backup og meta

Premium

ประจำเดือนไม่มา 3 เดือน เกิดจากสาเหตุอะไร

ประจำเดือนไม่มา 3 เดือน เกิดจากสาเหตุอะไร

ประจำเดือนของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ส่วนใหญ่จะมาทุก ๆ 21-35 วัน หรืออาจมาคลาดเคลื่อนไม่เกิน 7 วัน แต่หากประจำเดือนไม่มา 3 เดือน ก็อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระดับฮอร์โมนไม่สมดุล ความเครียด การตั้งครรภ์ หรืออาจเป็นสัญญาณบ่งบอกอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้น ผู้ที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนไม่มา 3 เดือน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและหาสาเหตุให้แน่ชัด 

[embed-health-tool-ovulation]

ประจำเดือน คืออะไร

ประจำเดือน คือ เลือดที่ไหลออกมาจากทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือนเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการสืบพันธุ์ของร่างกาย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยสมองจะสั่งให้ต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิกับอสุจิแล้ว แต่ถ้าหากไข่ไม่มีการปฏิสนธิกับอสุจิ เยื่อบุมดลูกก็จะหลุดลอกออกมากลายเป็นประจำเดือน โดยปกติประจำเดือนจะมาประมาณ 4-6 วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

สาเหตุประจำเดือนไม่มา 3 เดือน 

ประจำเดือนไม่มา 3 เดือน อาจมีสาเหตุหลายปัจจัยดังนี้  

  • การตั้งครรภ์

อาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาได้ ทั้งนี้ ควรตรวจให้แน่ชัดว่าตั้งครรภ์หรือไม่ โดยซื้อที่ตรวจครรภ์จากร้านขายยา หรือเพื่อความมั่นใจควรไปตรวจที่โรงพยาบาล การตรวจการตั้งครรภ์ สามารถตรวจจากปัสสาวะหรือเลือด เพื่อวัดระดับฮอร์โมน HCG ที่เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ของรก

  • การให้นมบุตร

เนื่องจากโพรแลคติน (Prolactin) ที่เป็นฮอร์โมนสำหรับการผลิตน้ำนมอาจส่งผลยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนสืบพันธุ์ ทำให้ช่วงให้นมบุตรอาจยังไม่มีการตกไข่

  • การรับประทานยาคุมกำเนิด

ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดอาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มา แม้จะหยุดรับประทานแล้วก็ตาม ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักระยะที่ประจำเดือนจะกลับมาเป็นปกติ เนื่องจากร่างกายมีการปรับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน

  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยารักษาจิตเวท ยาต้านซึมเศร้า ยารักษาโรคภูมิแพ้ ยาลดความดันโลหิต เนื่องจากตัวยาอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน 

  • น้ำหนักตัวน้อยกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

การมีน้ำหนักน้อยหรือมากกว่ามาตรฐานอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย และอาจไปยับยั้งการตกไข่ได้ โดยผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือโรคอ้วนนั้นส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลกัน  และผู้ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เนื่องจากอาจไม่มีสารอาหารไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก จนอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

  • ความเครียด

เนื่องจากความเครียดอาจเปลี่ยนแปลงการทำงานของไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งอยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน และหลั่งฮอร์โมนหลายชนิดที่อาจเกี่ยวข้องกับการมาของประจำเดือน การทำงานของไฮโปทาลามัสที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะความเครียดอาจส่งผลให้การตกไข่และการมีประจำเดือนอาจคลาดเคลื่อน ทั้งนี้ หากความเครียดลดลงประจำเดือนก็อาจกลับมาเป็นปกติ 

  • การออกกำลังกายหนักเกินไป

การออกกำลังกายหนักเกินไป อาจไปรบกวนการทำงานของต่อมใต้สมอง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการตกไข่และประจำเดือน

  • ปัญหาสุขภาพ

ปัญหาสุขภาพและโรคต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เนื้องอกใต้สมอง 

  • วัยใกล้หมดประจำเดือน

มักจะพบได้ในผู้ที่มีอายุประมาณ 40-50 ปีขึ้นไป เนื่องจากการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง รังไข่หยุดการตกไข่ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้สิ้นสุดการมีประจำเดือน 

ประจำเดือนไม่มา 3 เดือน ควรทำอย่างไร

  • ตรวจการตั้งครรภ์ หากประจำเดือนขาด อาจหมายถึงการตั้งครรภ์ ดังนั้น จึงควรตรวจครรภ์ให้ทราบแน่ชัดว่าตั้งครรภ์หรือไม่ โดยสามารถหาซื้อที่ตรวจครรภ์ได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือเข้ารับการตรวจครรภ์โดยคุณหมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียด อาจหาเวลาว่างไปเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง หางานอดิเรกทำ เป็นต้น รวมถึงการนอนหลับพักผ่อน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่หักโหมจนเกินไป เพราะอาจส่งผลทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลและประจำเดือนอาจมาผิดปกติได้ ซึ่งอาจออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/วันด้วยการ วิ่ง เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ โยคะ แอโรบิค เป็นต้น 
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Absent menstrual periods – secondary. https://medlineplus.gov/ency/article/001219.htm. Accessed May 30, 2023.

Amenorrhea. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/amenorrhea/symptoms-causes/syc-20369299. Accessed May 30, 2023.

Amenorrhea: An Approach to Diagnosis and Management. https://www.aafp.org/afp/2013/0601/p781.html. Accessed May 30, 2023.

Menstrual Cycle. https://www.womenshealth.gov/a-z-topics/menstruation-and-menstrual-cycle. Accessed May 30, 2023.

All About Periods. https://kidshealth.org/en/teens/menstruation.html. Accessed May 30, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/06/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการท้อง ที่ควรสังเกต เตรียมตัวตั้งครรภ์

อาการคนท้องแรกๆ กับวิธีการสังเกต


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 02/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา