มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงทั่วโลก และสามารถเกิดได้กับผู้หญิงทุกเพศทุกวัย แต่การดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เช่น ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ ก็สามารถช่วยหาความเสี่ยงมะเร็งให้คุณผู้หญิงได้ แล้ววิธีลดความเสี่ยงและรับมือกับมะเร็งปากมดลูกจะมีอะไรอีก เราไปหาคำตอบกันเลย

เรื่องเด่นประจำหมวด

มะเร็งปากมดลูก

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก อาจเป็นอีกวิธีที่จะช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเบื้องต้นได้โดยการประเมินความเสี่ยงของแต่ละบุคคล เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อเอชพีวี (HPV) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พันธุกรรม หรือความเสี่ยงในการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่จัด ดังนั้น เพื่อลดความกังวลและป้องกันความเสี่ยง ควรทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำเพื่อคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเอง [embed-health-tool-ovulation] ทำไมถึงควรใช้แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก อาจช่วยให้ผู้หญิงค้นหาและประเมินปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูกของตัวเองในเบื้องต้น เพื่อป้องกันหรือเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที ด้วยการตอบแบบประเมินที่ได้รับการยืนยันและตรวจสอบข้อมูลจากคุณหมอ โดยสามารถเข้าทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกได้ ฟรี! ทุกที่ทุกเวลาผ่านมือถือ แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ ได้ที่เว็บไซต์ Hello คุณหมอ เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากโรคมะเร็งปากมดลูก วิธีการใช้แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก สำหรับวิธีการใช้แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก เพื่อค้นหาและประเมินความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูก อาจทำได้ดังนี้ เข้าไปที่เว็บไซต์ www.hellokhunmor.com จากนั้นเลือกเมนู เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ เลือกเมนู ดูเครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพทั้งหมด แบบประเมินจะอยู่ในหมวด ความเสี่ยงสุขภาพ จากนั้นเลือก แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก คลิกเมนู เริ่ม เพื่อทำแบบประเมิน โดยคำถามจะมีทั้งหมด 12 ข้อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก พร้อมทั้งข้อมูลความรู้และคำแนะนำสำหรับการป้องกันความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก เมื่อทำแบบประเมินเรียบร้อย ในตอนท้ายจะมีสรุปและคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้น โดยแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลความรู้และการป้องกันเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถใช้แทนการวินิจฉัย การรักษาและให้คำแนะนำทางการแพทย์ได้ ดังนั้น หากมีข้อสงสัยหรือพบอาการผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาทันที การตรวจมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมักเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย อาจเสี่ยงต่อการมีคู่นอนหลายคนและมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวี การเปลี่ยนคู่นอน อาจเพิ่มโอกาสในการได้รับเชื้อเอชพีวี หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น […]

สำรวจ มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก

ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและการนอนหลับ กับวิธีธรรมชาติที่ช่วยให้หลับง่าย

ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและการนอนหลับ มักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นโดยต่อเนื่อง เพราะการรักษาจากการใช้ยา หรือฉายแสงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ทำให้ผู้ป่วยบางคน มีปัญหากับการนอนหลับได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีการทางธรรมชาติ เพื่อช่วยในการนอนหลับ ซึ่งอาจมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกต่อสู้กับปัญหาในการนอนหลับได้ ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและการนอนหลับ กับวิธีรับมือ ปัญหานอนไม่หลับ เป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่เกิดในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเกิดจากการรักษาหรืออาการของโรคที่ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ไม่เต็มที่ จนฟื้นตัวจากอาการได้ช้า เคล็ดลับการนอนหลับแบบวิธีธรรมชาติเหล่านี้ อาจมีส่วนช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น ดื่มนมอุ่น นมเป็นแหล่งอาหารที่มีส่วนช่วยต่อสู้กับอาการนอนไม่หลับได้ นมอุดมไปด้วยแคลเซียมซึ่งช่วยให้สมองผลิตสารเมลาโทนิน โดยเฉพาะนมอัลมอนด์ สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการนอนหลับ ควรดื่มนมอุ่นหนึ่งแก้วก่อนนอนทุกวัน นอกจากนี้การดื่มนม ยังมีประโยชน์ในการช่วยปรับปรุงความจำ ซึ่งช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม ที่สามารถบริโภคในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ก่อนทุกครั้ง ปิดไฟให้หมด เมลาโทนิน เป็นสารที่มีส่วนช่วยในการนอนหลับ ที่ร่างกายจะสร้างขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อมีไม่มีแสงหรือมีปริมาณแสงที่น้อย หากห้องนอนมีแสงไฟที่สว่างเกินไป อาจส่งผลต่อการผลิตเมลาโทนินในร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการนอนหลับ ดังนั้นห้องนอนควรมืดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แสงไฟกลางคืน มีผลต่อการยับยั้งเมลาโทนินและทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียจากการนอนผิดเวลา (social jetlag) ซึ่งคล้ายคลึงกับอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเดินทางไปยังสถานที่ที่มีเวลาแตกต่างกัน นอกจากนี้ก่อนนอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมงควรอยู่ห่างจากอุปกรณ์อิเลคทรอนิคต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน ทีวี หรือคอมพิวเตอร์ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีแสงสีฟ้าที่รบกวนการนอนหลับ ที่สำคัญแสงไฟจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นอันตรายต่อสมอง […]


มะเร็งปากมดลูก

การผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นอีกหนึ่งโรคที่น่ากลัวสำหรับผู้หญิง วันนี้ Hello คุณหมอจึงมาพร้อมกับบทความดีๆ เกี่ยวกับ การผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก ให้อ่านกันค่ะ การรักษามะเร็งปากมดลูก มีหลากหลายวิธีการในการรักษามะเร็งปากมดลูกขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ ชนิดและระยะของมะเร็ง อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ความต้องการของผู้ป่วยและปัญหาทางสุขภาพ จากข้อจำกัดเหล่านี้การผ่าตัดจึงเป็นวิธีการที่แพทย์ใช้อย่างแพร่หลาย การผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก แบ่งออกเป็น 3 ชนิด การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้าง การผ่าตัดมดลูก การผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้าง (Radical trachelectomy) การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้างเหมาะสำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่ม แพทย์มักแนะนำการผ่าตัดนี้ให้กับผู้หญิงที่ประสงค์จะมีบุตรต่อไปในอนาคต ในระหว่างกระบวนการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะทำการกรีดหน้าท้องของคุณเป็นแผลขนาดเล็กหลายแผล อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะจะนำเอาปากมดลูกและส่วนบนของช่องคลอดออกไป ต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานของคุณจะถูกนำออกไปเช่นเดียวกัน จากนั้นศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดต่อมดลูกเข้าไปยังบริเวณช่องคลอดส่วนล่าง เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดมดลูกและการผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง ข้อดีคือมดลูกของคุณจะถูกเก็บไว้ นั้นหมายความว่าคุณยังสามารถมีบุตรได้ต่อไป อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควระวังคือ ผู้เชี่ยวชาญไม่อาจรับรองได้ว่าคุณจะสามารถมีบุตรได้หรือไม่ หากคุณมีบุตรภายหลังการผ่าตัด คุณอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อคลอดบุตร ทั้งนี้แพทย์แนะนำให้คุณมีบุตรภายหลังการรักษาอย่างน้อย 6-12 เดือน การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้างเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยทักษะขั้นสูง ซึ่งมีเพียงไม่กี่ในโรงพยาบาลในสหราชอาณาจักร ดังนั้นอาจไม่มีการผ่าตัดแบบนี้ในพื้นที่ของคุณ คุณจำเป็นต้องเดินทางไปยังเมืองอื่นเพื่อเข้ารับการรักษา การผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy) แพทย์มักแนะนำการผ่าตัดมดลูกให้กับผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรก ซึ่งอาจรักษาร่วมกับวิธีรังสีรักษาเพื่อป้องกันการกลับมาของโรคมะเร็ง การผ่าตัดมดลูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ การผ่าตัดมดลูกแบบปกติ การผ่าตัดลักษณะนี้ ปากมดลูกและมดลูกจะถูกตัดออก ในบางราย แพทย์จะทำการผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ออกมา ดังนั้นวิธีการนี้จึงเหมาะกับการรักษาโรคที่เกิดขึ้นในระยะแรก การผ่าตัดมดลูกแบบกว้าง การผ่าตัดลักษณะนี้ ปากมดลูก มดลูก และบริเวณโดยรอบและต่อมน้ำเหลืองจะถูกผ่าตัดออกมา เช่นเดียวกับรังไข่และท่อนำไข่ ดังนั้นวิธีการนี้จึงเหมาะสมกับมะเร็งในระยะลุกลามและระยะที่สอง อาการแทรกซ้อนในระยะสั้นของการผ่าตัดมดลูกคือ การติดเชื้อ เลือดออก เลือดแข็งตัว และอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บในท่อไต กระเพาะปัสสาวะ […]


มะเร็งปากมดลูก

ทำความรู้จักกับ แปปสเมียร์ (Pap Smear) ตรวจเพื่ออะไร และการเตรียมตัวก่อนตรวจ

Pap Smear (แปปสเมียร์) เป็นการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูก เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มักทำควบคู่ไปกับการตรวจภายใน ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 ปี พร้อมกับการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก การตรวจ Pap Smear (แปปสเมียร์) คืออะไร Pap Smear (แปปสเมียร์) หรือ Pap Test หรือการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บริเวณปากมดลูก ซึ่งคุณหมอจะขูดเอาตัวอย่างเซลล์ปากมดลูกมาตรวจ โดยจะใส่ตัวอย่างเซลล์ลงบนสไลด์ (Pap smear) หรือผสมในน้ำยาช่วยรักษาสภาพเซลล์ และส่งไปยังห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ เซลล์จะถูกตรวจหาความผิดปกติที่อาจชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่ผิดปกติ เช่น ดีสพลาเซีย (dysplasia) หรือมะเร็งปากมดลูก ช่วงเวลาการตรวจแปปสเมียร์ขึ้นอยู่กับอายุและปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่าง ๆ ควรปรึกษาคุณหมอถึงความถี่ที่ควรเข้ารับการตรวจแปปสเมียร์ ชนิดของไวรัสเอชพีวี (HPV) ที่มีความเสี่ยงสูงมักเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 ปี การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ควรทำควบคู่ไปกับการตรวจแปปสเมียร์ หากอายุต่ำกว่า 26 ปี สามารถเข้ารับวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวีเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ ทำไมควรเข้ารับการตรวจแปปสเมียร์ การตรวจแปปสเมียร์เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มักทำควบคู่ไปกับการตรวจภายใน ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 ปี การตรวจแปปสเมียร์จะทำควบคู่กับการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก โดยทั่วไป คุณหมอจะแนะนำให้ตรวจแปปสเมียร์เมื่ออายุ 21 […]


มะเร็งปากมดลูก

เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ (Cervical dysplasia) คืออะไร

ปากมดลูก เนื้อเยื่อส่วนปลายสุดของมดลูกเป็นทางผ่านของระดูออกสู่ภายนอก และทางผ่านของตัวอสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่เป็นตัวอ่อนจนเกิดเป็นทารก แต่ถ้าหาก เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ (Cervical dysplasia) อาจทำให้เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพได้ เพราะหากไม่รีบรักษาเซลล์ที่เจริญเติบโตผิดปกติอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ คืออะไร เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ (Cervical dysplasia) เป็นภาวะที่เซลล์บริเวณปากมดลูก มีความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติบางประการ ปากมดลูกอยู่ตรงส่วนล่างของมดลูกที่นำไปสู่ช่องคลอด โดยจะมีการขยายตัวระหว่างการคลอด เพื่อให้ทารกออกมาได้ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติเป็นภาวะก่อนเกิดมะเร็ง เซลล์ที่ผิดปกตินี้ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง แต่สามารถกลายเป็นมะเร็งได้ หากตรวจไม่พบแต่เนิ่น ๆ หรือไม่ได้รับการรักษา โดยมีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชพีวี (human papillomavirus: HPV) ที่ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 30 ปี เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติพบได้บ่อยแค่ไหน ตามข้อมูลจาก Sidney Kimmel Comprehensive Cancer Center มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ในแต่ละปี พบว่า ผู้หญิงชาวอเมริกันจำนวนประมาณ 250,000 - 1,000,000 คน มีภาวะเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ โดยมักพบได้มากที่สุดในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 35 ปี อาการ อาการของ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ โดยปกติแล้ว ภาวะเซลล์ปากมดลูกผิดปกติจะไม่แสดงอาการใด ๆ ดังนั้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน