backup og meta

การหายใจของทารกในครรภ์ เรื่องน่ารู้ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

การหายใจของทารกในครรภ์ เรื่องน่ารู้ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

การหายใจของทารกในครรภ์ นั้นเกี่ยวข้องกับผู้เป็นแม่โดยตรง เนื่องจากทารกไม่สามารถหายใจทางจมูกหรือทางปากได้เอง เพราะระหว่างที่อยู่ในครรภ์นั้น ทารกเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยน้ำคร่ำ ดังนั้น ทารกจึงหายใจและได้รับออกซิเจนผ่านทางรกของผู้เป็นแม่ การหายใจเข้าและออกของคุณแม่จึงสำคัญต่อทารกมากกว่าที่คิด

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การหายใจของทารกในครรภ์

คนเราหายใจอย่างไร

การหายใจปกติ ทั้งการหายใจเข้าและออก ต้องอาศัยปอดในการส่งอากาศที่มีออกซิเจนไปยังหลอดเลือด เพื่อส่งเข้าสู่กระแสเลือด การกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากกระแสเลือด และส่งสารอาหารภายในร่างกายก็ใช้กลไกเดียวกัน แต่สำหรับ การหายใจของทารกในครรภ์ นั้นจะแตกต่างออกไป เพราะระบบการไหลเวียนโลหิตของทารกในครรภ์กำลังพัฒนา สายสะดือและรกที่เชื่อมระหว่างแม่กับทารกจึงต้องทำหน้าที่แทนปอด

อวัยวะที่ทารกใช้หายใจแทนปอด

ปอดและระบบทางเดินหายใจ จะเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์ และพัฒนาการต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงช่วงวัยเด็กตอนต้น ทารกในครรภ์จึงต้องแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์กับผู้เป็นแม่ ผ่านรกและสายสะดือ สารอาหารต่าง ๆ จากแม่ จะถูกส่งต่อไปยังทารกผ่านเลือดที่อยู่ในสายรก

โดยสายรกจะเชื่อมกับผนังมดลูกของแม่และสายสะดือของทารก แม่ทำหน้าที่หายใจเพื่อทารกในครรภ์ เมื่อผู้เป็นแม่หายใจเข้า เพื่อรับเอาอากาศที่มีออกซิเจน และส่งต่อออกซิเจนที่ได้รับไปยังทารกผ่านทางรกและสายสะดือโดยอาศัยระบบไหลเวียนโลหิต ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากทารกก็จะถูกส่งไปยังผู้เป็นแม่ผ่านทางสายสะดือและรก เพื่อทำการหายใจออก และขจัดของเสียออกจากร่างกาย

การฝึกการหายใจกับสารลดแรงตึงผิว

แม้ว่าทารกในครรภ์จะยังหายใจเพื่อรับเอาอากาศเข้าไปในร่างกายเองไม่ได้ แต่เริ่มฝึกการหายใจตั้งแต่อยู่ในครรภ์ กระบวนการนี้เรียกว่า “การหายใจของทารก (Fetal Breathing Movement หรือ FBM)” โดยจะเริ่มในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 8-10 สัปดาห์ เรื่อยไปจนถึงช่วงเจ็บครรภ์คลอด หรือระยะที่มดลูกเริ่มหดรัดตัว

ทารกจะเริ่มเคลื่อนไหวในลักษณะคล้ายการหายใจ และฝึกหายใจเมื่อใกล้คลอด โดยทารกจะหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าออก การฝึกหายใจในขณะอยู่ในครรภ์ จะช่วยให้ทารกที่คลอดออกมา หายใจเป็นและหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายของผู้เป็นแม่จะสร้างสารลดแรงตึงผิวในน้ำคร่ำ และสารนี้จะเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุครรภ์ สารลดแรงตึงผิวนี้จะเคลือบภายในปอดของทารก ทำให้ถุงลมในปอดเปิด และป้องกันภาวะปอดล้มเหลว

การหายใจครั้งแรกของทารก

ทารกหายใจครั้งแรกด้วยตนเองเมื่อร้องหลังจากลืมตาดูโลก ทารกมักร้องออกมาด้วยตนเอง ในขณะที่เด็กคลอดก่อนกำหนดอาจต้องอาศัยการกระตุ้นจากแพทย์หรือพยาบาลจึงจะร้องออกมาได้

เมื่อสายสะดือถูกตัด ทารกจะเริ่มใช้ปอดในการหายใจด้วยตนเอง โดยการหายใจเข้าและออก เพื่อให้ปอดขยาย และขับเอาน้ำคร่ำออกมา เลือดจะไหลเวียนภายในปอดและเส้นเลือด ส่งผลให้ออกซิเจนไหลเวียนทั่วร่างกาย และคาร์บอนไดออกไซด์ถูกขับออกมาอย่างเป็นปกติ แต่หากทารกแรกเกิดไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจไปจนกว่าจะสามารถหายใจเองได้

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Changes in the newborn at birth. https://medlineplus.gov/ency/article/002395.htm. Accessed February 15, 2022.

Fetus Breathing. https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/fetus-breathing. Accessed February 15, 2022.

How Do Babies Breathe in the Womb?. http://www.livestrong.com/article/27084-babies-breathe-womb/. Accessed February 15, 2022.

How do babies breathe in the womb, and how do they become oxygen-deprived?. https://www.abclawcenters.com/frequently-asked-questions/how-do-babies-breathe-in-the-womb-and-how-can-fetuses-be-deprived-of-oxygen/. Accessed February 15, 2022.

Do Babies Cry Within the Womb?. https://www.verywellfamily.com/do-babies-cry-in-the-womb-4155181. Accessed February 15, 2022.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/02/2024

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อีสุกอีใสขณะตั้งครรภ์ เรื่องอันตรายที่คุณแม่ควรระวัง

ความเครียดตอนท้อง ส่งผลอย่างไรต่อทารกในครรภ์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 26/02/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา