- อาเจียน
- ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือเขียว
- หายใจลำบากหรือหยุดหายใจอย่างสังเกตได้
- หายใจเข้าแล้วมีเสียงดัง
สาเหตุ
สาเหตุของไอกรน
แบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรคไอกรน โดยเมื่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อหรืออยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อที่ไอหรือจาม แล้วอาจหายใจเอาละอองขนาดเล็กที่มีเชื้อที่แพร่กระจายในอากาศเข้าสู่ปอด
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของไอกรน
มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ทำให้เกิดโรคไอกรน เช่น
- วัคซีนไอกรนที่ได้รับในวัยเด็กหมดฤทธิ์ไป
- เด็กที่เพิ่งได้รับวัคซีน ระหว่างการฉีดวัคซีน เด็กจะยังไม่มีภูมิต้านทานเต็มที่ โดยต้องรอจนกว่าจะได้รับวัคซีนอย่างน้อยสามครั้งจึงจะมีภูมิต้านทานโรค เพราะฉะนั้น ระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างการรับฉีดวัคซีนมักมีความเสี่ยงที่เด็กจะได้รับเชื้อไอกรนได้
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยไอกรน
อาการของโรคไอกรนมักไม่แสดงให้เห็นในระยะเริ่มแรก หรืออาจมีอาการเหมือนกับโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจทั่วไป เช่น หวัด ไข้หวัด หรือโรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งยากที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน ในบางกรณี แพทย์อาจต้องตั้งคำถามเกี่ยวกับอาการต่างๆ และฟังลักษณะเสียงไอ เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ
หากแพทย์ต้องการยืนยันการวินิจฉัย ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการทดสอบบางประการ เช่น การเพาะเชื้อและการทดสอบจมูกและลำคอ การตรวจเลือด หรือการเอ็กซเรย์หน้าอก
การเพาะเชื้อและการทดสอบจมูกและลำคอหมายถึงการป้ายหรือดูดเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อบริเวณที่จมูกและลำคอเชื่อมต่อกันเพื่อตรวจหา
ร่องรอยของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคไอกรน การตรวจเลือดต้องทำในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว นอกจากนี้
อาจมีการเอ็กซเรย์หน้าอกเพื่อตรวจหาการอักเสบหรือของเหลวในปอด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นเมื่อปอดบวมทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอื่นๆ