backup og meta

คนท้องกินโซดาได้ไหม จะเป็นอันตรายหรือไม่

คนท้องกินโซดาได้ไหม จะเป็นอันตรายหรือไม่

คนท้องกินโซดาได้ไหม อาจเป็นคำถามที่อยู่ในใจคุณแม่ตั้งครรภ์หลายคน ความจริงแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถดื่มโซดาหรือน้ำอัดลมได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ควรจำกัดปริมาณการดื่มน้ำอัดลม เนื่องจากน้ำอัดลมมีน้ำตาลและคาเฟอีนในปริมาณสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ นอกจากนี้ การดื่มน้ำอัดลมมากกว่า 1 แก้วต่อวันในช่วงตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดได้อีกด้วย

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

คนท้องกินโซดาได้ไหม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

1.อาจส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และความจำของเด็ก

งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร the American Journal of Preventive Medicine ให้ข้อมูลว่า ผู้หญิงตั้งครรภ์อาจต้องการหยุดบริโภคโซดาและน้ำอัดลม เพราะอาจส่งผลถึงมีทักษะการเรียนรู้และความจำของลูกที่คลอดออกมา

เนื่องจากงานวิจัยพบว่า เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์บริโภคน้ำตาลมาก โดยเฉพาะน้ำตาลจากการดื่มน้ำอัดลม สามารถทำให้เด็กมีคะแนนสติปัญญาระดับโลกต่ำได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ทางวาจาและทักษะที่ไม่ใช่คำพูด

ส่วนน้ำอัดลมที่แคลอรี่ร้อยละ 0 ก็ไม่ถือว่าดีกว่าน้ำอัดลมทั่วไป และการดื่มน้ำอัดลมในช่วงตั้งครรภ์ อาจสัมพันธ์กับความสามารถในการมองเห็นของเด็ก

2.คาเฟอีนในโซดา น้ำอัดลม

หนึ่งในเหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม ในช่วงตั้งครรภ์เนื่องจากน้ำอัดลมมีคาเฟอีน งานวิจัยจากสมาคมการตั้งครรภ์แห่งอเมริกา (American Pregnancy Association) ให้ข้อมูลว่า ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่บริโภคคาเฟอีนมากกว่า 300 มิลลิกรัม สามารถนำไปสู่การแท้ง

ดังนั้น จึงควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับ นอกจากนี้ คาเฟอีนสามารถทำให้คุณแม่นอนไม่หลับ และยังส่งผลต่อระดับแคลเซียมในร่างกาย ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟันของทารกในภายหลัง

3.การเพิ่มสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

งานวิจัยแนะนำว่าไม่ควรดื่มน้ำอัดลมในปริมาณมากที่มีการแต่งสีและรสชาติ เนื่องจากน้ำตาลเทียม (saccharin) ในน้ำอัดลมอาจนำไปสู่การพิการแต่กำเนิดของทารก อย่างไรก็ตามคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรอ่านฉลากข้อมูลโภชนาการของน้ำอัดลมว่ามีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อทารกหรือเปล่า

4.ไม่มีสารอาหาร และมีแคลอรี่ที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร

น้ำอัดลมมีสารอาหารน้อยมาก และสารอาหารเหล่านั้นอาจไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ นอกจากนี้น้ำอัดลมยังมีแคลอรี่ที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร และไม่มีวิตามินและแร่ธาตุที่ต้องการเพื่อการพัฒนาการของทารก อย่างไรก็ตามในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ติดน้ำอัดลม การจิบเพียงเล็กน้อยเป็นบางครั้งบางคราวอาจไม่เป็นอันตราย

5.น้ำอัดลมอาจกระตุ้นอาการกรดไหลย้อน

น้ำอัดลมสามารถทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ หรือทำให้อาการแย่ลง เนื่องจากมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า คาเฟอีนที่อยู่ในน้ำอัดลมอาจทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ถ้าคุณแม่มีอาการกรดไหลย้อนหลังจากการดื่มน้ำอัดลม ควรหยุดดื่มน้ำอัดลมทันที

คุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มน้ำอัดลม ได้ในปริมาณเท่าไหร่

American College of Obstetricians and Gynecologists แนะนำว่าควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนในช่วงตั้งครรภ์ โดยไม่ควรบริโภคคาเฟอีนเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งน้ำอัดลมโดยปกติจะมีคาเฟอีน 35-55 มิลลิกรัม คุณแม่ตั้งครรภ์ที่อาจต้องนับปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับจากอาหาร เช่น กาแฟ ชา ช็อกโกแลต หรือเครื่องดื่มชูกำลัง และควรระวังไม่ให้ปริมาณคาเฟอีนเกินปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Soda During Pregnancy May Not Help Baby’s Brain. https://www.webmd.com/baby/news/20180427/soda-during-pregnancy-may-not-help-babys-brain#1. Accessed on November 22, 2018.

Association Between Artificially Sweetened Beverage Consumption During Pregnancy and Infant Body Mass Index. https://jamanetwork.com/journals/jamapediatrics/fullarticle/2521471. Accessed January 31, 2022.

Effect of reducing caffeine intake on birth weight and length of gestation: randomised controlled trial. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1804137/. Accessed January 31, 2022.

Carbonated Soft Drinks: What You Should Know. https://www.fda.gov/food/buy-store-serve-safe-food/carbonated-soft-drinks-what-you-should-know. Accessed January 31, 2022.

Gestational Diabetes. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/gestational.html. Accessed January 31, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/08/2023

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

Dehydration คือ ภาวะขาดน้ำ อันตรายที่หญิงตั้งครรภ์ต้องระวัง

คุณแม่ตั้งครรภ์ทำงานบ้าน ได้หรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 15/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา