backup og meta

เด็กคลอดก่อนกำหนด เกิดจากอะไร และป้องกันได้อย่างไร

เด็กคลอดก่อนกำหนด เกิดจากอะไร และป้องกันได้อย่างไร

เด็กคลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะที่ทารกซึ่งอยู่ในครรภ์มารดาคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงก่อนที่การตั้งครรภ์จะเสร็จสมบูรณ์ มักเกิดขึ้นกะทันหัน ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และในบางรายอาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ นอกจากนี้ เด็กคลอดก่อนกำหนดยังอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลในระยะสั้นหรือในระยะยาวได้

[embed-health-tool-due-date]

เด็กคลอดก่อนกำหนด เกิดจากอะไร

เด็กคลอดก่อนกำหนด (Preterm Birth) คือ เด็กทารกที่คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงก่อนที่การตั้งครรภ์จะเสร็จสมบูรณ์ มักเกิดขึ้นกะทันหัน ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และในบางรายอาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และเด็กทารกได้ โดยปกติแล้ว อายุการตั้งครรภ์จนถึงวันคลอดจะอยู่ที่ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน หากเด็กทารกลืมตาดูโลกตอนอายุครรภ์น้อยอาจมีพัฒนาการที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่และเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนของเด็กคลอดก่อนกำหนด ที่อาจส่งผลในระยะสั้นหรือในระยะยาวขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของทารกและการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด

ปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุที่ทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด แต่ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด อาจมีดังนี้

  • เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน
  • ตั้งครรภ์ลูกแฝด
  • ปฏิสนธินอกมดลูก
  • เคยทำแท้งหรือแท้งบุตรหลายครั้ง
  • ปัญหาเกี่ยวกับมดลูก ปากมดลูก หรือรก
  • ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศส่วนล่างหรือน้ำคร่ำ
  • ภาวะเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
  • น้ำหนักน้อยหรือน้ำหนักเกินก่อนตั้งครรภ์
  • เครียดมากเกินไป
  • ร่างกายมีอาการบาดเจ็บ
  • สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด หรือใช้ยาบางชนิดร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน การดูแลสุขภาพก่อนและขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งการดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมออาจช่วยลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดได้

วิธีป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด

แม้เด็กคลอดก่อนกำหนดมักจะเกิดขึ้นแบบกะทันหัน แต่วิธีเหล่านี้อาจช่วยป้องกันเด็กคลอดก่อนกำหนดได้ ดังนี้

เข้าพบคุณหมอเป็นประจำ

หากสงสัยหรือรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและฝากครรภ์โดยเร็วที่สุด และควรไปตรวจครรภ์ตามที่คุณหมอนัดทุกครั้ง รวมทั้งควรเข้ารับการตรวจคัดกรอง เพื่อตรวจสอบสุขภาพของตัวเองและทารกในครรภ์ตามที่คุณหมอแนะนำ

ดูแลสุขภาพตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและอาการบวมน้ำ รับประทานวิตามินบำรุงครรภ์ตามที่คุณหมอสั่ง ออกกำลังกายตามคำแนะนำของคุณหมอ รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงอาหารโซเดียมสูง อาหารน้ำตาลสูง หรือไขมันทรานส์

ดูแลสุขภาพจิตใจให้ดี

นอกจากการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ควรให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งอาจทำได้ด้วยการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น โยคะ เดิน นั่งสมาธิ ฟังเพลง อ่านหนังสือ แต่หากรู้สึกซึมเศร้าหรือมีความวิตกกังวลผิดปกติ ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที

ดูแลสุขภาพของทารกในครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรสุขภาพของทารกในครรภ์ ด้วยการงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่และไม่ใช้ยาเสพติด หากมีพฤติกรรมดังกล่าว ควรเลิกให้ได้โดยเร็วที่สุด

ป้องกันการติดเชื้อ

การติดเชื้อเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด จึงควรป้องกันการติดเชื้อด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ล้างมือบ่อย ๆ นอกจากนี้ ยังควรใส่ใจในเรื่องของการรับประทานอาหาร โดยควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ดิบ หรือนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ควรควบคุมโรคที่เป็นอยู่ให้ดีและแจ้งให้คุณหมอทราบ นอกจากนี้ คุณแม่บางคนที่อาจอยู่ในความสัมพันธ์ที่มีการทำร้ายร่างกาย หรือใช้ความรุนแรง อาจต้องออกมาจากความสัมพันธ์ เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของตัวเองและทารกในครรภ์ได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Preterm birth. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth. Accessed April 18, 2023

Causes and prevention of premature birth. https://www.aboutkidshealth.ca/Article?contentid=1758&language=English. Accessed April 18, 2023

Premature birth. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/premature-birth/symptoms-causes/syc-20376730. Accessed April 18, 2023

5 Ways to Prevent Early Labor (Slideshow). https://kidshealth.org/en/parents/labor-slideshow.html?WT.ac=p-ra. Accessed April 18, 2023

Preterm Birth. https://www.cdc.gov/reproductivehealth/maternalinfanthealth/pretermbirth.htm. Accessed April 18, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/04/2023

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

มดลูกเข้าอู่กี่วัน และควรดูแลตัวเองหลังคลอดอย่างไร

คุณแม่ ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง และควรผ่าคลอดในกรณีใดบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 19/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา