backup og meta

ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ มีสัญญาณและอาการอย่างไร

ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ เป็นอาการที่สามารถพบได้ในผู้หญิงหลายคน จากรายงานของสูตินรีแพทยสภาแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Congress of Obstetricians and Gynecologists หรือ ACOG) เปิดเผยว่าผู้หญิงร้อยละ 14 ถึง 23 มีอาการซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ เช่น วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ เซื่องซึม นอนน้อยหรือนอนมาก มีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น จึงควรสังเกตสัญญาณและอาการของซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ และเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาในทันที

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

ภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ เป็นอย่างไร

อาการซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ซึ่งเกิดขึ้นในผู้หญิง 1 ใน 4 ในบางช่วงเวลาของชีวิต ดังนั้น หากเกิดอาการ ซึมเศร้าตอนท้อง จึงถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่น่าตกใจคือ หลายคนเข้าใจผิดว่า อาการที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์เป็นเพียงความไม่สมดุลของฮอร์โมน จึงไม่มีการตรวจวินิจฉัยอาการซึมเศร้าในระหว่างตั้งครรภ์

ศัพท์ทางการแพทย์ของอาการนี้ คือ ภาวะซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ (Antepartum Depression) เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง โดยมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์

สัญญาณและอาการของภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์

หากคุณแม่มีอาการต่อไปนี้นานกว่า 2 สัปดาห์ อาจเป็นสัญญาณว่ามีภาวะซึมเศร้าก่อนการคลอด

  • การยึดติดกับความทุกข์
  • สมาธิลดลง
  • ปัญหาการนอน อาจมากหรือน้อยเกินไป
  • ความสนใจในกิจกรรมที่ชอบน้อยลง
  • มีความคิดฆ่าตัวตาย หรือสิ้นหวัง
  • วิตกกังวล
  • รู้สึกผิดหรือไร้ค่า
  • พฤติกรรมการรับประทานเปลี่ยนไป

สาเหตุของอาการ ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์

สาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าระว่างการตั้งครรภ์ มีดังนี้

  • ประวัติการเป็นโรคซึมเศร้าของคนในครอบครัว
  • ประวัติการแท้ง
  • ประวัติการใช้ความรุนแรง
  • ปัญหาด้านความสัมพันธ์
  • การรักษาภาวะมีบุตรยาก
  • ความเครียดในชีวิต
  • ปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้น

การรักษาภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์

วิธีการรักษาอาการซึมเศร้าของคุณแม่ตั้งครรภ์มีหลายวิธี เช่น

  • การเข้าสังคมเพื่อรับการสนับสนุนด้านจิตใจ
  • การบำบัดทางจิตส่วนตัว
  • การใช้ยา
  • การบำบัดด้วยแสง

หลายคนอาจรู้สึกกังวลกับการรักษาโดยการใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์ แต่คุณหมอจะเป็นผู้รับผิดชอบผลที่เกิดจากการใช้ยารวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและให้คำแนะนำที่ดีที่สุด

หากอยู่ในระหว่างการใช้ยาสำหรับอาการทางจิตอื่น ๆ ก่อนการตั้งครรภ์ ควรใช้อย่างต่อเนื่องหากคุณหมอไม่ได้สั่งให้หยุดยา การหยุดใช้ยาเองโดยทันที อาจมีความเสี่ยงทั้งต่อคุณแม่และทารก ปัญหาหลักคือ อาการจะแย่ลง ซึ่งนำไปสู่ปัญหาที่มากขึ้นสำหรับการตั้งครรภ์ เช่น น้ำหนักเพิ่มน้อย ความสัมพันธ์ที่ไม่แน่นแฟ้นกับทารกในครรภ์

ผลข้างเคียงของการใช้ยาต้านซึมเศร้า

การใช้ยาต้านซึมเศร้าเพื่อรักษาอาการอาจมีผลข้างเคียง ดังนี้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Depression During Pregnancy: Signs, Symptoms And Treatment http://americanpregnancy.org/pregnancy-health/depression-during-pregnancy/ Accessed June 08 , 2017

Depression during pregnancy https://www.babycenter.com/0_depression-during-pregnancy_9179.bc Accessed June 08 , 2017

Depression during pregnancy: You’re not alone https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/depression-during-pregnancy/art-20237875. Accessed March 24, 2022.

Depression in pregnancy. https://www.nhs.uk/pregnancy/keeping-well/depression/. Accessed March 24, 2022.

Depression During Pregnancy. https://www.acog.org/womens-health/faqs/depression-during-pregnancy. Accessed March 24, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/11/2022

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

Dehydration คือ ภาวะขาดน้ำ อันตรายที่หญิงตั้งครรภ์ต้องระวัง

โรคซึมเศร้าหลังคลอด ภัยเงียบที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไข 17/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา