลว
คุณอาจมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะหายใจล้อมเหลวเรื้อรังนี้สูง หากคุณมีอาการเหล่านี้
- โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
- ปอดบวม
- โรคซิสติก ไฟโบรซิส เป็นโรคเรื้อรังทางพันธุกรรม ที่ทำให้เกิดการสร้างเสมหะข้นในปอด เมือกในตับอ่อน และอวัยวะอื่นๆในร่างกาย
- การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
- การอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง
- โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
- การบาดเจ็บบริเวณทรวงอก
- การดื่มแอลกอฮอล์และการเสพยา
- การสูบบุหรี่
การวินิจฉัยและการรักษาภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง
ข้อมูลที่นำเสนอนั้นไม่สามารถทดแทนข้อแนะนำการรักษาใดๆได้ โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณเพื่อรับข้อมูลอยู่เสมอ
ภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรังนั้นวินิจฉัยอย่างไร
หากแพทย์สงสัยว่าคุณอาจมีภาวะนี้ แพทย์จะแนะนำให้มีการตรวจร่างกายและการตรวจสอบบางอย่างเพิ่มเติม โดยจะมีการตรวจดังนี้
- การตรวจวัดออกซิเจนในเลือด การตรวจวัดออกซิเจนในเลือดเป็นการตรวจแบบง่ายๆ และไม่ทำให้เจ็บ ตรวจเพื่อที่จะวัดว่าออกซิเจนนั้นถูกส่งไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีแค่ไหน
- การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในหลอดเลือดแดง การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในหลอดเลือดแดงนั้นเป็นการตรวจที่ง่ายและปลอดภัย เพื่อวัดปริมาณออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
- การตรวจฉายภาพ แพทย์สามารถใช้การเอกซเรย์หน้าอกหรือการแสกนคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถส่องดูปอดของคุณได้ดี การตรวจนี้อาจทำให้พบสาเหตุที่เป็นไปได้ของภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง
ภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรังนั้นรักษาได้อย่างไร
การรักษาภาวะหายใจล้อเหลวเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของโรค ปกติแล้วแพทย์จะแนะนำให้ใช้ทางเลือกในการรักษาบางประการ ซึ่งทางเลือกในการรักษาได้แก่
- การบำบัดด้วยออกซิเจน การบำบัดด้วยออกซิเจน จะเพิ่มระดับออกซิเจนโดนยการเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่คุณหายใจเข้าไป โดยออกซิเจนจะถูกลำเลียงจากถังออกซิเจนผ่านทางท่อ เข้าสู่ปอดผ่านหน้ากาก ท่อจมูก หรือท่อที่ใช้สอดเข้าหลอดลมโดยตรง
- การเจาะคอ ระหว่างกระบวนการนี้ แพทย์จะสอดท่อเข้าไปในหลอดลมของคุณเพื่อให้คุณหายใจได้สะดวกขึ้น ซึ่งท่อจะถูกสอดผ่านรอยผ่าตรงหน้าคอที่หลอดลมของคุณ ท่อนี้เป็นท่อชั่วคราวหรือถาวรก็ได้
- เครื่องช่วยหายใจ หากอาการของภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรังไม่ดีขึ้นด้วยวิธีการรักษาอื่นๆ แพทย์อาจให้คุณใช้เครื่องช่วยหายใจ เครื่องนี้จะสูบออกซิเจนผ่านท่อที่สอดไว้ที่ปากหรือจมูกลงไปยังหลอดลม
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการรักษาที่บ้าน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการรักษาแบบพื้นบ้านในการจัดการกับภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง
คุณสามารถลดความเสี่ยงได้โดยวิธีดังนี้
- เลิกสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการรับควันมือสอง
- ทานอาหารที่อุดมด้วยผักและผลไม้
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
หากคุณมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด