backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ (Carbon Monoxide Poisoning)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/11/2020

คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ (Carbon Monoxide Poisoning)

คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ (Carbon monoxide poisoning) หมายถึงภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อเราสูดดมเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปมากเกินไป จนทำให้ระดับของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือดสูง

คำจำกัดความ

คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ คืออะไร

คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ (Carbon monoxide poisoning) หมายถึงภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อเราสูดดมเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปมากเกินไป จนทำให้ระดับของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือดสูง ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์นี้จะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง และทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ อวัยวะ และอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้

เราสามารถพบก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น

  • ท่อไอเสียของรถยนต์
  • ฮีตเตอร์
  • เตาถ่านปิ้งย่าง
  • เครื่องยนต์ของรถยนต์
  • เครื่องปั่นไฟฟ้า
  • เตาแก๊สทำอาหาร

การสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณเล็กน้อยนั้นอาจจะไม่ทำให้เกิดอันตรายอะไร แต่หากคุณได้รับก๊าซนี้ในปริมาณมาก เช่น จากการเผาถ่านในห้องอับ หรือเปิดเครื่องรถยนต์ไว้แล้วจอดนอนอยู่กับที่ ก็อาจทำให้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์สะสมอยู่มากเกินไป จนกลายเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษพบบ่อยแค่ไหน

ภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะกับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ หรือเตาถ่านในบริเวณที่เป็นห้องอับ ไม่มีอากาศถ่ายเท หรือผู้ที่ต้องเดินทางไกลด้วยรถยนต์ และจอดนอนพักในรถยนตร์โดยติดเครื่องยนต์ไว้

อาการ

อาการของคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ

อาการที่พบได้บ่อยมีดังต่อไปนี้

ภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษนั้นจะมีอันตรายมากกับผู้ที่หมดสติ หรือผู้ที่มึนเมา เพราะอาจเกิดความเสียหายต่อสมอง หรือเสียชีวิตได้ ก่อนที่พวกเขาจะรู้ตัวกันเสียอีก

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

สัญญาณเตือนของภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษนั้นอาจจะมองออกค่อนข้างยาก หากคุณสังเกตพบว่าคุณหรือคนรู้จักอาจจะมีอาการของภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ ควรรีบระบายอากาศโดยรอบ และนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลในทันที

หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ

ภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษนั้นเกิดจากการที่ที่เราสูดดมเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปมากจนเกินไป จนส่งผลกระทบต่อร่างกาย

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์นั้นเกิดขึ้นจากการที่เชื้อเพลงต่าง ๆ เช่น แก๊ส น้ำมัน ถ่าน หรือไม้ เผาไหม้อย่างไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นจากการทำงานของเครื่องยนต์ การทำอาหาร หรือเผาฟืน

แม้ว่าตามปกติแล้วกระบวนการเหล่านี้จะไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่หากในบริเวณนั้นเป็นห้องอับ อากาศไม่ถ่ายเท ก็อาจจะทำให้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์สะสมในปริมาณมาก และแทนที่ออกซิเจนในอากาศ ทำให้เป็นอันตรายเมื่อเราสูดดมเข้าไป

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ

คนบางกลุ่มอาจจะมีโอกาสได้รับอันตรายจากคาร์บอนมอนอกไซด์ได้มากกว่า เช่น

  • ทารกในครรภ์ เนื่องจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษนั้นจะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในเม็ดเลือดแดง หากคุณแม่ตั้งครรภ์สูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษเข้าไปในปริมาณมาก อาจทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
  • เด็กเล็ก เด็กนั้นมักจะหายใจถี่กว่าผู้ใหญ่ ทำให้ได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปมากกว่าในระยะเวลาที่เท่ากัน
  • ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะเกิดอาการสมองเสียหายเนื่องจากคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจเรื้อรัง
  • ผู้ที่หมดสติหรือผู้ที่มึนเมา

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ

แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษได้จากการตรวจเลือด เพื่อดูปริมาณของคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด นอกจากนี้แพทย์ก็อาจจะต้องตรวจดูอาการอื่นร่วมด้วย เช่น

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ปวดหัว
  • หมดสติ

การรักษาคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ

แพทย์อาจทำการรักษาภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

ให้หน้ากากออกซิเจน แพทย์จะให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากออกซิเจน เพื่อให้ผู้ป่วยได้หายใจรับออกซิเจนบริสุทธิ์เข้าไปในร่างกายผ่านทางปากและจมูก ทำให้ระดับของออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ้น และช่วยลดระดับของคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือดลดลง หากผู้ป่วยไม่สามารถหายใจเองได้ แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

ออกซิเจนบำบัด แพทย์อาจจะให้ผู้ป่วยทำออกซิเจนบำบัด (Hyperbaric oxygen therapy) ด้วยการให้ผู้ป่วยไปอยู่ในห้องแคปซูล ที่มีแรงดันอากาศสูงกว่าภายนอก 2-3 เท่า ให้ผู้ป่วยได้หายใจรับออกซิเจนบริสุทธิ์เข้าไป และเร่งกระบวนการแทนที่คาร์บอนมอนอกไซด์ภายในเลือดด้วยออกซิเจน

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ

การเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการเยียวยาตนเอง ที่อาจช่วยรับมือคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษด้วยตนเอง มีดังนี้

  • จัดบริเวณให้มีอากาศถ่ายเท ในบริเวณที่ต้องมีการเผาไหม้เชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็น ห้องครัวทำอาหาร เตาผิง หรือเตาเผาขยะ ควรอยู่ในจุดที่มีอากาศถ่ายเทเข้าออกได้ ไม่ปิดทึบ และหากอยู่ในอาคารควรเตรียมระบบระบายอากาศให้พร้อม
  • ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ ในบริเวณที่คาดว่าอาจจะมีคาร์บอนมอนอกไซด์ เพื่อช่วยสังเกตและป้องกันไม่ให้ระดับของคาร์บอนมอนอกไซด์มากเกินไป
  • หากต้องจอดรถนอนข้างทาง อย่าสตาร์ทรถทิ้งไว้ ให้ดับเครื่อง และเปิดกระจกเล็กน้อยแทน
  • อย่านอนหลับใกล้กับบริเวณเตาผิง หรือฮีตเตอร์

หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดสอบถามแพทย์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/11/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา