insulin resistance คือ ภาวะดื้ออินซูลิน เกิดจากเซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิด เบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้น ผู้ป่วยควรทำความรู้จักกับภาวะดื้ออินซูลินให้มากขึ้น เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้
ทำความรู้จักภาวะดื้ออินซูลิน กับ เบาหวานชนิดที่ 2
ภาวะดื้ออินซูลิน หรือ Insulin Resistance คือ ภาวะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน จนส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเสี่ยงต่อเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม ภาวะดื้ออินซูลินอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวานและเป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยชะลอการเกิดโรคและช่วยให้ควบคุมโรคได้ดีขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของ ภาวะดื้ออินซูลิน
insulin resistance หรือภาวะดื้ออินซูลินซึ่งเกิดจากปัจจัยและสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- โรคอ้วน
- การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงหรือน้ำตาลสูง
- โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ภาวะสุขภาพ เช่น โรคตับ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
- ภาวะความเครียด
- การใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- พันธุกรรม
- สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
- การสูบบุหรี่
- มีอายุมากกว่า 45 ปี ขึ้นไป
5 อาการที่บ่งบอกว่ามีภาวะดื้ออินซูลิน
อาการที่บ่งบอกถึงภาวะดื้ออินซูลิน มีดังต่อไปนี้
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น ผู้ชายมีรอบเอวเกิน 40 นิ้ว และผู้หญิงมีรอบเอวเกิน 35 นิ้ว
- ค่าความดันโลหิตมากกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท
- ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ระดับไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ไขมันดี (High Density Lipoprotein หรือ HDL) ในผู้ชายต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และในผู้หญิงต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- มีอาการง่วง อ่อนเพลียง่าย
วิธีลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลสุขภาพ ดังคำแนะนำต่อไปนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน หรือ insulin resistance ได้ ทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนสำหรับผู้ที่มีภาวะนี้ได้ด้วย
- ควบคุมน้ำหนัก หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ คาร์โบไฮเดรตต่ำ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
[embed-health-tool-bmi]