backup og meta

การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ในแต่ละสัปดาห์ ที่คุณแม่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/02/2022

    การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ในแต่ละสัปดาห์ ที่คุณแม่ควรรู้

    การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ อาจเกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 และสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งผู้ที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกอาจจะต้องใช้ระยะเวลาถึงจะรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ แต่หากในสัปดาห์ที่ 24 ทารกยังไม่มีการเคลื่อนไหว ควนเข้าพบคุณหมอทันที เพื่อทำการอัลตราซาวด์ ตรวจสุขภาพครรภ์ และสุขภาพของลูกในครรภ์

    ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวครั้งแรกเมื่อใด

    การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์อาจเกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 และสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกนั้น ระยะแรกอาจต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งจึงจะรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวที่เบามาก เป็นเพียงความรู้สึกกระดุกกระดิกเพียงเล็กน้อย สำหรับผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์มาแล้ว อาจจะสังเกตถึงการเคลื่อนไหวได้เร็วกว่า

    ดังนั้น หากทารกไม่มีการเคลื่อนไหวในสัปดาห์ที่ 24 ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจร่างกาย อัลตราซาวด์ และการตรวจต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทารกในครรภ์มีสุขภาพดี

    การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์

    สำหรับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ อาจเกิดขึ้นตามลำดับดังต่อไปนี้

    • สัปดาห์ที่ 12 เป็นช่วงเวลาที่เป็นไปได้ สำหรับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ อย่างไรก็ดี คุณแม่ตั้งครรภ์อาจยังรู้สึกไม่ได้ถึงการเคลื่อนไหว เนื่องจากลูกยังตัวเล็กอยู่
    • สัปดาห์ที่ 16 คุณแม่ตั้งครรภ์อาจเริ่มสัมผัสได้ถึงความเคลื่อนไหวภายในครรภ์ ซึ่งเป็นความรู้สึกเคลื่อนไหวคล้ายผีเสื้อตัวเล็ก ๆ บางคนอาจเข้าใจผิดว่ามีแก๊สในกระเพาะอาหาร แต่ความจริงแล้วเป็นการเคลื่อนไหวของทารก
    • สัปดาห์ที่ 20 ในช่วงนี้พัฒนาการของทารกในครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ทารกอาจจะมีการเคลื่อนไหวที่เร็วขึ้นซึ่งคุณแม่อาจรู้สึกได้อย่างชัดเจน
    • สัปดาห์ที่ 24 การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เริ่มชัดเจนมากขึ้น คุณแม่อาจรู้สึกได้ถึงอาการสะอึกของทารกในครรภ์ ซึ่งอาจเป็นอาการกระตุกเบา ๆ
    • สัปดาห์ที่ 28 ในช่วงนี้ทารกในครรภ์อาจมีการเคลื่อนไหวมากและบ่อยขึ้น อาจมีการเตะหรือต่อยอยู่ภายในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเจ็บหรือเหนื่อยล้าได้
    • สัปดาห์ที่ 36 ทารกในครรภ์จะตัวใหญ่ขึ้น และมีพื้นที่ในครรภ์ที่เล็กลง ซึ่งจำกัดการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม หากการเคลื่อนไหวตามปกติของทารกในครรภ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด ให้แจ้งคุณหมอทันที ถึงแม้ว่าทารกในครรภ์จะมีการเคลื่อนไหวน้อยลง อย่างน้อยคุณแม่ก็ควรจะรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งวัน

    จำนวนการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์

    ยังไม่มีการศึกษาที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับจำนวนการเคลื่อนไหวของทารกในแต่ละวัน นอกจากนี้ หากคุณแม่จดบันทึกหรือทำข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ อาจช่วยให้สังเกตการเคลื่อนไหวของทารกรวมถึงอาจน้ำข้อมูลที่บันทึกไว้นำไปพูดคุยกับคุณหมอได้ด้วย สำหรับรูปแบบการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์อาจมีความสัมพันธ์กับเวลาตื่นนอนของพวกเขา ซึ่งอาจช่วยให้รับรู้ได้ถึงการเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น รูปแบบการตื่นนอนและการนอนอาจแตกต่างกันออกไปในทารกแต่ละราย ทั้งนี้ คุณแม่ควรพยายามสังเกตรูปแบบการเคลื่อนไหวตามปกติของทารก เพื่อให้ทราบว่ามีความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรเข้าปรึกษาคุณหมอทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/02/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา