ชายูคาลิปตัส
ชายูคาลิปตัสทำจากใบของ ต้นยูคาลิปตัส (Eucalyptus) ซึ่งอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และสารประกอบจากพืช เช่น ยูคาลิปตอล (Eucalyptol) ยูคาลิปตัสอาจช่วยรักษาอาการหอบหืดได้ อ้างอิงจากการวิจัยชี้บางชิ้น ระบุไว้ว่า สารประกอบนี้อาจลดการอักเสบ ลดการผลิตเมือก และขยายหลอดลมของคุณ ซึ่งเป็นทางเดินภายในปอดของคุณ
ในการศึกษาที่ใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ (12-week study) ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดหลอดลม 32 คน ได้รับสารยูคาลิปตอล 600 มิลลิกรัม หรือยาหลอกทุกวัน ผู้ที่ได้รับยูคาลิปตอลต้องการใช้ยาในการจัดการกับอาการหอบหืดน้อยลง 36 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ต้องการใช้ยาน้อยลงเพียง 7 เปอร์เซ็นต์
คุณสามารถทำชายูคาลิปตัสดื่มได้เองที่บ้าน โดยใช้ใบยูคาลิปตัสแห้ง แช่ในน้ำเดือด 240 มิลลิลิตร นาน 10 นาที จากนั้นใช้กระชอนกรองเอาใบยูคาลิปตัสออกก่อนดื่ม
ชาชะเอมเทศ
ชาชะเอมเทศทำจากรากของต้นชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra) มีรสหวาน แต่ขมเล็กน้อย ในยาแผนโบราณ รากชะเอมเทศมักถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการต่างๆ รวมทั้งโรคหอบหืด อ้างอิงจากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดจากชะเอมเทศที่มีชื่อว่า “กลีซีร์ริซิน (Glycyrrhizin)” ช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้กับการรักษาโรคหอบหืดแบบเดิม เช่น ซาลบูทามอล (Salbutamol)
แม้ว่าการวิจัยในมนุษย์จะแสดงผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีการวิจัยในระยะยาวมากขึ้น โปรดทราบว่า รากชะเอมเทศจำนวนมากอาจนำไปสู่ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายพอสมควร ดังนั้นคุณจึงควรจำกัดการดื่มไว้ที่ 1 ถ้วย หรือ 240 มิลลิกรัมต่อวัน และผู้คุยกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ หากมีอาการป่วยใดๆ
ชามัลเลน (Mullein)
ชามัลเลนเป็นยาชงที่เข้มข้นและมีกลิ่นหอมที่ทำจากใบของมัลเลน ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในยุโรป เอเชีย และแอฟริกา มัลเลยถูกนำมาใช้ในยาแผนโบราณเป็นเวลาหลายพันปีในการรักษาอาการทางเดินหายใจ เช่น โรคหลอดลมอักเสบ การสะสมของเมือก และโรคหอบหืด
การศึกษาในสัตว์และมนุษย์ชี้ให้เห็นว่า มัลเลนอาจช่วยรักษาอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจหอบ และหายใจถี่ โดยลดการอักเสบ ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจ แต่ทั้งนี้ยังคงต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมต่อไป
หากคุณต้องการชงชามัลเลน สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการนำไปแห้งมาใส่ลงในน้ำเดือดปริมาณเล็กน้อยใน 1 ถ้วย หรือ 240 มิลลิลิตร ทิ้งไว้เป็นเวลา 15-30 นาที จากนั้นใช้กระชอนกรองใบออก เพื่อไม่ให้เกิดการระคายคอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย