ผึ้งต่อย อันตราย... อย่าปล่อยเอาไว้นาน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 13/02/2021

    ผึ้งต่อย อันตราย... อย่าปล่อยเอาไว้นาน

    โดยปกติแล้วเมื่อโดน ผึ้งต่อย หลายคนก็คงรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการเอาเหล็กไนที่ฝังลงในเนื้อออก แต่รู้หรือไม่ว่า หลังจากเอาเหล็กในออกเรียบร้อยแล้ว ยังอาจจะมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นตามมาได้ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำบทความเรื่องนี้มาฝากกัน

    จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อโดน ผึ้งต่อย

    คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการโดนผึ้งต่อยเป็นเรื่องที่น่ารำคาญ เพราะเมื่อโดนผึ้งต่อยอาการที่ตามมาก็คือ ความเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน บวม แดง รู้สึกร้อนที่ผิวหนัง และมีอาการคันบริเวณที่โดนต่อย แต่ไม่มีอาการแทรกซ้อนที่ร้ายแรงเกิดขึ้น เมื่อผึ้งต่อยคุณ ผึ้งจะปล่อยพิษออกมาพร้อมเหล็กไนที่ฝังไว้ในผิวหนังของคุณ แล้วตายไป ซึ่งนั่นทำให้เกิดอาการปวด และอาการอื่น ๆ หากคุณมีปฏิกิริยาแพ้เพียงเล็กน้อยก็จะทำให้เกิดผื่นแดงมาก และมีอาการบวมบริเวณที่ถูกต่อย แต่หากมีอาการแพ้ผึ้งหรือติดเชื้อหลาย ๆ ครั้ง ก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

    อาการที่เกิดขึ้นเมื่อโดน ผึ้งต่อย

    เมื่อโดนผึ้งต่อยปฏิกิริยาของแต่ละคนจะแตกต่างกัน โดยมีตั้งบแต่อาการปวดชั่วคราว ไม่สบาย ไปจนถึงปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรง การมีปฏิกิริยาอย่างหนึ่งเกิดขึ้นไม่ได้หมายความว่าเมื่อถูกต่อยครั้งต่อไปจะเกิดปฏิกิริยาเดิม บางครั้งหากโดนผึ้งต่อยซ้ำอาจมีปฏิกิริยาที่รุนแรงเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ ซึ่งปฏิกิริยาหลังจากโดยผึ้งต่อย สามารถแบ่งได้ดังนี้

    ปฏิกิริยาที่ไม่รุนแรง

    โดยส่วนใหญ่แล้วคนที่โดนผึ้งต่อย มักมีอาการดังนี้

    • ปวดแสบปวดร้อนในทันทีตรงบริเวณที่โดนต่อย
    • เกิดรอยแดงตรงบริเวณที่โดนต่อย
    • บวมเล็กน้อยรอบๆ บริเวณที่โดนต่อย

    ซึ่งในคนส่วนใหญ่อาการบวมและปวดจะหายไปภายในไม่กี่ชั่วโมง

    ปฏิกิริยาปานกลาง

    คนบางคนเมื่อโดนผึ้งต่อยจะ มีปฏิกิริยารุนแรงขึ้นเล็กน้อย โดยมีอาการแสดงออกมา ดังนี้

    • เกิดรอยแดงมากบริเวณที่โดนต่อย
    • อาการบวมบริเวณที่โดนต่อยจะค่อย ๆ ขยายขึ้นใน 1-2 วันถัดไป

    ปฏิกิริยาปานกลางสามารถรักษาได้ภายใน 5-10 วัน การเกิดปฏิกิริยาปานกลางไม่ได้หมายความว่าคุณจะมีอาการแพ้อย่างรุนแรงในครั้งต่อไป แต่บางคนก็มีปฏิกิริยาปานกลางเกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ซึ่งหากเกิดปฏิกิริยาแบบนี้ ขอแนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษาและการป้องกัน จะได้ไม่เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงขึ้นในแต่ละครั้ง

    ปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรง

    ปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรงเมื่อโดนผึ้งต่อย อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ และต้องได้รับการรักษาอย่างฉุกเฉิน ซึ่งปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรงมักจะเกิดขึ้นในคนส่วนน้อย โดยอาการที่แสดงออกมาจะเป็นอาการแพ้ต่าง ๆ ดังนี้

    คนที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรงต่อเหล็กไนของผึ้ง มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ 25%-65% ในครั้งต่อไปที่โดนผึ้งต่อย ดังนั้น วิธีการที่ดีที่สุดก็คือการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ เพื่อหาทางป้องกัน เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคภูมิแพ้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาที่อาจจะคล้ายกับกรณีที่คุณโดนผึ้งต่อยอีกครั้ง

    การโดนผึ้งต่อยมากกว่าหนึ่งครั้งอาจทำให้เกิดการสะสมพิษ จนทำให้เกิดปฏิกิริยาที่เป็นพิษและทำให้รู้สึกไม่สบาย จนแสดงอาการต่างๆ เหล่านี้ออกมา

    • คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
    • ปวดหัว
    • วิงเวียน
    • ชัก
    • เป็นไข้
    • เป็นลม

    ซึ่งการโดนผึ้งต่อยหลาย ๆ ครั้งสามารถกลายเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือการหายใจ

    โดนผึ้งต่อยควรทำอย่างไร

    สำหรับคนที่ไม่มีอาการแพ้ เมื่อโดนผึ้งต่อยสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ที่บ้านด้วยวิธีปฐมพยาบาลต่อไปนี้

    วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดน ผึ้งต่อย

    • นำเหล็กไนออกทันที ด้วยการใช้เหล็ก ลูกกุญแจ หรือบัตรเครดิต ขูดหรือกดเพื่อเอาเหล็กไนออก
    • ใช้น้ำแข็งประคบไว้ประมาณ 20 นาที เพื่อบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนที่เกิดขึ้น
    • ล้างบริเวณที่โดนผึ้งต่อยด้วยสบู่และน้ำสะอาด จากนั้นทาครีมไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) เพื่อบรรเทาอาการแดง คับ และบวม
    • กินยาต้านฮิสตามีน (antihistamine) เพื่อช่วยบรรเทาอาการคันและบวม
    • กินยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดตามต้องการ

    แต่ถ้าหากคุณรู้ตัวว่ามีอาการแพ้อย่างรุนแรง หรือเคยมีปฏิกิริยารุนแรงเกิดขึ้นในอดีตเมื่อโดนผึ้งต่อย แนะนำว่าควรไปโรงพยาบาลทันที นอกจากนั้น ควรนัดพบแพทย์หากมีอาการ ดังนี้

    • อาการโดนผึ้งต่อยไม่หายไปภายใน 2-3 วัน
    • มีอาการอื่นเกิดขึ้นต่อการแพ้ผึ้ง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 13/02/2021

    โฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    โฆษณา
    โฆษณา
    โฆษณา