backup og meta

ผื่น คน ท้อง มีอะไรบ้าง และเป็นอันตรายหรือไม่

ผื่น คน ท้อง มีอะไรบ้าง และเป็นอันตรายหรือไม่

ผื่น คน ท้อง มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ผิวหนังอักเสบ การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือเกิดจากการติดเชื้อทางผิวหนัง ซึ่งผื่นแดงช่วงตั้งครรภ์นั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น ผื่นลมพิษในช่วงตั้งครรภ์ ผื่นตั้งครรภ์ชนิดเพมพิกอยด์ รวมถึงอาการคันช่วงตั้งครรภ์ แม้ปัญหาเหล่านี้จะไม่เป็นอันตรายต่อแม่และเด็ก แต่ก็อาจทำให้เกิดความรำคาญใจได้

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

ผื่น คน ท้อง มีอะไรบ้าง

ผื่นคนท้องอาจไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ แต่อาจเกิดขึ้นจากปัญหาอื่น ๆ เช่น ผิวหนังอักเสบ การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือเกิดจากการติดเชื้อทางผิวหนัง ซึ่งผื่นเหล่านี้มักจะไม่เป็นอันตรายกับแม่และเด็ก แต่ผื่นเหล่านี้ก็สร้างความน่ารำคาญให้กับคุณแม่ แต่ภาวะตั้งครรภ์บางอย่างก็อาจทำให้เกิดผื่นคันได้ เช่น

ผื่นลมพิษในช่วงตั้งครรภ์ 

ผื่นลมพิษในช่วงตั้งครรภ์  (Pruritic Urticarial Papules And Plaques Of Pregnancy หรือ PUPPP) นั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 โดยจะเกิดขึ้นในคุณแม่ตั้งครรภ์เพียงหนึ่งใน 130-300 คน อาการในช่วงแรก ๆ นั้นจะเริ่มมีรอยแดงและมีอาการคันที่บริเวณท้อง ใกล้ ๆ กับรอยแตกลาย

บางครั้งผื่นนี้อาจจะแพร่กระจายไปที่แขน ขา และบริเวณก้น โดยปกติแล้วผื่นคันชนิดนี้มักจะไม่เกิดบริเวณคอ หน้า มือ และเท้า ผื่นลมพิษเป็นผื่นที่อาจพบได้ทั่วไปในคุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ในครั้งแรก หลังจากที่คลอดบุตร ผื่นลมพิษที่เกิดขึ้นอาจค่อย ๆ หายไปเอง และไม่มีผลต่อทารกในครรภ์

ผื่นตั้งครรภ์ชนิดเพมพิกอยด์ 

ผื่นคนท้องชนิดเพมพิกอยด์ (Pemphigoid Gestationis) เป็นภาวะแพ้ภูมิตัวเองซึ่งมักพบได้ยาก โดยมักจะพบในหญิงตั้งครรภ์เพียง 1 ใน 50,000 คนเท่านั้น โดยทั่วไปแล้วภาวะนี้มักจะพบในหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ในช่วงไตรมาสที่ 1 อาจพบได้แต่น้อย ซึ่งผื่นที่เกิดขึ้นนั้นมักจะมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส ๆ จากนั้นจะค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น จนกลายเป็นแผลพุพองขนาดใหญ่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นทั่วร่างกาย บริเวณรอบ ๆ สะดือ และอาจลามไปยังแขน ขา บางครั้งอาจลามไปที่มือและฝ่าเท้าได้ด้วย

อาการคันในช่วงตั้งครรภ์

อาการคันในช่วงตั้งครรภ์ (Prurigo Of Pregnancy) อาจเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงไตรมาสของการตั้งครรภ์ อาการคันในช่วงตั้งครรภ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงตั้งครรภ์ 1 ใน 300 คน อาการคันเหล่านี้แม้ว่าจะคลอดบุตรแล้ว ก็อาจจะมีอาการต่อเนื่องอีกหลายสัปดาห์หรือว่าเป็นเดือน ผื่นคันชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นตุ่มแดง และมีอาการคันบริเวณหน้าท้อง แขน หรือขา ซึ่งการรักษาหรือบรรเทาอาการคัน สามารถใช้ยาสเตียรอยด์ (Steriod) หรือครีมเพิ่มความชุ่มชื่นได้ ทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนการใช้ยา สำหรับภาวะคันเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้อีกหากคุณตั้งครรภ์ลูกคนต่อไป

ผื่นคันชนิดอิมเพทิโก

ผื่นคนท้องชนิดอิมเพทิโก (Impetigo Herpetiformis) เป็นผื่นที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป ผื่นคันชนิดนี้เป็นผื่นที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ ส่วนของร่างกาย โดยผื่นคันจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง มีการอักเสบ และเป็นเกล็ด โดยที่จะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย มีไข้ มีปัญหาที่ต่อมน้ำเหลือง หลังจากคลอดผื่นชนิดนี้อาจหายไปเอง และไม่ส่งผลต่อทารกในครรภ์

เมื่อไหร่ควรพบคุณหมอ

โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการผื่นคันที่เกิดขึ้นเหล่านี้อาจบรรเทาให้ดีขึ้นด้วยการทาครีมเพิ่มความชุ่มชื่น ดื่มน้ำให้เพียงพอ อยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้จะดีขึ้นเมื่อคลอดบุตรแล้ว แต่หากมีอาการคันมาก ๆ ผิวหนังเริ่มเป็นสีเหลือง มีอาการเจ็บป่วย หรือมีไข้ร่วมกับอาการผื่นคัน คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอ เพื่อไม่ให้อาการเหล่านั้นแย่ลง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Rash during pregnancy. https://www.babycenter.com/pregnancy/your-body/rash-during-pregnancy_20000161. Accessed May 30, 2023.

Skin Problems of Pregnancy. https://www.webmd.com/baby/features/skin-problems-of-pregnancy#1. Accessed May 30, 2023.

6 skin problems that can develop during pregnancy. https://utswmed.org/medblog/pregnancy-rash-skin-conditions/. Accessed May 30, 2023.

Skin Conditions During Pregnancy. https://www.webmd.com/baby/skin-conditions-pregnancy. Accessed May 30, 2023.

Polymorphic eruption of pregnancy. https://dermnetnz.org/topics/polymorphic-eruption-of-pregnancy. Accessed May 30, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/06/2024

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคชีแฮน ภาวะตกเลือดมากขณะคลอดหรือหลังคลอด

ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 30/06/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา