น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะตอนกลางคืน เหนื่อยล้าง่าย มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น หิวบ่อย ตาพร่ามัว เท้าชาหรือเท้าบวม มีแผลเรื้อรังที่ปลายมือ/เท้า แผลหายช้า ผิวและริมฝีปากแห้ง ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงเเล้วค่าสูงกว่า 126-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 200 อย่างต่อเนื่อง เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะเเทรกซ้อนฉุกเฉินจากน้ำตาลสูง เช่น ภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic Ketoacidosis) หรือ ภาวะเลือดข้นจากน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมให้เร็วที่สุด โรคเบาหวาน การรักษา ทำได้อย่างไร
โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยส่วนมากจำเป็นต้องรับประทานยาควบคุมไปตลอด เพื่อให้มีสุขภาพโดยรวมที่แข็งเเรง เเละ มีคุณภาพชีวิตที่ดี
โรคเบาหวาน การรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์
ยารักษาเบาหวาน
ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน เป็นวิธีการรักษาหลักของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่2 โดยในปัจจุบันมียารักษาเบาหวานอยู่หลายชนิด เช่น เมทฟอร์มิน (Metformin) กลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) กลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones) เเละยังมียาอีกหลายกล่ม ซึ่งออกฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลผ่านกลไลต่างๆที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น ช่วยกระตุ้นการผลิตอินซูลินจากตับอ่อน หรือ ช่วยให้เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น เพื่อนำน้ำตาลเข้าไปเผาผลาญได้เพิ่มขึ้น หรือออกฤทธิ์กระตุ้นศูนย์ควบคุมความอิ่มในสมอง ช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น รวมไปถึงผ่านกลไกที่ไตให้เพิ่มการขับน้ำตาลส่วนเกินทิ้งทางปัสสาวะ โดยการเลือกใช้ยานี้ คุณหมอจะเลือกพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ที่เป็นเบาหวานเเต่ละราย
การฉีดอินซูลิน
ยาฉีดอินซูลินใช้เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลินในร่างกาย ซึ่งช่่วยให้ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น โดยคุณหมอจะพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ชนิด เเละ จำนวนครั้งในการฉีดจึงอาจจะต่างกันออกไปในเเต่ราย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย