โครเมียม
การขาดโครเมียมอาจทำให้ระดับดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ดังนั้น การรับประทานอาหารเสริมโครเมียมจึงอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และยังอาจช่วยเพิ่มความทนทานต่อกลูโคสในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 รวมถึงอาจช่วยลดระดับอินซูลิน และลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้อีกด้วย
แมกนีเซียม
แมกนีเซียมเป็นสารอาหารจำเป็นที่พบได้ในอาหารหลายชนิด การขาดแมกนีเซียมอาจส่งผลโดยตรงต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งยังขัดขวางกระบวนการหลั่งอินซูลิน ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า แมกนีเซียมจำเป็นต่อการช่วยให้ร่างกายใช้กลูโคสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การรับประทานอาหารเสริมแมกนีเซียมอาจช่วยลดปริมาณอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งยังอาจช่วยบรรเทาหรือลดปัญหาเกี่ยวกับการหลั่งอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนได้ นอกจากนี้ ยังอาจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ช่วยเพิ่มระดับน้ำตาล และยังอาจช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินในผู้ที่มีความเสี่ยงได้อีกด้วย
วิตามินดี
วิตามินดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ซึ่งการขาดวิตามินดีในผู้ป่วยเบาหวานอาจทำให้ความไวต่ออินซูลินลดลง นอกจากนี้ การมีระดับวิตามินดีต่ำยังมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดความผิดปกติของระบบเผาผลาญ เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มอาการเมตาบอลิซึม ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ดังนั้น การรับประทานอาหารเสริมวิตามินดีจึงอาจช่วยเพิ่มความไวของอินซูลิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งยังช่วยลดการดื้อต่ออินซูลินและเพิ่มการหลั่งอินซูลิน รวมถึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อีกด้วย
วิตามินอี
วิตามินอีอาจช่วยเพิ่มออกซิเจนในเลือด ต่อสู้กับสารพิษ และอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของอินซูลินในร่างกาย หากร่างกายได้รับวิตามินอีไม่เพียงพออาจทำให้โครงสร้างภายในร่างกายถูกทำลายจากสารอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การรับประทานอาหารเสริมวิตามินอีอาจช่วยลดโอกาสในการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 อาจเพิ่มความทนทานต่อกลุโคสในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และสารต้านอนุมูลอิสระในวิตามินอียังอาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้อีกด้วย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย