backup og meta

ผู้หญิงเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ชาย เพราะอะไร

ผู้หญิงเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ชาย เพราะอะไร

เนื่องจากร่างกายของเพศหญิงจะมีการผลิตฮอร์โมนเพศ ชื่อว่า เอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลช่วยเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินในการกระตุ้นให้เซลล์นำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเปลี่ยนใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ทั้งนี้ หากร่างกายมีอินซูลินมีไม่เพียงพอ หรือ มีฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงหรือผิดปกติไป จะส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก็ผิดปกติตามไปด้วย ทำให้เพศหญิงจึงอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ง่ายกว่าเพศชาย 

[embed-health-tool-bmi]

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ ผู้หญิงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ชาย

ผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากอาจมีพฤติกรรมหรือภาวะสุขภาพที่เอื้อต่อการเกิดโรคเบาหวาน ดังต่อไปนี้

  • เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง ทำให้สมดุลร่างกายแปรปรวน อาจส่งผลต่อสุขภาพด้านต่าง ๆ รวมทั้งภาวะเบาหวาน
  • ผู้หญิงอาจทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายหรือออกแรงน้อยกว่า ทำให้เสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน เป็นภาวะอ้วน หรือมีคอเลสเตอรอลสูง จึงเพิ่มความเสี่ยงของเบาหวาน
  • เคยมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ความชอบรับประทานขนมหวาน น้ำหวาน เครื่องดื่มที่ให้น้ำตาลสูง เช่น ชานมไข่มุก
  • มีความเครียดหรือความวิตกกังวลสูง เพศหญิงอาจเป็นเพศที่คิดมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง อีกทั้งฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดหลั่งมากขึ้น นับเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • มีภาวะสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะดื้อต่ออินซูลินในร่างกาย เช่น โรคถุงน้ำรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS)

วิธีลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 

สามารถลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้ โดยปฏิบัติตัวตามคำแนะนำเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ
  • ควบคุมน้ำหนัก รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นบริโภคผัก ผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลค่ำ และธัญพืช ลด/จำกัดปริมาณขนมหวานหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารแปรรูปและอาหารปรุงสำเร็จเช่น เนื้อแปรรูป อาหารกระป๋อง ไส้กรอก ผลไม้กวน/ดอง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันสูง และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด

เนื่องจากผู้หญิงอาจมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าผู้ชาย ดังนั้น จึงควรดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และเข้ารับการตรวจสุขภาพหมั่นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงและเฝ้าระวังโรคเบาหวานที่อาจเกิดขึ้นได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes. womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/diabetes.html. Accessed March 28, 2022.

Diabetes life expectancy. diabetes.co.uk/diabetes-life-expectancy.html. Accessed March 28, 2022.

Diabetes in Men versus Women. https://www.news-medical.net/health/Diabetes-in-Men-versus-Women.aspx. Accessed March 28, 2022.

Sex and Gender Differences in Risk, Pathophysiology and Complications of Type 2 Diabetes Mellitus. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4890267/. Accessed March 28, 2022.

Diabetes and Women. https://www.cdc.gov/diabetes/library/features/diabetes-and-women.html. Accessed March 28, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/04/2023

เขียนโดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผอม เสี่ยงเบาหวาน ได้อย่างไร และควรดูแลตัวเองอย่างไร

เบาหวานมีกี่ชนิด มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง


เขียนโดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา