backup og meta

ภาวะทารกเครียดขณะคลอด สาเหตุ อาการ และการรักษา

ภาวะทารกเครียดขณะคลอด สาเหตุ อาการ และการรักษา

ภาวะทารกเครียดขณะคลอด (Fetal Distress) เกิดจากภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด เช่น มดลูกแตก ครรภ์เป็นพิษ คลอดติดไหล่ ทารกไม่ยอมกลับหัว ส่งผลให้ทารกได้รับออกซิเจนไม่พอในระหว่างคลอด และอาจเสี่ยงต่อ การเสียชีวิตได้ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันการเสียชีวิตของคุณแม่และทารกในครรภ์

[embed-health-tool-due-date]

ภาวะทารกเครียดขณะคลอด คืออะไร

ภาวะทารกเครียดขณะคลอด หรือ ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน หมายถึง ภาวะที่ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจนมากขึ้น เนื่องจากได้รับปริมาณออกซิเจนที่ไม่เพียงพอระหว่างตั้งครรภ์หรือระหว่างการคลอด

ภาวะนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด อย่างไรก็ตาม ยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับภาวะนี้กันอยู่เนื่องจากความคลุมเครือของคำศัพท์ แต่ส่วนใหญ่อาจพบในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

อาการของ ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน

อาจมีสัญญาณของ ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน หรืออาการดังกล่าวต่อไปนี้

  • ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง หรือมีความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ
  • มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ โดยมีสีน้ำตาลแกมเขียว หรือมีน้ำคร่ำในครรภ์น้อยเกิน
  • การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ผิดปกติ

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรไปพบคุณหมอตามเวลานัดในแต่ละไตรมาส แต่ถ้าหากเริ่มมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบไปพบคุณหมอทันที

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์

สาเหตุของ ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน

สาเหตุของ ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน อาจมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะนี้ขึ้น ได้แก่

  • คุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อนทางด้านสุขภาพ เช่น เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • ภาวะคลอดติดไหล่
  • อายุครรภ์เกินกำหนดคลอด
  • คุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุมากเกิน 35 ปีขึ้นไป
  • คุณแม่ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง
  • มดลูกแตก
  • สายสะดือย้อย
  • ทารกอยู่ในท่า หรือตำแหน่งที่ผิดปกติ

ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยของ ภาวะทารกเครียดขณะคลอด คือ ทารกไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ เนื่องจากมีปัญหากับรกหรือปัญหาเกี่ยวกับสายสะดือ โดยสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นก็อาจเกิดขึ้นได้เหมือนกัน

ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน

โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็น ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน อาจเป็นผลมาจากการกระทำของคุณแม่ เช่น

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในนี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะทารกเครียดขณะคลอด

สำหรับการวินิจฉัยภาวะทารกเครียดขณะคลอด แพทย์จะตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (NST) ที่สามารถรับรู้หากทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จากนั้นจะทำการอ่านค่า รวมไปถึงดูการตอบสนองของทารกในครรภ์

การรักษาภาวะทารกเครียดขณะคลอด

การรักษา ภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน แพทย์จะดูอาการของคุณแม่ รวมไปถึงทารกในครรภ์ และดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ได้แก่

  • การเปลี่ยนตำแหน่งของคุณแม่ เช่น พลิกตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง
  • การให้ยาเพื่อชะลอการหดตัว
  • การให้ออกซิเจน เพื่อให้คุณแม่มีออกซิเจนที่เพียงพอ
  • การใส่ของเหลวเข้าไปในโพรงน้ำคร่ำ เพื่อบรรเทาการบีบอัดของสายสะดือ

อย่างไรก็ตาม บางกรณีอาจจำเป็นต้องผ่าคลอดฉุกเฉิน โดยอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ที่ทำการรักษาในขณะนั้น หากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้นขณะคลอด การคลอดของคุณก็จะดำเนินไปอย่างราบรื่น

การรับมือภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณรับมือกับภาวะทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน

แม้ว่าภาวะทารกเครียดขณะคลอดจะไม่สามารถป้องกันให้เกิดขึ้นได้ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์อาจสามารถช่วยลดปัจจัยที่จะเกิดขึ้นได้ โดยการไปหาคุณหมอตามนัดทุกครั้ง และควรปฎิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอเพื่อสุขภาพที่ดีขณะตั้งครรภ์ รวมไปถึงการสอบถามข้อมูลอื่น ๆ หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีข้อสงสัยต่าง ๆ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Fetal Distress. https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/labor-and-birth/fetal-distress/. Accessed August 6, 2021

Fetal Distress During Pregnancy and Labor. https://www.whattoexpect.com/pregnancy/pregnancy-health/complications/fetal-distress.aspx. Accessed August 6, 2021

Fetal Distress. https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/fetus-distress. Accessed August 6, 2021

What is fetal distress?. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/fetal-distress. Accessed August 6, 2021

Non-reassuring fetal status: Case definition & guidelines for data collection, analysis, and presentation of immunization safety data. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0264410X16300263?via%3Dihub. Accessed August 6, 2021

Fetal Heart Rate Monitoring During Labor. https://www.acog.org/womens-health/faqs/fetal-heart-rate-monitoring-during-labor?utm_source=redirect&utm_medium=web&utm_campaign=int. Accessed August 6, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/02/2023

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด มีอะไรบ้าง รับมืออย่างไร

Dehydration คือ ภาวะขาดน้ำ อันตรายที่หญิงตั้งครรภ์ต้องระวัง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา