backup og meta

แท้งคุกคาม เกิดขึ้นได้อย่างไร และควรป้องกันอย่างไร

แท้งคุกคาม เกิดขึ้นได้อย่างไร และควรป้องกันอย่างไร

แท้งคุกคาม หรือภาวะแท้งเตือน (Threatened Abortion) เป็นภาวะผิดปกติของการตั้งครรภ์ มักเกิดขึ้นได้ในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีเลือดออกทางช่องคลอดในปริมาณน้อยถึงปานกลาง อาจเป็นมูกเลือดหรือเลือดสด ส่วนใหญ่ไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย แต่ในบางคนอาจมีอาการปวดท้องหน่วง ๆ หรือปวดร้าวไปถึงหลัง โดยประมาณครึ่งหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคามอาจเกิดการแท้งจริงได้ในอนาคต แต่อีกครึ่งหนึ่ง อาการเลือดออกจะค่อย ๆ น้อยลงและสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้

[embed-health-tool-ovulation]

แท้งคุกคาม เกิดขึ้นได้อย่างไร

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะแท้งคุกคาม แต่เป็นไปได้ว่าอาจมีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของภาวะแท้งคุกคาม ดังนี้

  • อายุ โดยหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 35 ปี อาจเสี่ยงในการเกิดภาวะแท้งคุกคามได้มากขึ้น
  • โรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน
  • ความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม ทารกพิการแต่กำเนิด การได้รับสารเคมีหรือยาที่ส่งผลให้ทารกในครรภ์พิการแต่กำเนิด
  • ความผิดปกติของมดลูกหรือโพรงมดลูก เช่น มดลูกมีรูปร่างผิดปกติตั้งแต่กำเนิด พังผืดในโพรงมดลูก
  • ร่างกายขาดฮอร์โมนเพศที่มีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้การฝังตัวของตัวอ่อนไม่สมบูรณ์
  • ปัจจัยอื่น ๆ เช่น อุบัติเหตุ ติดเชื้อในช่องคลอด โรคอ้วน การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติดขณะตั้งครรภ์

สัญญาณเตือนของแท้งคุกคาม

แท้งคุกคามมักเกิดขึ้นในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โดยอาจมีสัญญาณเตือน ดังนี้

ภาวะแทรกซ้อนของแท้งคุมคาม

แท้งคุกคามอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนี้

  • สูญเสียการตั้งครรภ์ และมีเลือดออกมาก
  • ติดเชื้อ
  • มดลูกอักเสบ
  • โลหิตจางจากการเสียเลือดมากในขณะแท้งบุตร
  • อาจยังมีเนื้อเยื่อค้างอยู่ในมดลูกจนต้องขูดมดลูกหรือใช้เครื่องดูดสุญญากาศ

การรักษาแท้งคุกคาม

แท้งคุกคามมักรักษาตามอาการเพื่อช่วยประคับประคองอาการให้ดีขึ้น โดยไม่ต้องใช้ยาหรือใช้การผ่าตัดรักษา นอกจากนี้ คุณหมออาจแนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก ๆ และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการจะดีขึ้น

วิธีป้องกันแท้งคุกคาม

แท้งคุกคามอาจไม่มีวิธีป้องกันได้อย่างถาวร เนื่องจากภาวะแท้งอาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้น หากพบว่าตนเองมีการแท้งเกิดขึ้นซ้ำ 2 ครั้ง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของปัญหา และรับการรักษาอย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ ยังอาจมีวิธีรักษาสุขภาพร่างกายที่อาจช่วยป้องกันแท้งคุกคามได้ ดังนี้

  • เข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพร่างกายก่อนตั้งครรภ์
  • รับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารขณะตั้งครรภ์ เช่น กรดโฟลิก (Folic) ธาตุเหล็ก แคลเซียม ไอโอดีน วิตามินบี วิตามินซี เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายคุณแม่และทารกในครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเมื่อเตรียมการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์
  • งดการสูบบุหรี่และใช้สารเสพติด
  • จำกัดปริมาณการรับประทานคาเฟอีน ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/วัน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียง โดยควรนอนอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง เพื่อช่วยจัดการกับความเครียด และเพื่อให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในขณะนอนหลับได้ดีขึ้น
  • รักษาปัญหาสุขภาพอย่างเคร่งครัด เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ปัญหาต่อมไทรอยด์
  • สังเกตความผิดปกติของร่างกายในขณะตั้งครรภ์อยู่เสมอ หากพบว่ามีเลือดออกมากในขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจความผิดปกติทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Threatened miscarriage: evaluation and management. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC478228/. Accessed February 6, 2023

Treatment of Threatened Miscarriage with Progestogens. https://www.aafp.org/pubs/afp/issues/2019/0901/p279.html. Accessed February 6, 2023

ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened abortion). https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1468. Accessed February 6, 2023

Miscarriage – threatened. https://www.mountsinai.org/health-library/diseases-conditions/miscarriage-threatened#:~:text=When%20the%20symptoms%20indicate%20a,pregnancy%20can%20cause%20threatened%20miscarriage. Accessed February 6, 2023

Threatened Abortion. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK430747/. Accessed February 6, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/04/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำแท้ง ถูกกฏหมายหรือไม่ และข้อเท็จจริงที่ควรรู้

อาการแท้ง ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ที่ควรรู้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 27/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา