backup og meta

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด มีอะไรบ้าง รับมืออย่างไร

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด มีอะไรบ้าง รับมืออย่างไร

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด คือ ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นระหว่างคลอด ซึ่งอาจทำให้คุณแม่หรือทารกเสียชีวิตได้ ซึ่งหญิงตั้งครรภ์แต่ละรายย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย พันธุกรรม ปัจจัยเสี่ยง ทั้งนี้ คุณแม่ควรศึกษาและทำความเข้าใจถึงภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดเพื่อเตรียมรับมือกับภาวะนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้

[embed-health-tool-due-date]

ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด อาจทำให้คุณแม่หรือทารกพบอาการต่าง ๆ ดังนี้

  1. ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำรั่ว หรือแตกเองก่อนเจ็บครรภ์คลอด โดยอาจเกิดขึ้นก่อนที่ครรภ์จะครบกำหนด 37 สัปดาห์ สาเหตุเกิดจากภาวะติดเชื้อโรคที่ช่องทางคลอด หากเข้ารับการดูแลโดยคุณหมอทันเวลา คุณแม่และทารกมีโอกาสที่จะรอดชีวิต
  2. ภาวะการขาดออกซิเจนแรกคลอด ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และอาจทำให้ทารกเสียชีวิตระหว่างคลอดได้
  3. ภาวะคอติดไหล่ เกิดขึ้นเมื่อศีรษะของทารกได้หลุดผ่านออกมาทางช่องคลอดแล้ว แต่ไหล่ข้างใด ข้างหนึ่งยังคงติดอยู่ในตัวแม่ ทำให้ลูกน้อยไม่สามารถหลุดออกมาได้ในทันที อาจต้องใช้เวลาและความเชี่ยวชาญของคุณหมอที่ทำคลอด
  4. เลือดออกมามากเกินไป มดลูกไม่หดตัวส่งผลให้มีเลือดออกมาก ซึ่งการตกเลือดดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของคุณแม่ เนื่องจากคุณแม่มีเลือดออกมากจนเกินไป
  5. แผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บที่เกิดจากการคลอด ช่องคลอด และเนื้อเยื่อรอบ ๆ มีแนวโน้มที่จะฉีกขาดได้ในระหว่างขั้นตอนการคลอดลูกน้อย หากมีการฉีกที่รุนแรง แพทย์จะทำการเย็บแผลให้
  6. การคลอดไม่เป็นไปตามแผน เป็นลักษณะการหดรัดตัวของมดลูก คือปากมดลูกขยายได้ช้า ทำให้ทารกไม่สามารถออกมาได้ หรือบางครั้งตัวของทารกมีขนาดใหญ่เกินไป หากคุณแม่ไม่สามารถคลอดได้โดยธรรมชาติ แพทย์จะทำการผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ และทารก
  7. ปัญหาเกี่ยวกับสายสะดือ/สายรกพันคอ (Nuchal Cord) – รกเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนอาหาร และออกซิเจนระหว่างคุณแม่สู่ทารกในครรภ์ โดยรกจะติดอยู่กับผนังด้านในของมดลูก และมีสายสะดือเป็นตัวเชื่อมระหว่างรก กับลูกน้อย ซึ่งปัญหาสายรกพันคอนั้น เกิดจากทารกในครรภ์เคลื่อนไหว และเตะภายในมดลูก จึงทำให้มีโอกาสที่สายรกพันรอบตัวลูกน้อยหรือพันคอ ซึ่งอาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจของทารกลดลง และเป็นอันตราย เสี่ยงเสียชีวิตได้หากถึงมือคุณหมอไม่ทันการณ์

สาเหตุของภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด  

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดมีหลายประการ รวมทั้งกลุ่มเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์ที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่

  • ปัญหาจากทางพันธุกรรม เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของยีนตัวใดยีนหนึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดได้
  • ปัญหาโครโมโซม บางรายโครโมโซม หรือบางส่วนของโครโมโซมอาจหายไปในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดได้
  • การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในโพรงมดลูก การติดเชื้อในช่องคลอด
  • การได้รับยา หรือสารเคมี รวมไปถึงสารอื่น ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์
  • แม่ตั้งครรภ์ที่มีมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
  • แม่ตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง

วิธีรับมือกับภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด 

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดส่งผลต่อกระทบได้ต่อทั้งมารดาและทารก โดยในบางราย อาจเกิดการเสียชีวิตของมารดาหรือทารกคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคน เพราะมีความเสี่ยงสูงจากภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ภาวะตกเลือดของมารดา ทารกขาดออกซิเจนนานเกินไป

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นกับเมื่อใดหรือกับใครบ้าง ก่อนการคลอด คุณแม่ตั้งครรภ์ควรตั้งสมาธิ ประคับประคองสติให้ดี และฟังคำแนะนำของคุณหมอและพยาบาลที่ทำคลอดในเวลานั้น และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What are some common complications during labor and delivery. https://www.nichd.nih.gov/health/topics/labor-delivery/topicinfo/complications. Accessed April 7, 2022.

Introduction to Complications of Labor and Delivery. https://www.msdmanuals.com/home/women-s-health-issues/complications-of-labor-and-delivery/introduction-to-complications-of-labor-and-delivery. Accessed April 7, 2022.

What Are Common Labor and Delivery Complications?. https://www.webmd.com/baby/understanding-labor-delivery-complications-detection-treatment#1. Accessed April 7, 2022.

Preeclampsia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/preeclampsia/symptoms-causes/syc-
20355745. Accessed April 7, 2022.

What causes birth defects?. https://www.nichd.nih.gov/health/topics/birthdefects/conditioninfo/causes. Accessed April 7, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคชีแฮน ภาวะตกเลือดมากขณะคลอดหรือหลังคลอด

เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด สัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยง และวิธีป้องกัน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา