backup og meta

Eating Disorders ระหว่างตั้งครรภ์ คืออะไร จะรับมือได้อย่างไรดี

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ โรคกินผิดปกติ (eating disorders) กันมาบ้างไม่มากก็น้อย พฤติกรรมการกินไม่หยุด กินเยอะ หรือไม่ยอมกินข้าว สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ก็เป็นอาการที่บ่งบอกถึง โรคกินผิดปกติกันทั้งสิ้น โรคกินผิดปกตินี้ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคุณแม่ตั้งครรภ์ บทความนี้ Hello คูณหมอ จะมานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ โรคกินผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณแม่สามารถรับมือกับโรคนี้ได้อย่างถูกต้อง

[embed-health-tool-bmr]

Eating Disorders คือ อะไร

โรคกินผิดปกติ (Eating disorders) คือ ความผิดปกติทางจิตใจและอารมณ์ประเภทหนึ่ง หมายถึงลักษณะพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการกินมากเกินไป กินน้อยเกินไป หรือกินไม่หยุด เนื่องมาจากความหมกมุ่นที่มีต่ออาหาร น้ำหนักตัว หรือรูปร่าง

โรคกินผิดปกตินั้นมีอยู่หลายประเภท ประเภทที่พบได้บ่อยที่สุดมีดังนี้

  • โรคอะนอเร็กเซีย (Anorexia) หรือโรคคลั่งผอม ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีพฤติกรรมไม่ยอมกินอาหาร กินน้อยเนื่องจากมีความกังวลต่อน้ำหนักตัวและรูปร่างของตัวเอง
  • โรคบูลิเมีย (Bulimia) หรือโรคล้วงคอ โรคนี้จะคล้ายคลึงกับโรคอะนอเร็กเซีย คือผู้ป่วยจะมีความกังวลต่อน้ำหนักตัวและรูปร่างมากเกินไป จนทำให้เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปแล้ว จะล้วงคอให้อาเจียนออกมา หรือใช้ยาระบายให้ขับอาหารที่กินเข้าไปออกมาให้หมด
  • โรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder) ผู้ป่วยโรคนี้จะรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ โดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และกินต่อไปเรื่อย ๆ แม้จะไม่รู้สึกหิว

โรคกินผิดปกตินี้สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหาร เพื่อบำรุงร่างกายและบำรุงทารกในครรภ์ การป่วยเป็นโรคกินผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์ จึงอาจส่งผลกระทบที่อันตราย ทั้งต่อตัวแม่และตัวเด็กได้

อันตรายของการเป็น โรคกินผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์

อันตรายต่อแม่

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นโรคกินผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ อาจประสบปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ เช่น

นอกจากนี้ คุณแม่ที่ป่วยเป็นโรคผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด และมีปัญหาเกี่ยวกับการให้นมบุตร โดยเฉพาะคุณแม่ที่ป่วยเป็นโรคบูลิเมีย แล้วรับประทานยาระบาย ยาขับปัสสาวะ หรือยาอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กทารกได้

อันตรายต่อลูก

ทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่เป็นโรคผิดปกติระหว่างการตั้งครรภ์ มักจะปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาการทางร่ายกายและสมอง ปัญหาน้ำหนักตัวแรกเกิด ปัญหาระบบทางเดินหายใจ และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น

  • ทารกที่เกิดจากแม่ที่เป็นโรคอะนอเร็กเซีย อาจจะมีปัญหาน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่ามาตรฐาน ขาดสารอาหาร หรือพัฒนาการทางร่างกายและสมองน้อยกว่าปกติ
  • ทารกที่เกิดจากแม่ที่เป็นโรคบูลิเมีย อาจมีปัญหาภาวะขาดน้ำ น้ำหนักตัวน้อย ขาดสารอาหาร สารเคมีในร่างกายไม่สมดุล หรือหัวใจเต้นผิดปกติ
  • ทารกที่เกิดจากแม่ที่เป็นโรคกินไม่หยุด อาจมีปัญหาน้ำหนักตัวมากผิดปกติ ความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวาน

หนทางในการรับมือ

โรคกินผิดปกติเป็นโรคที่อันตราย และสามารถส่งผลร้ายต่อสุขภาพได้ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา ดังนั้นสิ่งที่สำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นโรคกินผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์คือ การตระหนักถึงอันตรายของโรค และเข้ารับการรักษาหรือปรึกษากับแพทย์อย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อพยายามรักษาโรคกินผิดปกตินี้ให้หายก่อนที่จะส่งผลร้ายตั้งต่อคุณแม่และลูกน้อย

สิ่งที่คุณแม่ที่ป่วยโรคกินผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ควรทำ คือ

บอกความจริงกับหมอ โดยปกติคุณแม่ตั้งครรภ์มักจะต้องทำการฝากครรภ์ และตรวจร่างกายเป็นประจำในระหว่างการตั้งครรภ์อยู่แล้ว คุณแม่ควรตอบคำถามของแพทย์อย่างตรงไปตรงมา และแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติหรือเปลี่ยนแปลงไปของคุณแม่ เพื่อให้แพทย์พิจารณาหาทางรักษาต่อไป

ปรึกษานักโภชนาการ นักโภชนาการจะสามารถช่วยให้คุณแม่สามารถวางแผนการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเหมาะสมสำหรับในช่วงตั้งครรภ์ได้ คุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าทางสารอาหาร เหมาะสำหรับพัฒนาการของทารกในครรภ์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

PREGNANCY AND EATING DISORDERS https://www.nationaleatingdisorders.org/pregnancy-and-eating-disorders. Accessed July 22, 2021

Eating disorders in pregnancy https://www.tommys.org/pregnancy-information/im-pregnant/mental-wellbeing/specific-mental-health-conditions/eating-disorders. Accessed July 22, 2021

Eating Disorders and Pregnancy https://americanpregnancy.org/pregnancy-health/pregnancy-and-eating-disorders/. Accessed July 22, 2021

Fogarty, Sarah, Rakime Elmir, Phillipa Hay, and Virginia Schmied. 2018. “The Experience of Women with an Eating Disorder in the Perinatal Period: A Meta-Ethnographic Study.” BMC Pregnancy and Childbirth 18 (May). DOI: 10.1186/s12884-018-1762-9. Accessed July 22, 2021

Fornari, Victor, Ida Dancyger, Jessica Renz, Rebecca Skolnick, and Burton Rochelson. 2014. “Eating Disorders and Pregnancy: Proposed Treatment Guidelines for Obstetricians and Gynecologists.” Open Journal of Obstetrics and Gynecology 2014 (February). DOI: 10.4236/ojog.2014.42016. Accessed July 22, 2021

Gow, Rachel W., Janet A. Lydecker, Jennifer D. Lamanna, and Suzanne E. Mazzeo. 2012. “Representations of Celebrities’ Weight and Shape during Pregnancy and Postpartum: A Content Analysis of Three Entertainment Magazine Websites.” Body Image 9 (1): 172–75. DOI: 10.1016/j.bodyim.2011.07.003. Accessed July 22, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/04/2025

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคคลั่งกินคลีน (orthorexia) ภาวะที่คนรักอาหารสุขภาพต้องระวัง

พฤติกรรมการกินผิดปกติ ในกลุ่มวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไข 04/04/2025

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา